เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 29 ธันวาคม ในอดีต

29 ธันวาคม: วันขึ้นปีใหม่ของอิสลาม (ค.ศ. 2008, ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ 1430)

ซุนยัตเซ็น


29 ธันวาคม พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) - สหรัฐอเมริกาผนวกสาธารณรัฐเทกซัสเป็นรัฐหนึ่งของตน
29 ธันวาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - ซุนยัตเซ็น (ในภาพ) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน
29 ธันวาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - รัฐอิสระไอริช (Irish Free State) เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ เมื่อมีการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 28 ธันวาคม ในอดีต

28 ธันวาคม

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

28 ธันวาคม พ.ศ. 2311 (ค.ศ. 1768) - สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทยขณะมีพระชนมายุ 34 พรรษา และทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
28 ธันวาคม พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1846) - สหรัฐอเมริกาสถาปนาไอโอวาเป็นมลรัฐที่ 29
28 ธันวาคม พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) - สหรัฐอเมริกา เข้าครอง หมู่เกาะมิดเวย์ Midway Atoll หรือ Midway Islands ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ที่ได้ชื่อว่ามิดเวย์ เพราะ อยู่ เกือบ กึ่งกลางระหว่าง อเมริกา และ เอเซีย
28 ธันวาคม พ.ศ. 2422 (ค.ศ. 1879) - ส่วนหนึ่งของทางรถไฟข้ามแม่น้ำเทย์ในเมืองดันดี สกอตแลนด์ ถล่มลง ทำให้ผู้โดยสาร 75 คนบนขบวนรถไฟ เสียชีวิตทั้งหมด
28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารพระที่นั่งอนันตสมาคม

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 27 ธันวาคม ในอดีต

27 ธันวาคม:

พิพิธภัณฑ์อะยาโซเฟีย


27 ธันวาคม พ.ศ. 1080 (ค.ศ. 537) – อาคารฮาเยีย โซเฟียในปัจจุบัน (ในภาพ) ในอิสตันบูล ตุรกี เสร็จสิ้นการก่อสร้าง
27 ธันวาคม พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) – ชาลส์ ดาร์วินเริ่มการเดินทางออกจากเมืองพลีมัท แคว้นอังกฤษ ด้วยเรือ บีเกิล นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์สู่ทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งสร้างชื่อให้กับเขาในฐานะนักธรรมชาติวิทยา
27 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – นานาชาติให้สัตยาบันในข้อตกลงเบร็ตตันวูดส์ ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา
27 ธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – สงครามเย็น: กองทัพโซเวียตเริ่มการรุกรานอัฟกานิสถาน
27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) – อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งปากีสถาน เบนาซีร์ บุตโต ถูกลอบสังหาร ระหว่างการหาเสียงในเมืองราวัลพินดี

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 25 ธันวาคม ในอดีต

25 ธันวาคม: วันคริสต์มาสของคริสต์ศาสนาตะวันตก และบางส่วนของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์

จอร์จ วอชิงตัน นำทัพข้ามแม่น้ำเดลาแวร์


25 ธันวาคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) - วันเกิดของเซอร์ไอแซก นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงจากกฎความโน้มถ่วง (วันเกิดตามปฏิทินจูเลียน)
25 ธันวาคม พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) - สงครามปฏิวัติอเมริกัน: จอร์จ วอชิงตัน นำกองทหารข้ามแม่น้ำเดลาแวร์ (ในภาพ) เพื่อเข้าจู่โจมทหารอังกฤษที่สมรภูมิเทรนตัน ณ นิวเจอร์ซีย์
25 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - สงครามโลกครั้งที่สอง: การยึดครองฮ่องกงของจักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้น เมื่อฮ่องกงยอมจำนนต่อกองทัพญี่ปุ่น
25 ธันวาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - การก่อตั้งโรงเรียนไทยเทคนิค โรงเรียนระดับปริญญาตรีเอกชนแห่งแรกของไทยก่อนจะยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปัจจุบัน
25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) - มิคาอิล กอร์บาชอฟ ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 24 ธันวาคม ในอดีต

