เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

8 มีนาคม: วันสตรีสากล; วันแม่ในทวีปยุโรปหลายประเทศ

เจ้าหญิงแอนน์แห่งเดนมาร์ก

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 7 มีนาคม ในอดีต

7 มีนาคม: วันครูในแอลเบเนีย
ไฟล์:RoaldAmundsen.JPG

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

ยานแคสสินีเผยภาพน้ำพุมากมายบนดวงจันทร์ “เอนเซลาดัส” ของดาวเสาร์



ภาพน้ำพุบนดวงจันทร์ "เอนเซลาดัส" ของดาวเสาร์ บริเวณขั้วใต้ ซึ่งมีทั้งน้ำพุขนาดใหญ่และขนาดเล็ก บันทึกโดยกล้องของยานแคสสินี ของนาซา (สเปซด็อทคอม)       

ภาพใหม่จากยานแคสสินีเผยน้ำพุมากมายบน “เอนเซลาดัส” ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ มากกว่าที่เคยพบมาก่อน พร้อมภาพ 3 มิติ “ลายเสือ” แสดงรอยแยกที่มีอนุภาคน้ำแข็ง ไอน้ำ และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ พุ่งออกมา และยังบันทึกภาพบริเวณที่ไม่เคยสำรวจมาก่อน

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

เตือนพ่อแม่ระวังถูกหลอก เพราะหลงเชื่อฝากสายสะดือ "ธนาคารสเต็มเซลล์"

นักวิทย์สหรัฐฯ ออกโรงเตือนพ่อแม่ที่หวังดีต่อลูก ยอมจ่ายแพงให้ธนาคารสเต็มเซลล์ เพื่อฝากสเต็มเซลล์จากสายสะดือเด็กแรกเกิด หวังเป็นหลักประกันสุขภาพลูกน้อยในวันข้างหน้า ดีไม่ดีอาจตกเป็นเหยื่อถูกหลอกให้สูญเงินโดยเปล่าประโยชน์ เพราะยังไม่มีงานวิจัยในปัจจุบัน ยืนยันชัดว่ารักษาโรคด้วยสเต็มเซลล์ได้ผลดีจริง
  

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 3 มีนาคม ในอดีต

3 มีนาคม: วันฮินะมัตสึริ (วันเด็กผู้หญิงของญี่ปุ่น)
เครื่องหมายการค้าของไทม์

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 2 มีนาคม ในอดีต

2 มีนาคม

ไฟล์:KingRama7.jpg
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 26 กมภาพันธ์ ในอดีต

26 กุมภาพันธ์: วันสหกรณ์แห่งชาติ

นโปเลียน โบนาปาร์ต

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 19 กุมภาพันธ์ ในอดีต

19 กุมภาพันธ์:
สถานีอวกาศเมียร์ (รัสเซีย: Мир; หมายถึง โลก และ สันติภาพ ในภาษารัสเซีย)   
  •  

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 18 กุมภาพันธ์ ในอดีต

18 กุมภาพันธ์: วันประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกา

เจฟเฟอร์สัน เดวิส

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พบอีก 2 ดวง สัญญาณ “ซูเปอร์เอิร์ธ” ดาวเคราะห์คล้ายโลก

นักวิทยาศาสตร์พบสัญญาณ “ซูเปอร์เอิร์ธ” 2 ดวง โคจรรอบรอบดาวฤกษ์ขนาดพอๆ กับดวงอาทิตย์ หนึ่งในนั้นเป็นดาวเคราะห์หินนอกระบบสุริยะขนาดเล็กสุดที่เคยพบ มีมวลมากกว่าโลก 5 เท่า

ภาพจำลองระบบสุริยะ ทั้งนี้นักดาราศาสตร์เพิ่งพบสัญญาณของ "ซูเปอร์เรธ" ดาวเคราะห์ที่มีมวลมากกว่าโลกไม่กี่เท่า (บีบีซีนิวส์)

“ซูเปอร์เอิร์ธ” ที่พบนี้ คือดาวเคราะห์หินที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก แต่ก็เล็กกว่าดาวน้ำแข็งอย่างยูเรนัส (Uranus) และเนปจูน (Neptune) ในระบบสุริยะที่มีมวลมากกว่าโลก 15 เท่า ซึ่งการค้นพบสัญญาณของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะครั้งนี้ บีบีซีนิวส์รายงานคำพูดของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบว่า จะเป็นอีกก้าว ไปสู่การค้นหาดาวเคราะห์ที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ และเป็นดาวเคราะห์ที่คล้ายโลก

การค้นพบครั้งนี้ เป็นการศึกษาระดับนานาชาติที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มของ พอล บัทเลอร์ (Paul Butler) จากภาควิชาแม่เหล็กภาคพื้นของสถาบันคาร์เนกี (Carnegie Institution) ในวอชิงตัน สหรัฐฯ และ สตีเฟน วอกท์ (Steven Vogt) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาครูซ (University of California, Santa Cruz)

รายละเอียดของการค้นพบนั้น ได้เผยแพร่ในวารสารแอสโทรฟิสิคัลเจอร์นัล (Astrophysical Journal) โดยในกลุ่มของบัทเลอร์นั้น ได้พบหลักฐานของดาวเคราะห์ที่มีมวลต่ำ 3 ดวง ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ชื่อ “61 เวอร์จินิส” (61 Virginis) ที่อยู่ห่างจากโลก 28 ปีแสง และมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo)

ด้านสเปซดอทคอมรายงานข้อ มูลของคริส ทินนีย์ (Chris Tinney) สมาชิกทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (University of New South Wales) ซึ่งวิเคราะห์มวลขั้นต่ำของดาวเคราะห์ที่พบว่า ดาว 61 เวอร์บี (61 Vir b) มีมวล 5.1 เท่าของโลก ดาว 61 เวอร์ซี (61 Vir c) มีมวล 18 เท่าของโลก และดาว 61 เวอร์ดี (61 Vir d) มีมวล 23 เท่าของโลก

“สำหรับ ดาวเคราะห์ดวงเล็กสุดนั้น มีมวลอยู่ในช่วงดาวซูเปอร์เอิร์ธ และเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกดวงแรกที่พบว่าโคจรรอบๆ ดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์” ทินนีย์ระบุ ซึ่งซูเปอร์เอิร์ธดวงอื่นๆ ก่อนหน้านี้พบว่าโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ที่เย็นกว่าและมีสีแดงกว่าดวงอาทิตย์ของเรา

นับว่าการค้นพบครั้งนี้ เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก เนื่องจากหากเราต้องการค้นหาดาวเคราะห์อื่นที่อาศัยอยู่ได้ ทินนีย์กล่าวว่าเราต้องหาดาวเคราะห์มวลต่ำที่อยู่ในระบบดาวฤกษ์คล้ายๆ กับระบบสุริยะของเรา

