เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 1 กุมภาพันธ์ ในอดีต


ลุกเรือกระสวยอวกาศโคลัมเบีย

1 กุมภาพันธ์:



1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1796) – อัปเปอร์แคนาดาย้ายเมืองหลวง จากนูวัก ไปยังเมืองยอร์ก ซึ่งถูกพิจารณาว่าจะลดความเสี่ยงจากการโจมตีของสหรัฐอเมริกา
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1884) – พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ชุดแรก ซึ่งมี 352 หน้า ครอบคลุมจากคำว่า A ถึง Ant ได้รับการตีพิมพ์
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – ผลจากการประนีประนอมระหว่างมหาอำนาจในสหประชาชาติ นักการเมืองชาวนอร์เวย์ ทรีฟ ลี (ในภาพ) ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติคนแรก
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – เมืองหลวงของมาเลเซีย ถูกย้ายจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังปุตราจายา อันเป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลแห่งใหม่ แต่มิได้ย้ายฝ่ายนิติบัญญัติไปด้วย
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – กระสวยอวกาศ โคลัมเบีย ขององค์การนาซา ระเบิดเหนือรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ระหว่างการเดินทางการกลับเข้าสู่บรรยากาศโลกหลังเสร็จสิ้นภารกิจ คร่าชีวิตลูกเรือ 7 คน

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 29 มกราคม ในอดีต

29 มกราคม:

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


29 มกราคม พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1856) – สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียทรงออกหมายซึ่งจักตั้งเครื่องราชอิสรยาภรณ์ชั้น วิคตอเรียครอสต์ เพื่อระลึกถึงความชอบของทหารอังกฤษในสงครามไครเมีย
29 มกราคม พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) – รัฐแคนซัสยอมรับเป็นรัฐที่ 34 แห่งสหรัฐอเมริกา
29 มกราคม พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1886) – นักออกแบบเครื่องยนต์และวิศวกรชาวเยอรมัน คาร์ล เบนซ์ จดสิทธิบัตรประดิษฐกรรมรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยแกโซลีนเป็นครั้งแรกของโลก
29 มกราคม พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1903) – หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจบการศึกษาจากอังกฤษและเสด็จประพาสต่างประเทศ ได้เสด็จกลับประเทศไทยขณะมีพระชนมายุ 22 พรรษา
29 มกราคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง เจ้าหญิงนิทรา ของวอลต์ ดิสนีย์ ออกฉายเป็นครั้งแรก

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 28 มกราคม ในอดีต

28 มกราคม:


อุบัติเหตุกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์


28 มกราคม พ.ศ. 2090 (ค.ศ. 1547) – ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์แรกที่ทรงนับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์
28 มกราคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) – นวนิยาย Pride and Prejudice ของผู้ประพันธ์ชาวอังกฤษ เจน ออสเตน ถูกตีพิมพ์จากต้นฉบับซึ่งถูกเขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2339-2340 และยังมิได้ถูกตีพิมพ์มาก่อน
28 มกราคม พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) – รถไฟขบวนหนึ่งบนทางรถไฟสายปานามา เดินทางข้ามทวีปด้วยรางรถไฟเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางยาว 77 กิโลเมตร จากมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ข้ามคอคอดปานามา
28 มกราคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – บริษัทผู้ผลิตของเล่นสัญชาติเดนมาร์ก เลโก้ กรุป จดสิทธิบัตรผลงานออกแบบตัวต่อเลโก้
28 มกราคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) – กระสวยอวกาศขององค์การนาซา แชลเลนเจอร์ ถูกทำลายจากแรงอัด (ในภาพ) หลังปล่อยขึ้นจากฐาน 73 วินาที เนื่องจากเกิดรอยรั่วที่จรวดขับดัน นักบินอวกาศ 7 คน เสียชีวิตทั้งหมด

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 27 มกราคม ในอดีต

27 มกราคม: วันรำลึกถึงการล้างชาติพันธุ์โดยนาซีสากล; วันอนุสรณ์การล้างชาติพันธุ์โดยนาซีในสหราชอาณาจักร และการจัดพิธีรำลึกการปลดปล่อยค่ายมรณะเอาส์ชวิตซ์ (พ.ศ. 2488)