24 ธันวาคม: วันก่อนเทศกาลคริสต์มาส (Christmas Eve)

เกาะคิริมาตี


24 ธันวาคม พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) - กัปตันเจมส์ คุก ค้นพบเกาะคิริติมาตี (ในภาพ)
24 ธันวาคม พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1906) - เรจินัลด์ เฟสเซนเดน แพร่สัญญาณวิทยุออกอากาศเป็นครั้งแรก
24 ธันวาคม พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) - ทหารอังกฤษและเยอรมันหยุดการต่อสู้กันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การพักรบระหว่างคริสต์มาส
24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) - รัฐบาลไทยโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ออกประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดานานาอารยประเทศ ดังนั้นปี พ.ศ. 2483 จึงมีเพียง 9 เดือน
24 ธันวาคมพ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) - พายุไซโคลนเทรซีเข้าถล่มเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 22 ธันวาคม ในอดีต

22 ธันวาคม: วันแม่ในอินโดนีเซีย
22 ธันวาคมพ.ศ. 2431 - ฝรั่งเศสและสยามทำสัญญา 9 ข้อ เรื่องเมืองสิบสองจุไท ทำให้สยามเสียสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศส
22 ธันวาคม พ.ศ. 2351 (ค.ศ. 1808) – นักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน (ในภาพ) แสดงซิมโฟนีหมายเลข 5 หนึ่งในดนตรีคลาสสิกยุโรปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด เป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา

ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน



22 ธันวาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – สภาตั้งรัฐธรรมนูญมีรัฐบัญญัติให้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิตาลี มีผลบังคับใช้
22 ธันวาคม พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) – อิโต ฮิโระบุมิ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศญี่ปุ่น
22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1987) – ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 11 ผู้นำจีน เติ้ง เสี่ยวผิง และสมาชิกพรรคระดับสูงเห็นชอบให้มีการปฏิรูปการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ
22 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – สัญลักษณ์แห่งกรุงเบอร์ลิน ประตูบรานเดนบวร์ก ถูกเปิดขึ้นอีกครั้งหลังจากถูกปิดเป็นเวลากว่า 30 ปี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการรวมเยอรมนีตะวันออกเข้ากับเยอรมนีตะวันตก

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2552

20 ธันวาคม:

รูปสลักครึ่งตัวของจักรพรรดิเวสเปเซียน


20 ธันวาคม พ.ศ. 593 (ค.ศ. 62) – เวสเปเซียน (รูปสลักครึ่งตัวในภาพ) อดีตนายพลในสมัยจักรพรรดิเนโร เคลื่อนทัพเข้าสู่กรุงโรม เพื่ออ้างตำแหน่งจักรพรรดิแห่งโรมัน
20 ธันวาคม พ.ศ. 2065 (ค.ศ. 1522) – สุลัยมานมหาราชทรงยอมรับการยอมจำนนของ "อัศวินแห่งเกาะโรดส์" กลุ่มอัศวินดังกล่าวได้เดินทางหลบหนีมายังมอลตา และกลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัศวินแห่งมอลตา
20 ธันวาคม พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) – รัฐเซาท์แคโรไลนา เป็นรัฐแรกในสิบเอ็ดรัฐทาสที่แยกตัวออกจากสหรัฐอเมริกา และนำไปสู่การก่อตั้งสมาพันธรัฐอเมริกา และสงครามกลางเมืองอเมริกา
20 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ เริ่มภารกิจรักษาสันติภาพในบอสเนีย
20 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) – โปรตุเกสส่งมอบอำนาจปกครองมาเก๊าคืนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 19 ธันวาคม ในอดีต

19 ธันวาคม: วันการปลดปล่อยในรัฐกัว (พ.ศ. 2504)
19 ธันวาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) – วันสถาปนากองเรือยุทธการ (กร.) หน่วยกำลังรบหลักของกองทัพเรือไทย


สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ


19 ธันวาคม พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) - สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 1 (ในภาพ) กลับคืนสู่ราชบัลลังก์ หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระโอรส สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งกรีซฅสมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 เนื่องจากถูกลิงทรงเลี้ยงกัดและเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – ยูจีน เซอร์แนน โรนัลด์ อีแวนส์ และแฮร์ริสัน ชมิตต์ นักบิน ยานอะพอลโล 17 เดินทางกลับสู่โลก นับจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์อีกเลย
19 ธันวาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) – สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหราชอาณาจักร ลงนามในปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ ในแผนการส่งมอบฮ่องกงคืนให้จีนในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
19 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – ภาพยนตร์เรื่อง ไททานิก เริ่มเข้าฉายเป็นวันแรก และกลายเป็นภาพยนตร์ซึ่งทำเงินได้สูงสุดตลอดกาล ด้วยมูลค่า 1.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา ผ่านความเห็นชอบพิจารณาถอดถอนประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน ออกจากตำแหน่ง จากคดีลูวินสกี

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 18 ธันวาคม ในอดีต

18 ธันวาคม: วันสาธารณรัฐในไนเจอร์ (พ.ศ. 2501)


ฮานนิบาล


18 ธันวาคม พ.ศ. 326 (218 ปี ก่อนคริสตกาล) – สงครามพิวนิกครั้งที่สอง: แม่ทัพชาวคาร์ธาจิเนียน ฮานนิบาล (ในภาพ) นำทัพออกรบได้ชัยชนะครั้งใหญ่ต่อกองทัพโรมันในสมรภูมิเทรบเบีย
18 ธันวาคม พ.ศ. 1814 (ค.ศ. 1721) – ประมุขจักรวรรดิมองโกล กุบไล ข่าน ก่อตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นปกครองดินแดนซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมจีนและมองโกเลียในปัจจุบัน
18 ธันวาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – อินโดนีเซียรุกรานดัตช์นิวกินีเพื่อผนวกปาปัวตะวันตกบนเกาะนิวกินีมาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ
18 ธันวาคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – นักดาราศาสตร์ค้นพบ เอพิมีเทียส หนึ่งในดาวบริวารของดาวเสาร์ แต่ถูกเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเจนัส ดาวบริวารอีกดวงหนึ่งเป็นเวลา 12 ปี เนื่องจากวงโคจรแทบจะซ้อนทับกัน
18 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) – แลร์รี วอลล์ เผยแพร่ภาษาเพิร์ลในกลุ่มข่าวต่อสาธารณชน

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 17 ธันวาคม ในอดีต

วันนี้ 17 ธันวาคม

17 ธันวาคม พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) – สงครามกลางเมืองอเมริกา: นายพลยูลีสซีส เอส. แกรนต์ ประกาศคำสั่งเนรเทศชาวยิวออกจากเทนเนสซี มิสซิสซิปปี และเคนทักกี
17 ธันวาคม พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์เกษตรศาสตร์ให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย
17 ธันวาคม พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) – พี่น้องตระกูลไรต์ ประสบความสำเร็จในการบินด้วยเครื่องบินแบบปีกคงที่เป็นครั้งแรก
17 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – แอนิเมชันซิตคอมชุด The Simpsons ออกอากาศเป็นครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์เครือข่ายฟอกซ์
17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – มีพระบรมราชโองการฯ แต่งตั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 16 ธันวาคม ในอดีต

16 ธันวาคม: วันชาติในบาห์เรน (พ.ศ. 2514), วันแห่งชัยชนะในบังคลาเทศ (พ.ศ. 2514); วันเอกราชในคาซัคสถาน (พ.ศ. 2534); วันกีฬาแห่งชาติในประเทศไทย

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์


16 ธันวาคม พ.ศ. 2141 (ค.ศ. 1598) – กองทัพเรือภายใต้บัญชาการของแม่ทัพเรือชาวเกาหลี ลี ซุนชิน เอาชนะกองทัพเรือญี่ปุ่นในยุทธนาวีโนลยาง ยุทธนาการครั้งสุดท้ายของสงครามรีมจิน