ทั้งนี้ ทีมวิจัยทั้ง 2 กลุ่ม อาศัยข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาหลายปีจากหอดูดาวดับเบิล ยู เอ็ม เคค (W M Keck Observatory) ในฮาวาย สหรัฐฯ และกล้องโทรทรรศน์แองโกล-ออสเตรเลียน (Anglo-Australian Telescope) ในนิว เซาท์ เวลส์ ออสเตรเลีย โดยอาศัยวิธีการวัดความเร็วในแนวรัศมี (radial velocity) หรือเทคนิควอบเบิล (wobble) ซึ่งเป็นเทคนิคตรวจวัดการส่ายเล็กๆ ของดวงดาว ที่เกิดจากการกระตุกด้วยแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่รอบๆ อีกทั้งนักวิจัยยังวัดขนาดและการโคจรของดาวเคราะห์แต่ละดวงได้

ทางบัทเลอร์ได้เสริมว่า สัญญาณจากซูเปอร์เอิร์ธดวงเล็กสุดที่ตรวจพบนั้นบ่งชี้ว่าเป็นดาวเคราะห์นอก ระบบสุริยะดวงเล็กที่สุดเท่าที่เคยพบ และมีคาบโคจรรอบดาวฤกษ์ของตัวเองทุกๆ 4 วัน แต่ก็ต้องมีความรอบคอบอย่างมากก่อนที่จะประกาศการค้นพบนี้ได้

“สิ่ง ที่ทำให้เรามั่นใจคือ เราได้เห็นสัญญาณจากกล้องโทรทรรศน์สองตัวที่อยู่คนละฟากของโลก และสัญญาณจาก 2 แหล่งก็ตรงกันอย่างพอดิบพอดี” บัทเลอร์กล่าว

อีก การค้นพบล่าสุดคือระบบดาวฤกษ์ เอชดี 1461 (HD 1461) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 76 ปีแสง และเห็นได้ด้วยตาเปล่าในช่วงหัวค่ำหากท้องฟ้ามืดสนิท โดยได้พบหลักฐานที่ชัดเจนของดาวเคราะห์ที่มีมวลมากกว่าโลก 7.5 เท่า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักว่าดาวดวงนี้คือภาคขยายของโลก ซึ่งมีองค์ประกอบของหินและเหล็กหรือไม่ และยังพบสัญญาณที่อาจเป็นดาวเคราะห์อีก 2 ดวงด้วย

ดาวฤกษ์ทั้งสองที่เป็นแหล่งค้นพบดาวเคราะห์ใหม่ครั้งนี้ มีความคล้ายคลึงกับดวงอาทิตย์ทั้งขนาดและอายุ แต่ดาวเคราะห์ที่ค้นพบก็อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ของตัวเองมากเกินกว่าจะเอื้อต่อ สิ่งมีชีวิตหรือยังคงให้มีน้ำหลงเหลืออยู่ได้

หากแต่ บัทเลอร์กล่าวว่าพวกเขาได้พบดาวเคราะห์ดวงอื่นที่มีวงโคจรคล้ายกันนี้รอบๆ ดาวฤกษ์ “เอ็ม-ดวาร์ฟ” (M-dwarfs) ดาวฤกษ์ที่เล็กกว่าดวงอาทิตย์ครึ่งหนึ่ง ซึ่งดาวเคราะห์เหล่านั้นเป็นดาวเคราะห์ที่เต็มไปด้วยน้ำ จึงเป็นไปได้ว่าเราอาจจะพบดาวเคราะห์ที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต

ส่วนวอกท์กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้ชี้ว่า ดาวเคราะห์มวลต่ำอาจจะมีอยู่ในระบบดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับโลกและอยู่ห่างออก ไปไม่กี่ปีแสง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 16 กุมภาพันธ์ ในอดีต

16 กุมภาพันธ์:


ฟิเดล คาสโตร


16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) - บาทหลวง เอมิล กอลมเบต์ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญขึ้นในประเทศไทย
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) - โฮเวิร์ด คาร์เตอร์เปิดหีบพระศพของตุตันคาเมน ฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - ฟิเดล คาสโตร (ในภาพ) ผู้นำการปฏิวัติ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กลายเป็นผู้นำที่อายุน้อยที่สุดของประเทศคิวบา
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - วอร์ด คริสเตนเซน สร้างกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ระบบแรกของโลก ระหว่างที่เกิดพายุหิมะครั้งใหญ่ในชิคาโก สหรัฐอเมริก

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 12 กุมภาพันธ์ ในอดีต

12 กุมภาพันธ์: วันดาร์วินและวันมือแดง


จักรพรรดิปูยี


* พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1818) - เบอร์นาร์โด โอฮิกกินส์ ผู้นำแห่งรัฐคนแรกของประเทศชิลี ประกาศเอกราช หลังจากตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน
* พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1912) - จักรพรรดิปูยี (ในภาพ) จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจีน สละราชสมบัติ หลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน
* พ.ศ. 2490 - ตัวแทนพม่า ไทใหญ่ ฉิ่น กะฉิ่น ลงนามในสนธิสัญญาเวียงปางหลวง หรือเวียงป๋างโหลง เพื่อรวมตัวเป็นสหภาพ และสามารถแยกตัวออกได้หลังจากรวมตัวกันครบ 10 ปี
* พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ลงแตะพื้นดินของดาวเคราะห์น้อย 433 อีรอส เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 11 กุมภาพันธ์ ในอดีต

11 กุมภาพันธ์: วันตั้งชาติของประเทศญี่ปุ่น


เดอะบีทเทิลส์


* พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1919) - ฟรีดริค เอเบิร์ต ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งรัฐเยอรมันคนแรก ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐของสาธารณรัฐไวมาร์ (เยอรมนีในสมัยสงครามโลก)
* พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1929) - สนธิสัญญาแลเทอรันฉบับแรก กำหนดให้นครรัฐวาติกัน เป็นรัฐเอกราชของอิตาลี
* พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - วงเดอะบีทเทิลส์ (ในภาพ) เริ่มบันทึกเสียงอัลบั้มแรก "Please Please Me"
* พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - อยาตุลเลาะห์ รูฮัลลาห์ โคไมนี ครองอำนาจในอิหร่าน และดำรงตำแหน่ง ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลาม

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 9 กุมภาพันธ์ ในอดีต

9 กุมภาพันธ์:


การแข่งขันวอลเลย์บอล


9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1895) - กีฬาวอลเลย์บอล (ในภาพ) ถูกคิดค้นขึ้นที่วายเอ็มซีเอ ณ เมืองโฮลีโยค มลรัฐแมสซาชูเซตส์
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ายึดเกาะกัวดาลคาแนล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะโซโลมอน จากกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างยุทธการกัวดาลคาแนล นับเป็นชัยชนะสำคัญครั้งหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - วุฒิสมาชิก โจเซฟ แม็คคาร์ที กล่าวหากระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ว่าเต็มไปด้วยคอมมิวนิสต์
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเพลงยูงทอง ให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) - สงครามเวียดนาม: ทหารหน่วยรบของสหรัฐอเมริกาชุดแรกเดินทางถึงพื้นที่ทางใต้ของเวียดนาม

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 8 กุมภาพันธ์ ในอดีต

8 กุมภาพันธ์:


สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์



8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2129 (ค.ศ. 1587) - สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ (ในภาพ) ถูกประหารชีวิตที่ปราสาทฟอเทอริงเกย์ หลังจากตกเป็นผู้ต้องหาพัวพันในแผนการปลงพระชนม์ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 แห่งอังกฤษ
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 - สยาม-อังกฤษทำสัญญาเรื่องแนวเขตแดนสยาม-พม่าเป็นครั้งแรกในวันนี้
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1904) - สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้น เมื่อญี่ปุ่นสร้างความประหลาดใจ ด้วยการจู่โจมเรือรบของรัสเซียด้วยตอร์ปิโด
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - "แนสแด็ก" ตลาดหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกของโลก เปิดทำการ

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 7 กุมภาพันธ์ ในอดีต

7 กุมภาพันธ์:


บรูซ แม็คแคนด์เลสส์ ที่ 2 ลอยตัวอยู่นอกยาน



7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1843 (ค.ศ. 1301) - เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งคาร์นาร์วอน อนาคตสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเจ้าชายแห่งเวลส์ เป็นรัชทายาทพระองค์แรกของอังกฤษ
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1953) - วันสถาปนา มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน )
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเปิดเขื่อนเจ้าพระยา ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - บรูซ แม็คแคนด์เลสส์ (ในภาพ) นักบินอวกาศขององค์การนาซาออกท่องอวกาศ โดยไม่ใช้สายโยงติดกับยานเป็นครั้งแรก
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - คณะกรรมาธิการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต เห็นชอบที่จะยุติการผูกขาดอำนาจ นับเป็นการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - ประเทศในประชาคมยุโรป ลงนามในสนธิสัญญามาสทริคต์ในเมืองมาสทริคต์ เนเธอร์แลนด์ นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 6 กุมภาพันธ์ ในอดีต

6 กุมภาพันธ์:


เซอร์โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์


6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1819) - เซอร์โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (ในภาพ) สถาปนาสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่ สำหรับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1820) - ผู้อพยพชาวแอฟริกันอเมริกัน 86 คนแรก ตั้งถิ่นฐานในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศไลบีเรีย โดยการสนับสนุนของสมาคมล่าอาณานิคมแห่งอเมริกา
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1922) - อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ลงนามในสนธิสัญญานาวีวอชิงตัน เพื่อจำกัดจำนวนอาวุธยุทธภัณฑ์ในกองทัพเรือ
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - ภริยาดยุคแห่งเอดินบะระ สืบทอดราชบัลลังก์อังกฤษเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - แจ็ก คิลบี วิศวกรไฟฟ้าชาวอเมริกัน จดสิทธิบัตรฉบับแรกของแผงวงจรรวม

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 5 กุมภาพันธ์ ในอดีต

5 กุมภาพันธ์: วันรัฐธรรมนูญในเม็กซิโก (พ.ศ. 2460)


สมเด็จพระราชาธิบดีลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม


5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1859) - เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ จอห์น คูซา แห่งวอลลาเชียและโมลดาเวีย ผนวกราชรัฐทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรโรมาเนีย
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1885) - สมเด็จพระราชาธิบดีลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งเบลเยียม (ในภาพ) ทรงสถาปนารัฐอิสระคองโกให้ตกเป็นเมืองขึ้นอยู่ในครอบครองของพระองค์
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1924) - บีบีซีเริ่มถ่ายทอดสัญญาณเวลากรีนิช เป็นรายชั่วโมงจากหอดูดาวหลวงกรีนิช
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - ยานอะพอลโล 14 นำนักบินอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - กบฏจากกลุ่มปฏิวัติเพื่อปลดปล่อยเฮติแห่งชาติเข้ายึดครองเมืองโกนาอีฟส์ เป็นจุดเริ่มต้นของกบฏเฮติ พ.ศ. 2547

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 4 กุมภาพันธ์ ในอดีต

4 กุมภาพันธ์: วันเอกราชในศรีลังกา (พ.ศ. 2491)


วินสตัน เชอร์ชิลล์, แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์และโจเซฟ สตาลินพบกันในการประชุมยอลตส


4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1899) - สงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นขึ้น
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1903) - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เปิดโรงงานผลิตเหรียญกระษาปณ์ด้วยกำลังไฟฟ้าแห่งแรกของไทย
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - วินสตัน เชอร์ชิลล์ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และโจเซฟ สตาลิน พบกันในที่ประชุมยอลตา (ในภาพ)
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - เรือนอติลุส เรือดำน้ำลำแรกที่ขับเคลื่อนด้วยนิวเคลียร์ เดินทางได้ไกล 60,000 ไมล์ทะเล เท่ากับเรือดำน้ำนอติลุสในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง "ใต้ทะเล 20,000 โยชน์" ของชูลส์ แวร์น
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) - หนังสือพิมพ์ "พิมพ์ไทย" ตีพิมพ์ภาพซีอุย ซึ่งนับเป็นฆาตกรต่อเนื่องคนแรกของไทย

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันนี้ 2 กุมภาพันธ์ ในอดีต

2 กุมภาพันธ์:


กังหันชัยพัฒนา


2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ "กังหันชัยพัฒนา" (ในภาพ) ใช้บำบัดน้ำเสียโดยเพิ่มปริมาณออกซิเจนลงในน้ำ
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1504 (ค.ศ. 962) – พระสันตะปาปาจอห์นที่ 12 ทำพิธีราชาภิเษกให้กับจักรพรรดิออตโตมหาราช เป็นจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์แรกในรอบเกือบ 40 ปี
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1848) – สงครามเม็กซิโก-อเมริกายุติลง เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญากัวดาลูปฮิดาลโก เม็กซิโกยอมยกดินแดนส่วนหนึ่งให้สหรัฐอเมริกา โดยแลกเปลี่ยนกับเงิน 15 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตจับกุมเชลยศึกชาวเยอรมันกว่า 91,000 นาย นับเป็นจุดสิ้นสุดของยุทธการสตาลินกราด การรบที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1953) - วันสถาปนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) – ประธานาธิบดี เฟรเดอริก วิลเลม เดอ คลาร์ก ประกาศสิ้นสุดการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ และสัญญาว่าจะปล่อยตัว เนลสัน แมนเดลา