ซากมอดุลของอะพอลโล 1


27 มกราคม พ.ศ. 1204 (ค.ศ. 661) – จักรวรรดิกาหลิบรอชิดีน จักรวรรดิกาหลิบแห่งแรกของชาวอาหรับซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังการเสียชีวิตของมุฮัมมัด ในปี พ.ศ. 1175 ถึงคราวสิ้นสุดภายหลังการเสียชีวิตของอะลีย์
27 มกราคม พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1888) – สองสัปดาห์ภายหลังการรวมตัวของนักสำรวจและนักวิทยาศาสตร์กว่า 30 คน ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เจ้าของนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ถูกจัดตั้งขึ้น
27 มกราคม พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ภายหลังการปิดล้อมเป็นเวลานานกว่า 2 ปี การปิดล้อมเลนินกราดถึงคราวสิ้นสุด
27 มกราคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – ยานอวกาศ อะพอลโล 1 (ซากยานในภาพ) เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ทำให้นักบินอวกาศ 3 คน เสียชีวิต
27 มกราคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – การรบในสงครามเวียดนามยุติลงชั่วคราว ภายหลังการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 26 มกราคม ในอดีต

26 มกราคม: วันออสเตรเลีย; วันสาธารณรัฐในอินเดีย (พ.ศ. 2493)


อาร์เทอร์ ฟิลลิป

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 25 มกราคม ในอดีต


25 มกราคม:

25 มกราคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1924) - โอลิมปิกฤดูหนาว จัดขึ้นครั้งแรกที่บริเวณเชิงเขามองต์บลังค์ ประเทศฝรั่งเศส
25 มกราคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี อนุสาวรีย์นี้ออกแบบโดย ศ.ศิลป์ พีระศรี
25 มกราคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - วันสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น
25 มกราคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - ยานออปพอร์ทูนิตีขององค์การนาซา ลงจอดบนดาวอังคาร

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 22 มกราคม ในอดีต

22 มกราคม:


อังเดร ซาคารอฟ


22 มกราคม* พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - อังเดร ซาคารอฟ (ในภาพ) นักฟิสิกส์ในโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต และผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2518 ถูกจับกุมในมอสโก
22 มกราคม พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1879) - กองทหารซูลู นำโดยกษัตริย์เคตช์วาโย ตีกองทัพจักรวรรดิอังกฤษแตกพ่ายในสงครามอังกฤษ-ซูลู
22 มกราคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1901) - หลังจากดำรงพระยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์เป็นเวลานานถึง 6 ทศวรรษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชย์ในสหราชอาณาจักร

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 21 มกราคม ในอดีต

21 มกราคม:


พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส


21 มกราคม พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1793) - การปฏิวัติฝรั่งเศส: หลังจากถูกตัดสินโดยสภาแห่งชาติฝรั่งเศสว่ามีความผิดข้อหากบฏ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (ในภาพ) ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน ท่ามกลางฝูงชนที่โห่ร้องสนับสนุน
21 มกราคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1911) - วันเกิด เอื้อ สุนทรสนาน นักดนตรี นักประพันธ์เพลง และนักร้องที่มีชื่อเสียง
21 มกราคม พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - สหรัฐอเมริกาทำพิธีปล่อยเรือนอติลุส (Nautilus) เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำแรกของโลก ลงน้ำที่แม่น้ำเทมส์ มลรัฐคอนเนตทิคัต
21 มกราคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เครื่องบินคองคอร์ด เริ่มบินเพื่อการพาณิชย์เป็นครั้งแรกที่ลอนดอน ปารีส บาห์เรน และรีโอเดจาเนโร

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 20 มกราคม ในอดีต

20 มกราคม:


เรือหลวงจักรีนฤเบศร


20 มกราคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีปล่อยเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ในภาพ) ลงน้ำ ณ อู่เรือบาซาน ประเทศสเปน

20 มกราคม พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1885) - ลามาร์คัส แอดนา ทอมป์สัน จดสิทธิบัตรเครื่องเล่นรถไฟเหาะตีลังกา
20 มกราคม พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1892) - การแข่งขันบาสเกตบอลอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วายเอ็มซีเอ ในเมืองสปริงฟีลด์ แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
20 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ผลการประชุมของพรรคนาซี ณ เบอร์ลิน เพื่อหาทางออกปัญหาชาวยิว นำไปสู่ปฏิบัติการการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 19 มกราคม ในอดีต

