เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

พบประชากรใหม่ๆ มากมายในแถบลุ่มน้ำโขงของเรา


ตุ๊กแก ลายเสือดาว หน้าตาราวกับว่า มาจากต่างจักรวาลอันไกลโพ้น พบในเขตป่าสงวนแห่งชาติเกาะก๊าตบ่า (Cat Ba) ติดเขตอ่าวฮาลอง ใน จ.กว๋างนีง (Quang Ninh)


เอเอฟพี - นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ถึง 163 ชนิดในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แห่งดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา แต่ทั้งหมดนั้นกลับตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากสภาพอากาศที่ เปลี่ยนแปลงเพราะสภาวะโลกร้อน ทั้งนี้เป็นการรายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

สัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบนี้ มีทั้งกบที่กินนกเป็นอาหาร นกที่เดินมากกว่าบิน และตุ๊กแกที่หน้าตาประหลาดคล้ายเอเลี่ยน ซึ่งสัตว์ลักษณะแปลกๆ เหล่านี้ถูกบรรจุอยู่ในรายงาน "สัตว์ที่เผชิญกับการสูญพันธุ์" ของกลุ่มนักอนุรักษ์

รายงานฉบับนี้จะถูกนำไปเป็นประเด็นในการหารือระหว่างการประชุมของสห ประชาชาติในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่จะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ สัปดาห์หน้า ก่อนที่จะนำไปสู่การประชุมสมัชชาสามัญที่กรุงโคเปนเฮเกน ในเดือนธ.ค. ต่อไป

"สัตว์บางสายพันธุ์สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ แต่บางสายพันธุ์ไม่ ซึ่งจะทำให้สัตว์สายพันธุ์เหล่านั้นสูญพันธุ์ได้" นายสจ๊วต แชปแมน (Stuat Chapman) ผู้อำนวยการกองทุนสัตว์ป่าโลกสาขาลุ่มแม่น้ำโขง กล่าว

"สัตว์หายาก อยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตราย และมีอยู่เฉพาะถิ่นเช่นพวกสัตว์ที่ค้นพบนี้สามารถสูญพันธุ์ได้ง่ายเพราะสภาพ อากาศที่เปลี่ยนแปลงจะยิ่งทำให้สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของสัตว์เหล่านั้นมี จำกัดมากยิ่งขึ้น" นายแชปแมน กล่าว

สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบในปี 2551 ประกอบด้วย พืช 100 ชนิด ปลา 28 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 18 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 14 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 2 ชนิด และนกอีก 1 ชนิด ซึ่งครอบคลุมอยู่ในบริเวณพื้นที่ของประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมณฑลหยุนหนัน ของประเทศจีน


ประหลาดซ้อนประหลาด กบมีเขี้ยว แถมยังนิยมเปิบพิสดารจับนกกินนกเป็นอาหาร WWF กล่าวว่า พบในป่าสงวนแห่งหนึ่งของไทย อนุภูมิภาคแม่น้ำโขงมีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ยิ่ง แต่ทั้งหมดกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ




กบ จริงๆ ไม่ใช่พวกตัวปาด ผิวขุขระ อาศัยตามต้นไม้ พบในเขตเขาเจืองเซิน (Truong SOn) ชายแดนเวียดนาม-จีน เมื่อปีที่แล้ว WWF เผยแพร่ภาพนี้ในวันศุกร์ (25 ก.ย.)

หนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบ คือ กบมีเขี้ยวกินนกเป็นอาหาร ที่ยังคงซุกซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนของไทย ซึ่งได้รับการยืนยันว่ามีจริงจากนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าไปศึกษาในพื้นที่ป่า เป็นเวลานานกว่า 40 ปี

งูพิษลายพาดกลอน ที่ค้นพบอย่างไม่ตั้งใจบนเกาะนอกชายฝั่งประเทศเวียดนาม ในสถานการณ์ที่ลูกชายของนักวิจัยเกือบจะถูกฉกเข้าที่แขน หลังจากที่ออกตามหาจิ้งเหลน

"ในคราวที่ออกสำรวจตอนนั้นเราจับได้ทั้งงูและตุ๊กแก ซึ่งตรวจสอบแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ทั้งคู่" นายลี กริสเมอร์ (Lee Grismer) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลาเซียร่า แคลิฟอร์เนีย กล่าวในรายงาน

ตุ๊กแกลายเสือดาว ถูกพบบนเกาะอีกแห่งหนึ่งของเวียดนามเช่นกัน มีลักษณะของสีสันคลายเสือดาวและปนด้วยสีส้ม มีดวงตาเหมือนแมว และมีขายาวเก้งก้าง