16 ธันวาคม พ.ศ. 2196 (ค.ศ. 1653) – รัฐผู้พิทักษ์: โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (ในภาพ) ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้พิทักษ์ของเครือจักรภพแห่งอังกฤษ
16 ธันวาคม พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) – เกิดเหตุการณ์กรณีชาที่บอสตัน เมื่อชาวอาณานิคมทำลายชาของอังกฤษ เนื่องจากความไม่พอใจจากการถูกเก็บภาษี
16 ธันวาคม พ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893) – ผลงานซิมโฟนีหมายเลข 9 ของคีตกวีชาวเช็ก อานโตนิน ดโวชาค ถูกนำแสดงครั้งแรกในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
16 ธันวาคม พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพเยอรมันเริ่มการโจมตีครั้งสุดท้ายในแนวรบด้านตะวันตก ใน
16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) – พันเอกหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของไทย ต่อจากพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 ของสหประชาชาติ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญทอง แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พระราชทานเหรียญทองแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ในการแข่งขันเรือใบ ในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ณ สนามศุภชลาศัย

16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค และเป็นเรือใบที่ทรงต่อเอง ในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ณ สนามศุภชลาศัย ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันกีฬาแห่งชาติ
16 ธันวาคม พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) – โอเปกตัดสินใจเพิ่มราคาปิโตรเลียม 10% ในการประชุมที่เกาะบาหลี

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 14 ธันวาคม ในอดีต

14 ธันวาคม:


14 ธันวาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) – นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน มักซ์ พลังค์ นำเสนอกฎการแผ่รังสีของวัตถุดำ
14 ธันวาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – นักสำรวจชาวนอร์เวย์ โรอัลด์ อะมุนด์เซน (ในภาพ) และคณะสำรวจอีก 4 คน เป็นกลุ่มบุคคลแรกซึ่งเดินทางถึงขั้วโลกใต้
โรอัลด์ อะมุนด์เซน


14 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - สงครามมหาเอเชียบูรพา: จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย ลงนามในเอกสารหลักการร่วมยุทธระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
14 ธันวาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ประเทศชิลีจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี โดย แพทริซิโอ อัลวิน เป็นประธานาธิบดีคนใหม่
14 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - สงครามยูโกสลาเวียยุติลงหลังการลงนามในข้อตกลงเดย์ตัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 10 ธันวาคม ในอดีต


10 ธันวาคม: วันสิทธิมนุษยชน; วันรัฐธรรมนูญในประเทศไทย (พ.ศ. 2475), วันธรรมศาสตร์

สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร

10 ธันวาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) - ไฟจราจรแห่งแรก ถูกติดตั้งนอกอาคารรัฐสภา ในกรุงลอนดอน
10 ธันวาคม พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1901) - พิธีมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันครบรอบการถึงแก่กรรมของนักเคมีและนักอุตสาหกรรมชาวสวีเดน อัลเฟรด โนเบล
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ให้แก่คณะราษฎร ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยและระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
10 ธันวาคม พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) - สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 (ในภาพ) สละราชสมบัติ นับเป็นพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษเพียงพระองค์เดียวที่สละราชสมบัติ
10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศรับรอง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อันเป็นตัวแทนการแสดงถึงสิทธิติดตัวที่มนุษย์ทั่วโลกสมควรได้รับ เป็นครั้งแรก

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 9 ธันวาคม ในอดีต

9 ธันวาคม: วันประกาศเอกราชในแทนซาเนีย (พ.ศ. 2504); วันกองทัพในเปรู

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา



9 ธันวาคม พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) — หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของนครนิวยอร์ก อเมริกัน มิเนอร์วา ถูกก่อตั้งขึ้นโดยนักพจนานุกรมชาวอเมริกัน โนอาห์ เว็บสเตอร์
9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) — นักการเมืองชาวไทย พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการราษฎร สมัยแรก
9 ธันวาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) — สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง: กองทัพญี่ปุ่น ภายใต้การบัญชาการของพลโท อะซากะ ยะชูฮิโกะ เริ่มการโจมตีเมืองนานกิง อดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน
9 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) — สืบเนื่องจากการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก "การพิจารณาคดีหมอ" เกี่ยวกับอาชญากรรมการทดลองมนุษย์โดยนาซีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มต้นขึ้นในเมืองเนิร์นแบร์ก เยอรมนี
9 ธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) — คณะกรรมการองค์การอนามัยโลก ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง รับรองการหมดไปของฝีดาษ นับเป็นโรคติดต่อในมนุษย์เพียงชนิดเดียวจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถูกกำจัดจากธรรมชาติโดยสมบูรณ์