19 มกราคม:



19 มกราคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ



19 มกราคม พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1839) - นาวิกโยธินอังกฤษขึ้นฝั่งที่เมืองเอเดน ในคาบสมุทรอาหรับ เพื่อป้องกันเรือของบริษัทบริติชอีสต์อินเดียจากการโจมตีโดยโจรสลัด เอเดนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษจนถึงปี พ.ศ. 2510
19 มกราคม พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1935) - บริษัท Coopers Inc. ในสหรัฐอเมริกา จำหน่ายกางเกงในชายรูปตัว Y เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นชุดชั้นในแบบใหม่ ต่างจากกางเกงบ็อกเซอร์
19 มกราคม พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - แอปเปิล คอมพิวเตอร์ เปิดตัว แอปเปิล ลิซา (Apple Lisa) (ในภาพ) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อการค้ารุ่นแรกที่มีระบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) และเมาส์ ภายในมีแรมขนาด 1 เมกะไบต์ ราคา 9,995 ดอลลาร์สหรัฐ

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 18 มกราคม ในอดีต

18 มกราคม: วันกองทัพไทย


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


18 มกราคม พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1593) - สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาในยุทธหัตถี ณ หนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
18 มกราคม พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1778) - กัปตันเจมส์ คุก ค้นพบหมู่เกาะแซนด์วิช ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อหมู่เกาะฮาวาย
18 มกราคม พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1871) - สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิเยอรมัน
18 มกราคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - พลเอกถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
18 มกราคม พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553


บ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 จะเกิดสุริยุปราคาซึ่งปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสสังเกตได้เพียงครั้งเดียว สุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้มีเส้นทางคราสวงแหวนผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า และจีน ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวน แต่อยู่ในเขตที่สามารถสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนได้โดยภาคเหนือเห็นดวง อาทิตย์แหว่งมากที่สุด

วันที่เกิดสุริยุปราคาดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากเนื่อง จากเป็นช่วงก่อนที่ดวงจันทร์จะอยู่ห่างโลกที่สุดไม่ถึง 2 วัน และหลังจากวันที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่ถึง 2 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดสุริยุปราคาวงแหวนยาวนานถึง 11 นาที 8 วินาที ที่กึ่งกลางคราส นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ยาวนานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ 3 (ค.ศ. 2001-3000) และเป็นครั้งเดียวที่นานกว่า 11 นาที (ครั้งถัดไปที่นานกว่า 11 นาที เกิดในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 3043)

ดูรูปขยาย

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 เริ่มต้นในเวลา 11:05 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล (UT) 7 ชั่วโมง จังหวะนั้นเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในทวีปแอฟริกา เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 12:14 น. บริเวณตะวันตกของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ศูนย์กลางเงาสัมผัสผิวโลกตรงบริเวณใกล้กันในอีก 4 นาทีถัดมา ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 7 นาที 9 วินาที เงาเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว เข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แล้วผ่านยูกันดา ซีกด้านเหนือของทะเลสาบวิกตอเรีย เคนยา ส่วนเล็ก ๆ ทางเหนือของแทนซาเนีย และทางใต้ของโซมาเลีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

เมืองบังกีในสาธารณรัฐแอฟริกากลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 57 วินาที โดยดวงอาทิตย์มีมุมเงย 4 องศา กัมปาลาในยูกันดาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 38 วินาที ส่วนที่เมืองไนโรบีของเคนยาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 6 นาที 52 วินาที แนวคราสวงแหวนขณะอยู่ในมหาสมุทรเฉียดห่างขึ้นไปทางเหนือของเมืองวิกตอเรียใน สาธารณรัฐเซเชลส์ซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดีย

เงาคราสวงแหวนเปลี่ยนทิศทางโดยวกขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ กึ่งกลางคราสซึ่งเป็นจุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนเกือบนานที่สุดอยู่ใน มหาสมุทร เกิดขึ้นในเวลา 14:07 น. นาน 11 นาที 8 วินาที จากนั้นพาดผ่านหมู่เกาะมัลดีฟส์ในเวลาประมาณ 14:26 น. เมืองมาเลเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานถึง 10 นาที 46 วินาที