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 1 กุมภาพันธ์ ในอดีต


ลุกเรือกระสวยอวกาศโคลัมเบีย

1 กุมภาพันธ์:



1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1796) – อัปเปอร์แคนาดาย้ายเมืองหลวง จากนูวัก ไปยังเมืองยอร์ก ซึ่งถูกพิจารณาว่าจะลดความเสี่ยงจากการโจมตีของสหรัฐอเมริกา
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1884) – พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ชุดแรก ซึ่งมี 352 หน้า ครอบคลุมจากคำว่า A ถึง Ant ได้รับการตีพิมพ์
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – ผลจากการประนีประนอมระหว่างมหาอำนาจในสหประชาชาติ นักการเมืองชาวนอร์เวย์ ทรีฟ ลี (ในภาพ) ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติคนแรก
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – เมืองหลวงของมาเลเซีย ถูกย้ายจากกัวลาลัมเปอร์ไปยังปุตราจายา อันเป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลแห่งใหม่ แต่มิได้ย้ายฝ่ายนิติบัญญัติไปด้วย
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – กระสวยอวกาศ โคลัมเบีย ขององค์การนาซา ระเบิดเหนือรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา ระหว่างการเดินทางการกลับเข้าสู่บรรยากาศโลกหลังเสร็จสิ้นภารกิจ คร่าชีวิตลูกเรือ 7 คน

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 29 มกราคม ในอดีต

29 มกราคม:

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


29 มกราคม พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1856) – สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียทรงออกหมายซึ่งจักตั้งเครื่องราชอิสรยาภรณ์ชั้น วิคตอเรียครอสต์ เพื่อระลึกถึงความชอบของทหารอังกฤษในสงครามไครเมีย
29 มกราคม พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) – รัฐแคนซัสยอมรับเป็นรัฐที่ 34 แห่งสหรัฐอเมริกา
29 มกราคม พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1886) – นักออกแบบเครื่องยนต์และวิศวกรชาวเยอรมัน คาร์ล เบนซ์ จดสิทธิบัตรประดิษฐกรรมรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยแกโซลีนเป็นครั้งแรกของโลก
29 มกราคม พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1903) – หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจบการศึกษาจากอังกฤษและเสด็จประพาสต่างประเทศ ได้เสด็จกลับประเทศไทยขณะมีพระชนมายุ 22 พรรษา
29 มกราคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง เจ้าหญิงนิทรา ของวอลต์ ดิสนีย์ ออกฉายเป็นครั้งแรก

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 28 มกราคม ในอดีต

28 มกราคม:


อุบัติเหตุกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์


28 มกราคม พ.ศ. 2090 (ค.ศ. 1547) – ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์แรกที่ทรงนับถือคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์
28 มกราคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) – นวนิยาย Pride and Prejudice ของผู้ประพันธ์ชาวอังกฤษ เจน ออสเตน ถูกตีพิมพ์จากต้นฉบับซึ่งถูกเขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2339-2340 และยังมิได้ถูกตีพิมพ์มาก่อน
28 มกราคม พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) – รถไฟขบวนหนึ่งบนทางรถไฟสายปานามา เดินทางข้ามทวีปด้วยรางรถไฟเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการเดินทางยาว 77 กิโลเมตร จากมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก ข้ามคอคอดปานามา
28 มกราคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – บริษัทผู้ผลิตของเล่นสัญชาติเดนมาร์ก เลโก้ กรุป จดสิทธิบัตรผลงานออกแบบตัวต่อเลโก้
28 มกราคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) – กระสวยอวกาศขององค์การนาซา แชลเลนเจอร์ ถูกทำลายจากแรงอัด (ในภาพ) หลังปล่อยขึ้นจากฐาน 73 วินาที เนื่องจากเกิดรอยรั่วที่จรวดขับดัน นักบินอวกาศ 7 คน เสียชีวิตทั้งหมด

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 27 มกราคม ในอดีต

27 มกราคม: วันรำลึกถึงการล้างชาติพันธุ์โดยนาซีสากล; วันอนุสรณ์การล้างชาติพันธุ์โดยนาซีในสหราชอาณาจักร และการจัดพิธีรำลึกการปลดปล่อยค่ายมรณะเอาส์ชวิตซ์ (พ.ศ. 2488)


ซากมอดุลของอะพอลโล 1


27 มกราคม พ.ศ. 1204 (ค.ศ. 661) – จักรวรรดิกาหลิบรอชิดีน จักรวรรดิกาหลิบแห่งแรกของชาวอาหรับซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังการเสียชีวิตของมุฮัมมัด ในปี พ.ศ. 1175 ถึงคราวสิ้นสุดภายหลังการเสียชีวิตของอะลีย์
27 มกราคม พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1888) – สองสัปดาห์ภายหลังการรวมตัวของนักสำรวจและนักวิทยาศาสตร์กว่า 30 คน ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก เจ้าของนิตยสาร เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ถูกจัดตั้งขึ้น
27 มกราคม พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ภายหลังการปิดล้อมเป็นเวลานานกว่า 2 ปี การปิดล้อมเลนินกราดถึงคราวสิ้นสุด
27 มกราคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – ยานอวกาศ อะพอลโล 1 (ซากยานในภาพ) เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ทำให้นักบินอวกาศ 3 คน เสียชีวิต
27 มกราคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – การรบในสงครามเวียดนามยุติลงชั่วคราว ภายหลังการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 26 มกราคม ในอดีต

26 มกราคม: วันออสเตรเลีย; วันสาธารณรัฐในอินเดีย (พ.ศ. 2493)


อาร์เทอร์ ฟิลลิป

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 25 มกราคม ในอดีต


25 มกราคม:

25 มกราคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1924) - โอลิมปิกฤดูหนาว จัดขึ้นครั้งแรกที่บริเวณเชิงเขามองต์บลังค์ ประเทศฝรั่งเศส
25 มกราคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี อนุสาวรีย์นี้ออกแบบโดย ศ.ศิลป์ พีระศรี
25 มกราคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - วันสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น
25 มกราคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - ยานออปพอร์ทูนิตีขององค์การนาซา ลงจอดบนดาวอังคาร

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 22 มกราคม ในอดีต

22 มกราคม:


อังเดร ซาคารอฟ


22 มกราคม* พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - อังเดร ซาคารอฟ (ในภาพ) นักฟิสิกส์ในโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต และผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2518 ถูกจับกุมในมอสโก
22 มกราคม พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1879) - กองทหารซูลู นำโดยกษัตริย์เคตช์วาโย ตีกองทัพจักรวรรดิอังกฤษแตกพ่ายในสงครามอังกฤษ-ซูลู
22 มกราคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1901) - หลังจากดำรงพระยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์เป็นเวลานานถึง 6 ทศวรรษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เสด็จขึ้นครองราชย์ในสหราชอาณาจักร