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 7 ธันวาคม ในอดีต

7 ธันวาคม: วันธงกองทัพในอินเดีย

เรือรบแอริโซนาอับปางลง ณ อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484

7 ธันวาคม พ.ศ. 500 (43 ปีก่อนคริสตกาล) - ซิเซโร นักพูดและนักเขียนกลอนคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโรม ถูกลอบสังหาร

7 ธันวาคม พ.ศ. 2275 (ค.ศ. 1732) – วันเปิดโรงอุปรากร Royal Opera House ณ ย่านโคเวนต์การ์เดน กรุงลอนดอน แคว้นอังกฤษ

7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพเรือญี่ปุ่นโจมตีฉับพลัน ณ เพิร์ลฮาร์เบอร์ ในฮาวาย (ในภาพ) โดยพยายามทำลายกองเรือแปซิฟิกสหรัฐอเมริกา

7 ธันวาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – ทหารอินโดนีเซีย กว่า 35,000 นาย ถูกส่งไปรุกรานติมอร์ตะวันออก นับเป็นปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย

7 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – ยานกาลิเลโอ ขององค์การนาซา ถึงดาวพฤหัสบดี หลังจากใช้เวลาเดินทางนานกว่า 6 ปี นับจากถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยกระสวยอวกาศแอตแลนติส

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 5 ธันวาคม ในอดีต

5 ธันวาคม: วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ตราสัญลักษณ์ 80 พรรษาในภาพ) , วันชาติ, วันพ่อแห่งชาติในประเทศไทย และวันอาสาสมัครสากล

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา

5 ธันวาคม พ.ศ. 2035 (ค.ศ. 1492) - คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางถึงเกาะฮิสแปนิโอลา (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศเฮติและสาธารณรัฐโดมินิกัน)

5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา


5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทย หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระอิสริยยศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันนี้ 3 ธันวาคม ในอดีต

3 ธันวาคม: วันคนพิการสากล

3 ธันวาคม พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - กระทรวงทหารเรือออกคำสั่งให้เรียกเรือรบและเรือช่วยรบทั้งหมด (เว้นเรือยามฝั่งและเรือพระที่นั่ง) ว่า "เรือหลวง" โดยใช้คำย่อว่า ร.ล.


เรือรบหลวงจักรีนฤเบศ



3 ธันวาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) - ทีมศัลยแพทย์นำโดยคริสเตียน บาร์นาร์ด แห่งโรงพยาบาลที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในการปลูกถ่ายหัวใจในมนุษย์

3 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - ยานไพโอเนียร์ 10 ส่งภาพถ่ายระยะใกล้ภาพแรกของดาวพฤหัสบดีมาถึงโลก

ยานไพโอเนียร์ 10



ดาวพฤหัสบดี


3 ธันวาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - เกิดอุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหลในโรงงานที่เมืองโภปาล รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 15,000 คน บาดเจ็บนับแสนคน เป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการอุตสาหกรรม

3 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - สัญญาณวิทยุจากยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ (ในภาพ) ของนาซา ขาดหายไปไม่นานก่อนที่ยานจะเข้าสู่บรรยากาศดาวอังคาร

ยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทำไมหน้าหนาว กลางวันจะสั้นกว่ากลางคืน