เงาคราสวงแหวนแตะทางใต้ของอินเดียและทางตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกาใน เวลา 14:40 - 15:00 น. เมืองจาฟนาของศรีลังกาซึ่งอยู่ใกล้แนวกึ่งกลางคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 10 นาที 9 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 55 องศา

เงาคราสวงแหวนมุ่งหน้าสู่อ่าวเบงกอล ศูนย์กลางเงาแตะชายฝั่งพม่าในเวลาประมาณ 15:33 น. ตรงบริเวณเมืองซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่ ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 8 นาที 39 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 34 องศา ส่วนเล็ก ๆ ทางตอนล่างของบังกลาเทศกับอินเดียตะวันออกก็อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวนด้วย จากนั้นผ่านมัณฑะเลย์ เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 37 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 30 องศา

ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 15:41 น. เมืองใหญ่ที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวน ได้แก่ ฉงชิ่ง เจิ้งโจว และจี่หนาน ฉงชิ่งอยู่กลางคราสพอดี เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 50 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16 องศา เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 4 นาที 40 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 7 องศา ส่วนจี่หนาน มณฑลชานตง มีตำแหน่งใกล้ขอบเขตด้านเหนือของเส้นทางคราส ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 1 นาที 9 วินาที (อาจสั้นกว่านี้เนื่องจากผิวที่ไม่เรียบของดวงจันทร์) ดวงอาทิตย์มีมุมเงยเพียง 4 องศา

คราสวงแหวนไปสิ้นสุดบริเวณแหลมชานตงที่ยื่นออกสู่ทะเลเหลืองในเวลา 15:59 น. ที่กึ่งกลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 7 นาที 12 วินาที จากนั้นเงามัวของดวงจันทร์จะหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 17:08 น. ในประเทศจีน นับเป็นจุดสิ้นสุดของสุริยุปราคาในวันนี้

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย แอฟริกา บางส่วนทางตะวันออกของยุโรป มหาสมุทรอินเดีย สำหรับประเทศไทย บริเวณภูเก็ตเป็นจุดที่เริ่มเห็นสุริยุปราคาเป็นที่แรก ภาคเหนือตอนบนเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ และเป็นจุดสุดท้ายที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน

อ่านรายละเอียดทั้งหมด จากสมาคมดาราศาสตร์นะจ๊ะ

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 15 มกราคม ในอดีต

15 มกราคม: วันมาร์ตินลูเทอร์คิง, วันวิกิพีเดีย

15 มกราคม พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1896) - อังกฤษกับฝรั่งเศสทำสัญญา 6 ข้อ เพื่อกำหนดเขตแดนในแหลมอินโดจีนโดยระบุให้สยามเป็นดินแดนกลางที่ทั้งสองประเทศจะไม่ส่งทหารเข้าไป

15 มกราคม พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - โรซา ลุกเซมบวร์ก (ในภาพ)และคาร์ล ลิบเน็คท์ 2 นักสังคมนิยมลัทธิมาร์กซ์ผู้มีชื่อเสียงในเยอรมนี ถูกทรมานและสังหารโดยกลุ่มฟรีคร็อป
15 มกราคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - เพนทากอน อาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างเสร็จสมบูรณ์
15 มกราคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เปิดตัววิกิพีเดียภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 14 มกราคม ในอดีต

14 มกราคม:

14 มกราคม พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - โจ ดิมัจจิโอ แต่งงานกับ มาริลีน มอนโร
14 มกราคม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ประมุขแห่งรัฐองค์ปัจจุบันของประเทศเดนมาร์ก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
14 มกราคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - ประเทศจอร์เจียนำธงชาติที่เรียกว่าธงห้ากากบาท (Five Cross Flag) (ในภาพ) กลับมาใช้ใหม่ หลังจากว่างเว้นไปราว 500 ปี

14 มกราคม พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ยานไฮเกนส์ขององค์การอวกาศยุโรป ที่เดินทางไปกับยานแคสซีนีขององค์การนาซา ลงจอดบนพื้นผิวของไททัน ดาวบริวารของดาวเสาร์

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 13 มกราคม ในอดีต

13 มกราคม :