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 21 มกราคม ในอดีต

21 มกราคม:


พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส


21 มกราคม พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1793) - การปฏิวัติฝรั่งเศส: หลังจากถูกตัดสินโดยสภาแห่งชาติฝรั่งเศสว่ามีความผิดข้อหากบฏ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (ในภาพ) ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน ท่ามกลางฝูงชนที่โห่ร้องสนับสนุน
21 มกราคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1911) - วันเกิด เอื้อ สุนทรสนาน นักดนตรี นักประพันธ์เพลง และนักร้องที่มีชื่อเสียง
21 มกราคม พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - สหรัฐอเมริกาทำพิธีปล่อยเรือนอติลุส (Nautilus) เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ลำแรกของโลก ลงน้ำที่แม่น้ำเทมส์ มลรัฐคอนเนตทิคัต
21 มกราคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - เครื่องบินคองคอร์ด เริ่มบินเพื่อการพาณิชย์เป็นครั้งแรกที่ลอนดอน ปารีส บาห์เรน และรีโอเดจาเนโร

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 20 มกราคม ในอดีต

20 มกราคม:


เรือหลวงจักรีนฤเบศร


20 มกราคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีปล่อยเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ในภาพ) ลงน้ำ ณ อู่เรือบาซาน ประเทศสเปน

20 มกราคม พ.ศ. 2427 (ค.ศ. 1885) - ลามาร์คัส แอดนา ทอมป์สัน จดสิทธิบัตรเครื่องเล่นรถไฟเหาะตีลังกา
20 มกราคม พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1892) - การแข่งขันบาสเกตบอลอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วายเอ็มซีเอ ในเมืองสปริงฟีลด์ แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
20 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ผลการประชุมของพรรคนาซี ณ เบอร์ลิน เพื่อหาทางออกปัญหาชาวยิว นำไปสู่ปฏิบัติการการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 19 มกราคม ในอดีต

19 มกราคม:



19 มกราคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ



19 มกราคม พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1839) - นาวิกโยธินอังกฤษขึ้นฝั่งที่เมืองเอเดน ในคาบสมุทรอาหรับ เพื่อป้องกันเรือของบริษัทบริติชอีสต์อินเดียจากการโจมตีโดยโจรสลัด เอเดนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษจนถึงปี พ.ศ. 2510
19 มกราคม พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1935) - บริษัท Coopers Inc. ในสหรัฐอเมริกา จำหน่ายกางเกงในชายรูปตัว Y เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นชุดชั้นในแบบใหม่ ต่างจากกางเกงบ็อกเซอร์
19 มกราคม พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - แอปเปิล คอมพิวเตอร์ เปิดตัว แอปเปิล ลิซา (Apple Lisa) (ในภาพ) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อการค้ารุ่นแรกที่มีระบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) และเมาส์ ภายในมีแรมขนาด 1 เมกะไบต์ ราคา 9,995 ดอลลาร์สหรัฐ

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 18 มกราคม ในอดีต

18 มกราคม: วันกองทัพไทย


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


18 มกราคม พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1593) - สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาในยุทธหัตถี ณ หนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
18 มกราคม พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1778) - กัปตันเจมส์ คุก ค้นพบหมู่เกาะแซนด์วิช ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อหมู่เกาะฮาวาย
18 มกราคม พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1871) - สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิเยอรมัน
18 มกราคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) - พลเอกถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
18 มกราคม พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553


บ่ายวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553 จะเกิดสุริยุปราคาซึ่งปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสสังเกตได้เพียงครั้งเดียว สุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้มีเส้นทางคราสวงแหวนผ่านทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ทางใต้ของประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า และจีน ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวน แต่อยู่ในเขตที่สามารถสังเกตสุริยุปราคาบางส่วนได้โดยภาคเหนือเห็นดวง อาทิตย์แหว่งมากที่สุด

วันที่เกิดสุริยุปราคาดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์มากเนื่อง จากเป็นช่วงก่อนที่ดวงจันทร์จะอยู่ห่างโลกที่สุดไม่ถึง 2 วัน และหลังจากวันที่โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่ถึง 2 สัปดาห์ ส่งผลให้เกิดสุริยุปราคาวงแหวนยาวนานถึง 11 นาที 8 วินาที ที่กึ่งกลางคราส นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ยาวนานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ 3 (ค.ศ. 2001-3000) และเป็นครั้งเดียวที่นานกว่า 11 นาที (ครั้งถัดไปที่นานกว่า 11 นาที เกิดในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 3043)

ดูรูปขยาย

สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553 เริ่มต้นในเวลา 11:05 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล (UT) 7 ชั่วโมง จังหวะนั้นเงามัวของดวงจันทร์เริ่มแตะผิวโลกในทวีปแอฟริกา เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกเวลา 12:14 น. บริเวณตะวันตกของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ศูนย์กลางเงาสัมผัสผิวโลกตรงบริเวณใกล้กันในอีก 4 นาทีถัดมา ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 7 นาที 9 วินาที เงาเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็ว เข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แล้วผ่านยูกันดา ซีกด้านเหนือของทะเลสาบวิกตอเรีย เคนยา ส่วนเล็ก ๆ ทางเหนือของแทนซาเนีย และทางใต้ของโซมาเลีย ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย

เมืองบังกีในสาธารณรัฐแอฟริกากลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 57 วินาที โดยดวงอาทิตย์มีมุมเงย 4 องศา กัมปาลาในยูกันดาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 38 วินาที ส่วนที่เมืองไนโรบีของเคนยาเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 6 นาที 52 วินาที แนวคราสวงแหวนขณะอยู่ในมหาสมุทรเฉียดห่างขึ้นไปทางเหนือของเมืองวิกตอเรียใน สาธารณรัฐเซเชลส์ซึ่งเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดีย

เงาคราสวงแหวนเปลี่ยนทิศทางโดยวกขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ กึ่งกลางคราสซึ่งเป็นจุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนเกือบนานที่สุดอยู่ใน มหาสมุทร เกิดขึ้นในเวลา 14:07 น. นาน 11 นาที 8 วินาที จากนั้นพาดผ่านหมู่เกาะมัลดีฟส์ในเวลาประมาณ 14:26 น. เมืองมาเลเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานถึง 10 นาที 46 วินาที

เงาคราสวงแหวนแตะทางใต้ของอินเดียและทางตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกาใน เวลา 14:40 - 15:00 น. เมืองจาฟนาของศรีลังกาซึ่งอยู่ใกล้แนวกึ่งกลางคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 10 นาที 9 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 55 องศา