นอกจากนั้นยังพบนกชนิดใหม่ที่อยู่กันเป็นฝูงเล็กๆ จะบินได้ต่อเมื่อตื่นตกใจและบินในระยะสั้นๆ เท่านั้น พบในบริเวณชายแดนจีนติดกับเวียดนาม


พระเอก จากแขวงคำม่วนของลาว.. นกปรอดหัวโล้น (Pycnonotidae Hualone) ซึ่งองค์การ Wildlife Conservation Society กล่าวว่าเป็นการพบในรอบกว่า 100 ปี ทำไมเกิดมาหัวโล้น? ยังไม่มีผู้ใดไขคำตอบได้อย่างชัดเจน




ตีน เป็นพังผืดว่ายน้ำได้ แต่หางเป็นพวงเหมือนกระรอก เคยเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปจากโลกเมื่อสัก 11 ล้านปีก่อน เพราะพบซากดึกดำบรรพ์ของญาติๆ ในแถบตอนใต้ของจีน แต่จู่ๆ เมื่อปี 2550 "ตัวขะหยุ" หรือ "ข่าหนู" ก็โผล่ออกมาให้ชาวโลกได้เห็นอีกครั้งในเขตเขาหินปูน แขวงคำม่วนของลาว จำนวนไม่น้อยถูกจับไปทำหนูย่างในตลาดสด

ในเดือน ธ.ค.2551 นักวิทยาศาสตร์ลาวกับนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียได้พบนกปรอดหัวเหน่งที่เสียง ร้องของมันไพเราะยิ่ง และจับตัวเป็นๆ ได้เป็นครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่านับเป็นการพบครั้งสำคัญในรอบ 100 ปีทีเดียว หลังจากเคยเชื่อกันว่าสูญพันธุ์จากโลกนี้ไปแล้ว

นกปรอทหัวเหน่งมีลักษณะพิเศษหลายอย่างที่นกชนิดอื่นๆ ไม่มี อาศัยอยู่ในเขตภูเขาหินปูนในภาคกลางของลาว

ในเวียดนามช่วงหลายปีมานี้มีการค้นพบลิงหางยาวกับพวกค่างหน้าตาแปลกๆ อีกหลายสายพันธุ์ในเขตป่าภาคกลางกับภาคเหนือเวียดนาม มีการค้นพบนากหน้าขนขนาดใหญ่ที่ครั้งหนึ่งเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงนี้เป็นพื้นที่ที่มีความ อุดมสมบูรณ์ โดยในระหว่างปี 2540-2550 นั้น มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่มากถึง 1,068 ชนิดด้วยกัน


ภาพ ของ WWF ถ่ายในปี 2551 เป็นงูพิษลายเสือจากเกาะเหิ่นเซิน (Hon Son) เมืองแหร็ก-หยา (Rach Gia) จ.เกียน-ซยาง (Kien Giang) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงของประเทศ




ภาพ ของ WWF ถ่ายในปี 2551 เป็นอสรพิษร้ายลายเสืออีกตัวหนึ่ง จากเกาะเหิ่นเซิน (Hon Son) เมืองแหร็ก-หยา (Rach Gia) จ.เกียน-ซยาง (Kien Giang) เช่นกัน



ตุ๊กแก ลายเสืออีกตัวมาจากป่าสงวนแห่งชาติก๊าตบ่า เช่นเดียวกัน เมื่อเร็วๆ นี้ยังค้นพบตุ๊กแกหน้าตาประหลาดๆ อีกหลายสายพันธุ์ในเขตเขา ทั้งในภาคใต้และภาคเหนือของประเทศ


แต่ในขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมและสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากสภาวะโลก ร้อนได้ทำให้ระดับน้ำทะเลและปริมาณของน้ำเค็มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทบโดยตรงกับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตหายากเหล่านี้

WWF ต้องการเน้นย้ำถึงความสำคัญของปัญหาการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหายากเหล่า นี้โดยจะนำเข้าเป็นวาระหนึ่งในการประชุมของสหประชาชาติในประเด็นการเปลี่ยน แปลงของสภาพอากาศหรือสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ระหว่างการประชุมในกรุงเทพฯ ในวันที่ 28 ก.ย. นี้

ในเดือน ธ.ค. ผู้นำจากทั่วโลกจะเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กเพื่อร่วมตกลงในการตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพอากาศปี 2555 หลังจากที่พิธีสารเกียวโตจะหมดวาระลง.


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น