จานร่อน ฟริสบี


13 มกราคม พ.ศ. 2145 (ค.ศ. 1602) - The Merry Wives of Windsor ของวิลเลียม เชกสเปียร์ออกตีพิมพ์
13 มกราคม พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1914) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย ณ ตำบลศาลาแดง จังหวัดพระนคร และได้มีพระราชหัตถเลขาส่งโทรเลขเป็นปฐมฤกษ์ โดยส่งไปถึงอุปราชปักษ์ใต้ที่สถานีวิทยุโทรเลข จ.สงขลา
13 มกราคม พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - การ์ตูนช่องมิคกี้เมาส์ ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
13 มกราคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - บริษัทของเด็กเล่น Wham-O ผลิตจานร่อนใบแรก ต่อมาใช้ชื่อว่า ฟริสบี (Frisbee) (ในภาพ)
13 มกราคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - นายพล นัสซิงเบ เอยาเดมา ครองอำนาจในประเทศโตโกหลังจากก่อรัฐประหาร โดยดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐจนกระทั่งถึงแก่กรรมในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 12 มกราคม ในอดีต

12 มกราคม :


12 มกราคม พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1934) - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปอังกฤษ และประทับที่นั่นจนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ


ฮิโระบุมิ อิโต นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น 4 สมัย


12 มกราคม พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - ฮิโระบุมิ อิโต (ในภาพ) อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของญี่ปุ่น เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม
12 มกราคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) - ข้อความวิทยุคลื่นยาวถูกส่งออกจากหอไอเฟลเป็นครั้งแรก

12 มกราคม พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1940) - เจนีวีฟ คอลฟิลด์ สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
12 มกราคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - แบทแมน ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ นำแสดงโดยอดัม เวสต์ แพร่ภาพครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์เอบีซี

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

15 ม.ค.พลาดชม "สุริยุปราคา" หนนี้ต้องรออีก 2 ปี



"สุริยุปราคา" กลับมาอีกครั้ง 15 ม.ค.นี้ หากพลาดชมต้องรออีกที 2 ปีข้างหน้า ขณะทีจีน-พม่า เห็นเป็นแบบวงแหวน แต่ไทยเห็นเป็นแบบบางส่วน โดยภาคเหนือเห็นคราสบังมากที่สุด 70% ส่วนกรุงเทพฯเห็นได้ 50% ภาคใต้เห็นน้อยสุด ด้านนักวิชาการเตือนให้ดูอย่างถูกต้อง อย่ามองด้วยตาเปล่า

ปรากฏการณ์สุริยุปราคากลับมาอีกครั้งในวันที่ 15 ม.ค.53 นี้ เป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 14.00-17.00 น. โดยภาคเหนือจะเห็นคราสบังมากที่สุด โดย จ.แม่ฮ่องสอนเห็นการบดบังมากถึง 77% ส่วนกรุงเทพฯ เห็นการบดบังได้ 57.3% ขณะที่ภาคใต้เห็นการบดบังน้อยสุด จ.นราธิวาสเห็นการบดบังเพียง36%


ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า สุริยุปราคาบางส่วนที่เห็นได้ในเมืองไทยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของปรากฎสุริยุปราคาวงแหวนที่คราสพาดผ่านพม่าและจีน ทั้งนี้สุริยุปราคาวงแหวนเกิดจากขนาดปรากฏของดวงจันทร์เล็กกว่าดวงอาทิตย์

"สุริยุปราคาวงแหวนเป็นสิ่งปกติของสุริยุปราคาที่เกิดในเดือน ม.ค. เนื่องจากเป็นเดือนที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ดังนั้นจึงเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้ยาก ครั้งนี้ไทยอยู่ใกล้แนวคราสวงแหวน จึงเห็นสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งแต่ละภาคจะเห็นการบดบังไม่เท่ากัน แต่ตลอดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนและสุริยุปราคาบางส่วน ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า" ดร.ศรัณย์กล่าว

พร้อมกันนี้รอง ผอ.สดร.ได้แนะนำว่าไม่ควรชมสุริยุปราคาด้วยตาเปล่า และดูด้วยอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัย เช่น แผ่นซีดี กระจกช่างเชื่อม เบอร์ 14 แว่นตาสำหรับชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาโดยเฉพาะ หรืออาจดูทางอ้อมโดยใช้กล้องรูเข็รับภาพดวงอาทิตย์ให้ตกที่ฉาก และมีปรากฏการณ์ที่น่าติดตามระหว่างปรากฏการณ์คือรูปเงาเสี้ยวจากใบไม้