เงาคราสวงแหวนมุ่งหน้าสู่อ่าวเบงกอล ศูนย์กลางเงาแตะชายฝั่งพม่าในเวลาประมาณ 15:33 น. ตรงบริเวณเมืองซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่ ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 8 นาที 39 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 34 องศา ส่วนเล็ก ๆ ทางตอนล่างของบังกลาเทศกับอินเดียตะวันออกก็อยู่ในเส้นทางคราสวงแหวนด้วย จากนั้นผ่านมัณฑะเลย์ เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 37 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 30 องศา

ศูนย์กลางเงาคราสวงแหวนเข้าสู่ประเทศจีนในเวลาประมาณ 15:41 น. เมืองใหญ่ที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวน ได้แก่ ฉงชิ่ง เจิ้งโจว และจี่หนาน ฉงชิ่งอยู่กลางคราสพอดี เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 7 นาที 50 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16 องศา เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 4 นาที 40 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 7 องศา ส่วนจี่หนาน มณฑลชานตง มีตำแหน่งใกล้ขอบเขตด้านเหนือของเส้นทางคราส ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน 1 นาที 9 วินาที (อาจสั้นกว่านี้เนื่องจากผิวที่ไม่เรียบของดวงจันทร์) ดวงอาทิตย์มีมุมเงยเพียง 4 องศา

คราสวงแหวนไปสิ้นสุดบริเวณแหลมชานตงที่ยื่นออกสู่ทะเลเหลืองในเวลา 15:59 น. ที่กึ่งกลางเห็นสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ตกเป็นระยะเวลานาน 7 นาที 12 วินาที จากนั้นเงามัวของดวงจันทร์จะหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 17:08 น. ในประเทศจีน นับเป็นจุดสิ้นสุดของสุริยุปราคาในวันนี้

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย แอฟริกา บางส่วนทางตะวันออกของยุโรป มหาสมุทรอินเดีย สำหรับประเทศไทย บริเวณภูเก็ตเป็นจุดที่เริ่มเห็นสุริยุปราคาเป็นที่แรก ภาคเหนือตอนบนเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากกว่าภาคอื่น ๆ และเป็นจุดสุดท้ายที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน

อ่านรายละเอียดทั้งหมด จากสมาคมดาราศาสตร์นะจ๊ะ

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 15 มกราคม ในอดีต

15 มกราคม: วันมาร์ตินลูเทอร์คิง, วันวิกิพีเดีย

15 มกราคม พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1896) - อังกฤษกับฝรั่งเศสทำสัญญา 6 ข้อ เพื่อกำหนดเขตแดนในแหลมอินโดจีนโดยระบุให้สยามเป็นดินแดนกลางที่ทั้งสองประเทศจะไม่ส่งทหารเข้าไป

15 มกราคม พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - โรซา ลุกเซมบวร์ก (ในภาพ)และคาร์ล ลิบเน็คท์ 2 นักสังคมนิยมลัทธิมาร์กซ์ผู้มีชื่อเสียงในเยอรมนี ถูกทรมานและสังหารโดยกลุ่มฟรีคร็อป
15 มกราคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - เพนทากอน อาคารสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างเสร็จสมบูรณ์
15 มกราคม พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เปิดตัววิกิพีเดียภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 14 มกราคม ในอดีต

14 มกราคม:

14 มกราคม พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - โจ ดิมัจจิโอ แต่งงานกับ มาริลีน มอนโร
14 มกราคม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ประมุขแห่งรัฐองค์ปัจจุบันของประเทศเดนมาร์ก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
14 มกราคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - ประเทศจอร์เจียนำธงชาติที่เรียกว่าธงห้ากากบาท (Five Cross Flag) (ในภาพ) กลับมาใช้ใหม่ หลังจากว่างเว้นไปราว 500 ปี

14 มกราคม พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) - ยานไฮเกนส์ขององค์การอวกาศยุโรป ที่เดินทางไปกับยานแคสซีนีขององค์การนาซา ลงจอดบนพื้นผิวของไททัน ดาวบริวารของดาวเสาร์

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 13 มกราคม ในอดีต

13 มกราคม :

จานร่อน ฟริสบี


13 มกราคม พ.ศ. 2145 (ค.ศ. 1602) - The Merry Wives of Windsor ของวิลเลียม เชกสเปียร์ออกตีพิมพ์
13 มกราคม พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1914) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย ณ ตำบลศาลาแดง จังหวัดพระนคร และได้มีพระราชหัตถเลขาส่งโทรเลขเป็นปฐมฤกษ์ โดยส่งไปถึงอุปราชปักษ์ใต้ที่สถานีวิทยุโทรเลข จ.สงขลา
13 มกราคม พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - การ์ตูนช่องมิคกี้เมาส์ ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
13 มกราคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - บริษัทของเด็กเล่น Wham-O ผลิตจานร่อนใบแรก ต่อมาใช้ชื่อว่า ฟริสบี (Frisbee) (ในภาพ)
13 มกราคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - นายพล นัสซิงเบ เอยาเดมา ครองอำนาจในประเทศโตโกหลังจากก่อรัฐประหาร โดยดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐจนกระทั่งถึงแก่กรรมในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 12 มกราคม ในอดีต

12 มกราคม :


12 มกราคม พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1934) - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปอังกฤษ และประทับที่นั่นจนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ


ฮิโระบุมิ อิโต นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น 4 สมัย


12 มกราคม พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) - ฮิโระบุมิ อิโต (ในภาพ) อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของญี่ปุ่น เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม
12 มกราคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) - ข้อความวิทยุคลื่นยาวถูกส่งออกจากหอไอเฟลเป็นครั้งแรก

12 มกราคม พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1940) - เจนีวีฟ คอลฟิลด์ สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
12 มกราคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - แบทแมน ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ นำแสดงโดยอดัม เวสต์ แพร่ภาพครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์เอบีซี

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

15 ม.ค.พลาดชม "สุริยุปราคา" หนนี้ต้องรออีก 2 ปี



"สุริยุปราคา" กลับมาอีกครั้ง 15 ม.ค.นี้ หากพลาดชมต้องรออีกที 2 ปีข้างหน้า ขณะทีจีน-พม่า เห็นเป็นแบบวงแหวน แต่ไทยเห็นเป็นแบบบางส่วน โดยภาคเหนือเห็นคราสบังมากที่สุด 70% ส่วนกรุงเทพฯเห็นได้ 50% ภาคใต้เห็นน้อยสุด ด้านนักวิชาการเตือนให้ดูอย่างถูกต้อง อย่ามองด้วยตาเปล่า