หน้า หนาวกลางวันสั้น กลางคืนยาว จึงมืดเร็ว ส่วนหน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน จึงมืดช้า สาเหตุมาจากแกนโลกเอียง และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในฤดูหนาวขั้วโลกเหนือเบนออกจากดวงอาทิตย์ทำให้ซีกโลกเหนือมีกลางวันสั้น กว่ากลางคืน ในฤดูร้อนขั้วโลกเหนือเบนเข้าหาดวงอาทิตย์ทำให้ซีกโลกเหนือมีกลางวันยาวกว่า กลางคืนดังกล่าวแล้วแกนโลกจะเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ โดยในรอบ 1 ปี จะมีการแบ่งโซนการหันเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์เป็น 12 โซน ก็คือ 12 เดือน โดยเริ่มจากเดือน มกราคม จะหันเอียงโซนไต้ของโลกเข้าหาดวงอาทิตย์ บรรยากาศในโซนนั้น เช่นทวิป อันทากติก ก็จะอุ่น คือหน้าร้อน จะเห็นพระอาทิตย์เกือบ 24 ชั่วโมง ส่วนทางเหนือของโลก ที่เรียวว่าขั้วโลกเหนือ จะไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะความกลมของโลกระดับเส้นศูนย์สูตร บดบัง แต่ยังพอเห็นความสว่างเพีงแค่รำไร แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ก็จะเห็นพระอาทิตย์น้อยลง ขึ้นอยู่ว่าไกลใกล้กับส้นศูนย์สูตรเท่าใด เช่น ประเทศในแถบเอเซีย เช่นประเทศไทย จะเริ่มเห็นพระอาทิตย์ประมาณ 6 โมงครึ่ง พระอาทิตย์ตก 6 โมง ประเทศทางแถบยุโรป พระอาทิตย์จะขึ้น ก็ 10 โมงเช้า พอ 3 โมงเย็นก็หายไปแล้วเดือนกุมภาพันธ์ พระอาทิตย์ก็จะมาอยู่แถวๆ ออสเตรเลีย มีนาคม ก็จะมาอยู่เหนือประเทศฟิลิปินส์ เมษายน ก็จะมาอยู่เหนือประเทศไทย พฤษภาคม ก็จะไปอยู่เหนืออินเดีย มิถุนายน ก็จะอยู่เหนือเมืองจีน ทางโน้นก็ร้อนตับแตก ตี 3 พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว กว่าจะลับฟ้าก็ 4 ทุ่ม ส่วนที่ขั้วโลกเหนือ ก็จะเห็นพระอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เหมือนขั้วโลกใต้ เพราะแกนโลกเอียง 11 เปอร์เซ็นต์ แล้วแนวพระอาทิตย์ก็จะไล้ลงใต้อีก ผ่านประเทศไทยอีกครั้งก็เดือนสิงหาคม แต่ตอนนั้นมันไม่ร้อนบ้าเลือดอย่างเดือนเมษาเพราะเป็นหน้าฝน ยังพอมีน้ำฝนและเมฆบดบังแสงอาทิตย์ได้บ้าง ลองเอาส้มหรือลูกบอลล์ มาทดลองกับหลอดไปดู เอาแกนใต้หันเข้าหา และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแกนเหนือ ในขณะที่หมุนลูกทรงกลมนี้ไปเรื่อยๆ จะได้คำตอบว่าทำไมหน้าหนาว กลางคืนสั้นกว่ากลางวันและหน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 2 ธันวาคม ในอดีต

2 ธันวาคม: วันชาติในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (พ.ศ. 2513) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (พ.ศ. 2518)
เอนรีโก แฟร์มี

2 ธันวาคม พ.ศ. 2347 (ค.ศ. 1804) - นโปเลียน โบนาปาร์ต สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิฝรั่งเศส ณ มหาวิหารนอเตอร์ดัม ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

2 ธันวาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำพิธีปฐมกรรมในพระบรมมหาราชวัง แล้วเสด็จฯ ไปร่วมการชุมนุมทหารที่สนามหลวง ฉลองชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

2 ธันวาคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - โครงการแมนแฮตตัน : นักวิทยาศาสตร์นำโดยเอนรีโก แฟร์มี (ในภาพ) ประสบความสำเร็จในการทดลองปฏิกิริยาลูกโซ่ ด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ณ มหาวิทยาลัยชิคาโก