ทั้งนี้ สดร.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บข้อมูลระหว่างเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย ดร.ศรัณย์กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ระหว่างเกิดสุริยุปราคาจะศึกษาข้อมูลในเชิงอุตุนิยมวิทยา คือ อุณหภูมิ ความสว่างของท้องฟ้า ลม ความกดอากาศ เพื่อศึกษาว่าเมื่อแสงอาทิตย์ลดลงแล้วมีผลอะไรบ้าง เนื่องจากการบดบังของจันทร์นั้นทำให้แสงอาทิตย์ตกไม่ถึงชั้นบรรยากาศโลก จะทำให้เข้าใจเรื่องชั้นบรรยากาศ ความร้อนและการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์


ด้าน รศ.บุญรักษา สุทรธรรม ผอ.สดร. กล่าวว่า เมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ คนมักให้ความสนใจ โดยสุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เห็นได้ในตอนกลางวัน สังเกตง่าย และนอกจากปรากฏการณ์สุริยุปราคาแล้วยังมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อื่นๆ ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนและเยาวชนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สนใจวิทยาศาสตร์ได้ง่ายขึ้นด้วย

สำหรับวันเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา ทาง สดร.ได้ร่วมกับหน่วยงานในเครือข่ายทั่วประเทศกว่า 30 หน่วยงาน จัดกิจกรรมเพือให้ประชาชน เยาวชนได้ร่วมในการสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคา อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย หอดูดาวบัณฑิต จ.ฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งเดียวในปี 2553 ซึ่งหลังจากนี้จะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนขึ้นในเมืองไทยอีกครั้งวันที่ 20 พ.ค.55 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสุริยุปราคาวงแหวนที่คราสพาดผ่านญี่ปุ่น และในวันที่ 8 มี.ค.59 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่คราสพาดผ่านเกาะ บอร์เนียวและเกาะสุมาตรา และไทยจะเห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนในส่วนของภาคใต้วันที่ 21 พ.ค.74

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

11 มกราคม:



วิลเลียม เฮอร์เชล


11 มกราคม พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1787) - วิลเลียม เฮอร์เชล (ในภาพ) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบทิเทเนียและโอเบอรอน ดาวบริวารของดาวยูเรนัส
11 มกราคม พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1879) - วันเริ่มต้นสงครามอังกฤษ-ซูลู
11 มกราคม พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1922) - การฉีดอินซูลินให้กับมนุษย์ มีขึ้นครั้งแรกกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา
11 มกราคม พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1923) - กองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเบลเยี่ยมบุกแคว้นรูร์ของสาธารณรัฐไวมาร์เพื่อบีบบังคับให้สาธารณรัฐไวมาร์จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งหยุดชะงักไป

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 8 มกราคม ในอดีต

8 มกราคม:


8 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - สงครามโลกครั้งที่สอง : ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนคร
8 มกราคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สวนจตุจักร
8 มกราคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เริ่มยุคเฮเซในประเทศญี่ปุ่น เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์
8 มกราคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ "จอมพลเรือ" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
8 มกราคม พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ตื่น! วันสงกรานต์ 29 ปีข้างหน้า ดาวหางอาจชนโลก


ตื่น! วันสงกรานต์ 29 ปีข้างหน้า ดาวหางอาจชนโลก



ผู้เชี่ยวชาญรวมกลุ่มเรียกร้องให้ สหประชาชาติหาวิธีเบี่ยงเบนเส้นทางของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีโอกาสพุ่งชนโลกในปี 2579

นายรัสตี ชไวการ์ต อดีตนักบินอวกาศของยานอพอลโล 9 เป็นตัวแทนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากนักบินอวกาศ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ ออกมาเปิดเผยรายงานระบุว่า โลกอาจมีโอกาส 1 ใน 45,000 ที่จะถูกดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสพุ่งเข้าชนในวันที่ 13 เมษายน 2579 นอกจากนี้ คาดว่ายังมีเทหวัตถุอีกกว่าหลายร้อยชิ้นที่มีโอกาสพุ่งเข้าชนโลกในอนาคต

การเบี่ยงเบนวิถีของดาวเคราะห์น้อยสามารถกระทำได้โดยใช้ยานอวกาศเข้าไปประกบ และเบี่ยงเส้นทางของดาวเคราะห์น้อยให้พ้นจากโลก โดยมีการประเมินว่า การเบี่ยงเบนเส้นทางของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส ซึ่งมีความยาวประมาณ 140 เมตร อาจต้องใช้ยานปล่อยแรงโน้มถ่วงติดต่อกันราว 12 วัน ซึ่งโครงการดังกล่าวอาจต้องใช้งบประมาณสูงถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 9,982 ล้านบาท)
สถาบันดาราศาสตร์ไทยย้ำ อย่าตื่นข่าวดาวเคราะห์ชนโลก!