ปรากฏการณ์สุริยุปราคากลับมาอีกครั้งในวันที่ 15 ม.ค.53 นี้ เป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 14.00-17.00 น. โดยภาคเหนือจะเห็นคราสบังมากที่สุด โดย จ.แม่ฮ่องสอนเห็นการบดบังมากถึง 77% ส่วนกรุงเทพฯ เห็นการบดบังได้ 57.3% ขณะที่ภาคใต้เห็นการบดบังน้อยสุด จ.นราธิวาสเห็นการบดบังเพียง36%


ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า สุริยุปราคาบางส่วนที่เห็นได้ในเมืองไทยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของปรากฎสุริยุปราคาวงแหวนที่คราสพาดผ่านพม่าและจีน ทั้งนี้สุริยุปราคาวงแหวนเกิดจากขนาดปรากฏของดวงจันทร์เล็กกว่าดวงอาทิตย์

"สุริยุปราคาวงแหวนเป็นสิ่งปกติของสุริยุปราคาที่เกิดในเดือน ม.ค. เนื่องจากเป็นเดือนที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด ดังนั้นจึงเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้ยาก ครั้งนี้ไทยอยู่ใกล้แนวคราสวงแหวน จึงเห็นสุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งแต่ละภาคจะเห็นการบดบังไม่เท่ากัน แต่ตลอดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนและสุริยุปราคาบางส่วน ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า" ดร.ศรัณย์กล่าว

พร้อมกันนี้รอง ผอ.สดร.ได้แนะนำว่าไม่ควรชมสุริยุปราคาด้วยตาเปล่า และดูด้วยอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัย เช่น แผ่นซีดี กระจกช่างเชื่อม เบอร์ 14 แว่นตาสำหรับชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาโดยเฉพาะ หรืออาจดูทางอ้อมโดยใช้กล้องรูเข็รับภาพดวงอาทิตย์ให้ตกที่ฉาก และมีปรากฏการณ์ที่น่าติดตามระหว่างปรากฏการณ์คือรูปเงาเสี้ยวจากใบไม้

ทั้งนี้ สดร.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บข้อมูลระหว่างเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย ดร.ศรัณย์กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ระหว่างเกิดสุริยุปราคาจะศึกษาข้อมูลในเชิงอุตุนิยมวิทยา คือ อุณหภูมิ ความสว่างของท้องฟ้า ลม ความกดอากาศ เพื่อศึกษาว่าเมื่อแสงอาทิตย์ลดลงแล้วมีผลอะไรบ้าง เนื่องจากการบดบังของจันทร์นั้นทำให้แสงอาทิตย์ตกไม่ถึงชั้นบรรยากาศโลก จะทำให้เข้าใจเรื่องชั้นบรรยากาศ ความร้อนและการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์


ด้าน รศ.บุญรักษา สุทรธรรม ผอ.สดร. กล่าวว่า เมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ คนมักให้ความสนใจ โดยสุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่เห็นได้ในตอนกลางวัน สังเกตง่าย และนอกจากปรากฏการณ์สุริยุปราคาแล้วยังมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์อื่นๆ ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนและเยาวชนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สนใจวิทยาศาสตร์ได้ง่ายขึ้นด้วย

สำหรับวันเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา ทาง สดร.ได้ร่วมกับหน่วยงานในเครือข่ายทั่วประเทศกว่า 30 หน่วยงาน จัดกิจกรรมเพือให้ประชาชน เยาวชนได้ร่วมในการสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคา อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย หอดูดาวบัณฑิต จ.ฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งเดียวในปี 2553 ซึ่งหลังจากนี้จะเกิดสุริยุปราคาบางส่วนขึ้นในเมืองไทยอีกครั้งวันที่ 20 พ.ค.55 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสุริยุปราคาวงแหวนที่คราสพาดผ่านญี่ปุ่น และในวันที่ 8 มี.ค.59 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่คราสพาดผ่านเกาะ บอร์เนียวและเกาะสุมาตรา และไทยจะเห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนในส่วนของภาคใต้วันที่ 21 พ.ค.74

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

11 มกราคม:



วิลเลียม เฮอร์เชล


11 มกราคม พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1787) - วิลเลียม เฮอร์เชล (ในภาพ) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบทิเทเนียและโอเบอรอน ดาวบริวารของดาวยูเรนัส
11 มกราคม พ.ศ. 2421 (ค.ศ. 1879) - วันเริ่มต้นสงครามอังกฤษ-ซูลู
11 มกราคม พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1922) - การฉีดอินซูลินให้กับมนุษย์ มีขึ้นครั้งแรกกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา
11 มกราคม พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1923) - กองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเบลเยี่ยมบุกแคว้นรูร์ของสาธารณรัฐไวมาร์เพื่อบีบบังคับให้สาธารณรัฐไวมาร์จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งหยุดชะงักไป

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 8 มกราคม ในอดีต

8 มกราคม:


8 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - สงครามโลกครั้งที่สอง : ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนคร
8 มกราคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สวนจตุจักร
8 มกราคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - เริ่มยุคเฮเซในประเทศญี่ปุ่น เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์
8 มกราคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระยศ "จอมพลเรือ" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
8 มกราคม พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ตื่น! วันสงกรานต์ 29 ปีข้างหน้า ดาวหางอาจชนโลก


ตื่น! วันสงกรานต์ 29 ปีข้างหน้า ดาวหางอาจชนโลก



ผู้เชี่ยวชาญรวมกลุ่มเรียกร้องให้ สหประชาชาติหาวิธีเบี่ยงเบนเส้นทางของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีโอกาสพุ่งชนโลกในปี 2579

นายรัสตี ชไวการ์ต อดีตนักบินอวกาศของยานอพอลโล 9 เป็นตัวแทนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากนักบินอวกาศ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ ออกมาเปิดเผยรายงานระบุว่า โลกอาจมีโอกาส 1 ใน 45,000 ที่จะถูกดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสพุ่งเข้าชนในวันที่ 13 เมษายน 2579 นอกจากนี้ คาดว่ายังมีเทหวัตถุอีกกว่าหลายร้อยชิ้นที่มีโอกาสพุ่งเข้าชนโลกในอนาคต

การเบี่ยงเบนวิถีของดาวเคราะห์น้อยสามารถกระทำได้โดยใช้ยานอวกาศเข้าไปประกบ และเบี่ยงเส้นทางของดาวเคราะห์น้อยให้พ้นจากโลก โดยมีการประเมินว่า การเบี่ยงเบนเส้นทางของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส ซึ่งมีความยาวประมาณ 140 เมตร อาจต้องใช้ยานปล่อยแรงโน้มถ่วงติดต่อกันราว 12 วัน ซึ่งโครงการดังกล่าวอาจต้องใช้งบประมาณสูงถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 9,982 ล้านบาท)
สถาบันดาราศาสตร์ไทยย้ำ อย่าตื่นข่าวดาวเคราะห์ชนโลก!

