เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

เปิดโลกใต้ทะเลด้วย กูเกิล เอิร์ท (6031)

กูเกิลเผยโฉมการอัพเกรดครั้งใหญ่ครั้งแรกของซอฟต์แวร์ แผนที่โลกกูเกิลเอิร์ท โดยเพิ่ม กูเกิลโอเชียน (Google Ocean) มาขยายแผนที่กูเกิลให้รวมถึงเนื้อที่กว้างใหญ่ของแผ่นพื้นทะเลและที่ราบอัน เต็มไปด้วยหุบเหวใต้ทะเลลึก

ผู้ใช้ซอฟต์แวร์สามารถดำลงไปดูใต้ผิวน้ำเพื่อสำรวจ ภูมิประเทศใต้น้ำแบบสามมิติ (3D) โดยที่กูเกิลโอเชียนจะประกอบด้วยข้อมูลที่มีความละเอียดถึง 20 ชั้นซึ่งรวบรวมจากนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และ นักสำรวจทะเลชั้นนำของโลก


ภาพ: ตัวอย่างแผนที่ใต้ท้องทะเลแบบสามมิติกูเกิลโอเชียน

ที่มา: news.bbc.co.uk/2/hi/technology/7865407.stm

นายอัล กอร์ ไปร่วมงานเปิดตัวกูเกิลโอเชียนครั้งนี้ที่ซาน ฟรานซิสโกด้วย ซึ่งทางกูเกิลหวังว่ากูเกิลโอเชียนจะช่วยยกระดับซอฟต์แวร์แผนที่อีกขั้น หนึ่งไปสู่การมีแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมพื้นที่ของทั้งโลก โดย นายกอร์ กล่าวว่าการปรับปรุงแผนที่ครั้งนี้ทำให้การใช้กูเกิลเอิร์ทเป็น “ประสบการณ์อันน่าประทับใจ” และ “ไม่เพียงแต่เราสามารถจะซูมไปดูพื้นผิวแต่ละส่วนของโลกที่เราอยากดูอย่าง ละเอียด เรายังสามารถที่จะดำลงไปใต้มหาสมุทรซึ่งกินเนื้อที่ถึง 3ใน 4 ของโลกและค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ใหม่ๆที่กูเกิลเอิร์ทรุ่นก่อนๆทำไม่ได้”

พื้นผิวของโลกประมาณ 70% นั้นปกคลุมด้วยน้ำและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากกว่า 80% ในโลกนี้ แต่จริงๆแล้วมีการสำรวจพื้นน้ำนี้ไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ เป้าหมายของกูเกิลโอเชียนคือการช่วยให้ผู้ใช้เข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ใต้ท้องทะเลที่น่าสนใจ ซึ่งรวมถึง ภูเขาไฟใต้น้ำ (ผู้ใช้ยังสามารถดูภาพวิดีโอสดๆของชีวิตสัตว์ทะเลได้ด้วย) ซากเรืออัปปาง และ คลิปจุดเล่นเซิร์ฟและจุดดำน้ำที่เป็นนิยมต่างๆ

ลูกเล่นใหม่ครั้งนี้เกิดจากการร่วมมือพัฒนาอย่างใกล้ ชิดกับนางซิลเวีย เอิร์ล นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และทีมที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์และนักกิจกรรมในสาขาที่เกี่ยว กับทะเลมากกว่า 25 ท่าน

นางซิลเวีย เอิร์ล ซึ่งเป็นนักสำรวจของ National Geographic Society มองว่าลูกเล่นเพิ่มเติมนี้จะเติมชีวิตใหม่ให้กับโลกของเรา โดยกล่าวว่า “ไม่มีอะไรที่จะมีประสิทธิภาพในการสร้างความตระหนักและความรักต่อโลกสีฟ้า ของเรามากไปกว่าการเพิ่มมหาสมุทรลงไปในกูเกิลเอิร์ทเลย” และกล่าวเสริมว่า “นี่เป็นครั้งแรกที่ทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กน้อยขี้สงสัยหรือนักวิจัยที่จริงจังกับงาน สามารถมองเห็นโลกทั้งโลกได้จากมุมมองใหม่ๆ”

การอัพเดทกูเกิลเอิร์ทครั้งนี้ยังเพิ่มลูกเล่นด้าน พื้นดิน เช่น การติดตามด้วย GPS (Global Positioning System) การเดินทางข้ามเวลา (ที่ผู้ใช้สามารถเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่จากภาพถ่ายดาวเทียมจากใน อดีตถึงปัจจุบัน เช่น สเตเดียมที่แข่งเวิร์ลคัพ 2006 หรือทะเลสาบชาดในแอฟริกาที่กลายเป็นทะเลทรายไปทีละน้อย) และการจัดทัวร์บรรยายรูปภาพและเนื้อหาต่างๆที่อยู่บนกูเกิลเอิร์ท

นอกจากนี้ยังมีการอัพเดทดาวอังคารในรูปแบบสามมิติ ซึ่งหากผู้ใช้ดูโลกสีฟ้าจนเบื่อแล้ว ก็สามารถไปดูดาวอังคารสีแดงต่อไปได้

ที่มา :
Google Earth dives under the seas, http://news.bbc.co.uk/2/hi/technology/7865407.stm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น