นักดาราศาสตร์ไทยเตือนคนไทยไม่ควรตื่นตกใจกับข่าวดาวเคราะห์น้อย "อะโพฟิส" พุ่งชนโลก เพราะจากการคำนวณของ "นาซ่า" ล่าสุดระบุมีโอกาสน้อยมาก และข้อมูลที่นักบินอวกาศระบุเป็นข้อมูลเก่าที่เผยแพร่เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา คาดต้องการทุนไปศึกษาค้นคว้าหาวิธีเบี่ยงวิถีของดาวเคราะห์น้อยให้พ้นจากโลก มากกว่า

นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่นายรัสตี ชไวการ์ต อดีตนักบินอวกาศของยานอพอลโล 9 เป็นตัวแทนผู้เชี่ยวชาญนักบินอวกาศ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ ออกมาระบุว่า โลกอาจมีโอกาส 1 ใน 45,000 ที่จะถูกดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส พุ่งเข้าชนในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2579 หรืออีก 29 ปีข้างหน้า ว่า ข่าวดังกล่าวเคยเผยแพร่มาแล้วเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นการคำนวณครั้งแรกของสำนักงานบริหารอวกาศสหรัฐ (นาซ่า) ว่า ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสมีโอกาสพุ่งชนโลกในช่วงเวลานั้น

ทั้งนี้ ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรเฉียดโลกอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะเข้ามาทุก 10 ปี ครั้งแรกที่โคจรเฉียดโลกและเคยคำนวณว่ามีโอกาสพุ่งชนโลกนั้นได้ถูกแรงโน้ม ถ่วงของโลกเบี่ยงเบนออกไปเป็น 29 ปีข้างหน้าที่ดาวเคราะห์ดังกล่าวอาจมีโอกาสจะพุ่งชนโลกอีก

อย่างไรก็ตาม ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อนาซ่าคำนวณวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสได้แม่นยำมากขึ้นก็พบว่า โอกาสมีน้อยมากๆ ที่จะเกิดเหตุการณ์อะโพฟิสชนโลก นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจะปรับปรุงข้อมูลใหม่ตลอดเวลา เมื่อทราบวงโคจรที่ชัดเจนของดาวเคราะห์น้อยมากขึ้นเรื่อย ๆ

"ครั้งแรกที่ดูตำแหน่งดาวเคราะห์น้อย 3 ครั้ง ว่าเคลื่อนที่อย่างไร และคำนวณออกมาว่ามีโอกาสระดับหนึ่ง แต่เมื่อยังมีความแม่นยำมากขึ้น ก็พบว่าโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวจะพุ่งชนโลกนั้นน้อยมาก ซึ่งข่าวนี้ประชาชนคนไทยไม่ควรตื่นตกใจ

"การที่นักวิทยาศาสตร์ออกมาระบุนั้น ผมคิดว่าเขาต้องการที่จะหาทุนไปศึกษาค้นคว้าหาวิธีเบี่ยงวิถีของดาวเคราะห์ น้อยให้พ้นจากโลกมากกว่า และคนที่จะออกมาระบุว่าความแม่นยำได้ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญจากนาซ่าเท่านั้น โดยเฉพาะนายดอน เยโอแมนส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคำนวณวงโคจรของนาซ่า" นายศรัณย์ กล่าว

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

พบ "หุ่นยนต์น้องดินสอ" ที่ถนนสายวิทยาศาสตร์ 6–9 มค.นี้


“หุ่นยนต์น้องดินสอ ” หุ่นยนต์จากฝีมือคนไทยที่น่ารัก แสดงอารมณ์ได้ ใช้งานแทนคนได้จริง เป็นต้นแบบของหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารที่จะผลิตส่งมอบให้ MK สุกี้ นำไปใช้งานจริงกลางปี 2553 นี้ จะมีมาโชว์ในงาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ช่วงวันเด็ก ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. ระหว่างวันที่ 6 – 9 มกราคม 2553 ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนโยธี และถนนพระราม 6