นักดาราศาสตร์ไทยเตือนคนไทยไม่ควรตื่นตกใจกับข่าวดาวเคราะห์น้อย "อะโพฟิส" พุ่งชนโลก เพราะจากการคำนวณของ "นาซ่า" ล่าสุดระบุมีโอกาสน้อยมาก และข้อมูลที่นักบินอวกาศระบุเป็นข้อมูลเก่าที่เผยแพร่เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา คาดต้องการทุนไปศึกษาค้นคว้าหาวิธีเบี่ยงวิถีของดาวเคราะห์น้อยให้พ้นจากโลก มากกว่า

นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่นายรัสตี ชไวการ์ต อดีตนักบินอวกาศของยานอพอลโล 9 เป็นตัวแทนผู้เชี่ยวชาญนักบินอวกาศ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ ออกมาระบุว่า โลกอาจมีโอกาส 1 ใน 45,000 ที่จะถูกดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส พุ่งเข้าชนในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2579 หรืออีก 29 ปีข้างหน้า ว่า ข่าวดังกล่าวเคยเผยแพร่มาแล้วเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นการคำนวณครั้งแรกของสำนักงานบริหารอวกาศสหรัฐ (นาซ่า) ว่า ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสมีโอกาสพุ่งชนโลกในช่วงเวลานั้น

ทั้งนี้ ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส เป็นดาวเคราะห์ที่โคจรเฉียดโลกอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะเข้ามาทุก 10 ปี ครั้งแรกที่โคจรเฉียดโลกและเคยคำนวณว่ามีโอกาสพุ่งชนโลกนั้นได้ถูกแรงโน้ม ถ่วงของโลกเบี่ยงเบนออกไปเป็น 29 ปีข้างหน้าที่ดาวเคราะห์ดังกล่าวอาจมีโอกาสจะพุ่งชนโลกอีก

อย่างไรก็ตาม ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อนาซ่าคำนวณวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสได้แม่นยำมากขึ้นก็พบว่า โอกาสมีน้อยมากๆ ที่จะเกิดเหตุการณ์อะโพฟิสชนโลก นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจะปรับปรุงข้อมูลใหม่ตลอดเวลา เมื่อทราบวงโคจรที่ชัดเจนของดาวเคราะห์น้อยมากขึ้นเรื่อย ๆ

"ครั้งแรกที่ดูตำแหน่งดาวเคราะห์น้อย 3 ครั้ง ว่าเคลื่อนที่อย่างไร และคำนวณออกมาว่ามีโอกาสระดับหนึ่ง แต่เมื่อยังมีความแม่นยำมากขึ้น ก็พบว่าโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวจะพุ่งชนโลกนั้นน้อยมาก ซึ่งข่าวนี้ประชาชนคนไทยไม่ควรตื่นตกใจ

"การที่นักวิทยาศาสตร์ออกมาระบุนั้น ผมคิดว่าเขาต้องการที่จะหาทุนไปศึกษาค้นคว้าหาวิธีเบี่ยงวิถีของดาวเคราะห์ น้อยให้พ้นจากโลกมากกว่า และคนที่จะออกมาระบุว่าความแม่นยำได้ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญจากนาซ่าเท่านั้น โดยเฉพาะนายดอน เยโอแมนส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคำนวณวงโคจรของนาซ่า" นายศรัณย์ กล่าว

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

พบ "หุ่นยนต์น้องดินสอ" ที่ถนนสายวิทยาศาสตร์ 6–9 มค.นี้


“หุ่นยนต์น้องดินสอ ” หุ่นยนต์จากฝีมือคนไทยที่น่ารัก แสดงอารมณ์ได้ ใช้งานแทนคนได้จริง เป็นต้นแบบของหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารที่จะผลิตส่งมอบให้ MK สุกี้ นำไปใช้งานจริงกลางปี 2553 นี้ จะมีมาโชว์ในงาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์” ช่วงวันเด็ก ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. ระหว่างวันที่ 6 – 9 มกราคม 2553 ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนโยธี และถนนพระราม 6


ผู้ที่สนใจต้องการทราบรายละเอียดงานเพิ่มเติม หรือโรงเรียนจะเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อสอบถามได้ที่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทรศัพท์ 0 2577 9999 ต่อ 1829 และ 1830



ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ “หุ่นยนต์น้องดินสอ”

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

6 มกราคม: วันฉลองการเสด็จมาของพระเยซู (Epiphany) ในศาสนาคริสต์ตะวันตก



ซามูเอล มอร์ส

6 มกราคม พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1838) - ซามูเอล มอร์ส (ในภาพ) ประสบความสำเร็จในการทดสอบโทรเลขไฟฟ้าเป็นครั้งแรก
6 มกราคม พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1907) - มาเรีย มอนติสโซรี เปิดโรงเรียนและสถานเลี้ยงเด็กสำหรับบุตรของกลุ่มผู้ใช้แรงงานแห่งแรก ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี
6 มกราคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ กล่าวสุนทรพจน์ถึงการต่อสู้เพื่อเสรีภาพสี่ประการ (Four Freedoms) ในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา
6 มกราคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เหตุเพลิงไหม้ในอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ นำไปสู่การค้นพบแผนการก่อการร้ายครั้งใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า แผนโบจินกา ซึ่งเป็นแผนซ้อมก่อนวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544
6 มกราคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - สงครามเวียดนาม : นาวิกโยธินสหรัฐอเมริการ่วมกับกองทัพแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม (ARVN) รุกเข้าสู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

วันนี้ 5 มกราคม ในอดีต

5 มกราคม: คืนที่สิบสองหลังวันคริสต์มาส (Twelfth Night) ในศาสนาคริสต์ตะวันตก


สะพานโกลเดนเกต


5 มกราคม พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1895) – อัลเฟรด เดรฟุส นายทหารฝรั่งเศสเชื้อสายยิว ได้รับการตัดสินให้มีความผิดข้อหากบฏ ถูกลดขั้นทางทหาร และรับโทษจำคุกตลอดชีวิต
5 มกราคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) – คณะกรรมการอิสระเพื่อสันติภาพกรรมกรเยอรมัน ถูกก่อตั้งขึ้น ซึ่งในภายหลังจะเป็นที่รู้จักกันว่า พรรคนาซี
5 มกราคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1933) – สหรัฐอเมริกาเริ่มก่อสร้างสะพานโกลเดนเกต (ในภาพ) ณ อ่าวซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
5 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) – ริชาร์ด สตอลแมน เริ่มพัฒนาซอฟต์แวร์กนู

อ่านต่อกด..จ๊ะ.