ผู้ที่สนใจต้องการทราบรายละเอียดงานเพิ่มเติม หรือโรงเรียนจะเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อสอบถามได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2577 9999 ต่อ 1829 และ 1830



ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ “หุ่นยนต์น้องดินสอ”

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

6 มกราคม: วันฉลองการเสด็จมาของพระเยซู (Epiphany) ในศาสนาคริสต์ตะวันตก



ซามูเอล มอร์ส

6 มกราคม พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1838) - ซามูเอล มอร์ส (ในภาพ) ประสบความสำเร็จในการทดสอบโทรเลขไฟฟ้าเป็นครั้งแรก
6 มกราคม พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1907) - มาเรีย มอนติสโซรี เปิดโรงเรียนและสถานเลี้ยงเด็กสำหรับบุตรของกลุ่มผู้ใช้แรงงานแห่งแรก ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี
6 มกราคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ กล่าวสุนทรพจน์ถึงการต่อสู้เพื่อเสรีภาพสี่ประการ (Four Freedoms) ในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา
6 มกราคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เหตุเพลิงไหม้ในอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นำไปสู่การค้นพบแผนการก่อการร้ายครั้งใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า แผนโบจินกา ซึ่งเป็นแผนซ้อมก่อนวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544
6 มกราคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - สงครามเวียดนาม : นาวิกโยธินสหรัฐอเมริการ่วมกับกองทัพแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม (ARVN) รุกเข้าสู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 5 มกราคม ในอดีต

5 มกราคม: คืนที่สิบสองหลังวันคริสต์มาส (Twelfth Night) ในศาสนาคริสต์ตะวันตก


สะพานโกลเดนเกต


5 มกราคม พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1895) – อัลเฟรด เดรฟุส นายทหารฝรั่งเศสเชื้อสายยิว ได้รับการตัดสินให้มีความผิดข้อหากบฏ ถูกลดขั้นทางทหาร และรับโทษจำคุกตลอดชีวิต
5 มกราคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) – คณะกรรมการอิสระเพื่อสันติภาพกรรมกรเยอรมัน ถูกก่อตั้งขึ้น ซึ่งในภายหลังจะเป็นที่รู้จักกันว่า พรรคนาซี
5 มกราคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1933) – สหรัฐอเมริกาเริ่มก่อสร้างสะพานโกลเดนเกต (ในภาพ) ณ อ่าวซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
5 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) – ริชาร์ด สตอลแมน เริ่มพัฒนาซอฟต์แวร์กนู

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 4 มกราคม ในอดีต

4 มกราคม: วันชาติในพม่า (พ.ศ. 2491)


4 มกราคม พ.ศ. 2309 (ค.ศ. 1767) - สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ได้สู้รบกับทหารม้าพม่า ที่ไล่ติดตามขณะหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา ณ บ้านพรานนก (อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม เหล่าทหารม้าของไทยจึงกำหนดให้ วันที่ 4 มกราคมของทุกปีเป็น วันทหารม้า
4 มกราคม พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1868) - พิธีโสกันต์ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 5)
4 มกราคมพ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) – สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงส่งทหารเข้าจับกุมสมาชิกรัฐสภาอังกฤษ แต่ก็ไม่สามารถจับกุมผู้ใดได้เลย นับเป็นการเลือกข้างของพระองค์ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ
4 มกราคม พ.ศ. 2241 (ค.ศ. 1698) – ในกรุงลอนดอน เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ซึ่งเผาทำลาย พระราชวังไวท์ฮอลล์ อันเป็นที่ประทับหลักของราชวงศ์อังกฤษ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2073
4 มกราคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – ประเทศพม่าได้รับเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษ โดยมีนายอู นุเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
4 มกราคม พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) – สงครามเกาหลี: กองกำลังจีนและเกาหลีเหนือ ซึ่งเหนือกว่ากองกำลังอเมริกันและเกาหลีใต้ เข้ายึดกรุงโซล
4 มกราคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) – องค์การนาซาส่งยานสปิริต (ในภาพ) ลงจอดบนดาวอังคาร


ยานสปิริต

อ่านต่อกด..จ๊ะ.