2 ธันวาคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม พร้อมด้วยนายทหารชั้นผู้ใหญ่ เข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายพระคทาจอมพลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เนื่องในวโรกาสที่มีพระชนมพรรษาเข้าปีที่ 40 และขอพระบรมราชานุญาตขนานนามพระคทาองค์ใหม่เป็นพิเศษว่า พระคทาจอมทัพภูมิพล

2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - พรรคปฏิวัติประชาชนลาว นำโดย ไกสอน พมวิหาร ล้มล้างระบอบราชาธิปไตย และสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภาพไกสอน พมวิหาร เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

“ผิวหนัง” ฟังเสียงได้!!

นอกจากน้ำเสียงและท่าทางแล้ว นักนักวิจัยแคนาดายังพบว่า ประสาทสัมผัสทางผิวหนังยังเป็นอีกปัจจัยในการฟัง โดยอากาศจากคำพูดนั้น ช่วยกำหนดให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่า คำพูดที่ส่งมานั้นคืออะไร ผู้เชี่ยวชาญชี้การค้นพบนี้อาจช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาในการฟังได้

ไม่เพียงแค่เสียงที่ช่วยให้ได้ยิน แต่ลมปากก็ทำให้คำฟังจำแนกความแตกต่างของเสียงได้ (ภาพประกอบจากเอเอฟพี)


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สีหน้าของผู้พูดนั้นมีผลต่อความเข้าใจของผู้ฟังด้วย แต่การศึกษาล่าสุดของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (University of British Columbia) ในแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ (Nature) นั้นได้พยายามหาคำตอบว่า ประสาทสัมผัสมีผลต่อสิ่งที่ได้ยินอย่างไรบ้าง

บีบีซีนิวส์ระบุว่า ทีมวิจัยได้เปรียบเทียบเสียงของคำที่ถูกพูดออกมาพร้อมกับลมปากเล็กๆ ซึ่งไม่อาจได้ยินได้ อย่างเช่นคำว่า “พา” (pa) และ “ทา” (ta) กับ คำว่า “บา” (ba) และ “ดา” (da) โดยอาสาสมัครจะได้รับสัมผัสของคำดังกล่าว ที่หลังมือหรือลำคอ กับฟังเสียงเดียวกันโดยไม่ได้รับสัมผัสลมปาก

ทีมวิจัยพบว่า เสียง “บา” และ “ดา” ซึ่งทราบกันว่าเป็นคำที่ไม่พ่นลมปากออกมาด้วยนั้น ผู้ฟังแยกแยะได้เช่นเดียวเสียงที่ต้องพ่นลมปากอย่าง “พา” และ “ทา” โดยผู้ฟังต้องได้รับสัมผัสจากคำพูดควบคู่ด้วย ซึ่งการค้นพบนี้ชี้ว่าคนเรานั้นใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัส ควบคู่ไปกับสัญญาณทางสีหน้าเพื่อถอดรหัสคำพูดที่ออกมา

สำหรับความรู้ ซึ่งเพิ่มเติมความเข้าใจเรื่องเสียงนี้ ทีมวิจัยกล่าวว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความช่วยเหลือด้านการสื่อสารแก่ ผู้ที่มีการได้ยินบกพร่อง โดย ดร.ไบรอัน กิค (Dr.Bryan Gick) หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่าทีมวิจัยของเขานั้น ได้พัฒนาความช่วยเหลือด้านการได้ยินซึ่งสัมพันธ์กับสิ่งที่เพิ่งค้นพบ

“ทั้ง หมดที่เราต้องการคือเครื่องอุปกรณ์อัดลม ที่สามารถผลิตลมปากไปที่คอในจังหวะเวลาที่เหมาะสม โดยทำงานขึ้นกับสิ่งที่ใส่เข้าไปในอุปกรณ์ช่วยฟัง จากนั้นก็เป็นชุดการทดลองเพื่อทดสอบความแม่นยำ” ดร.กิคกล่าว

ด้าน ดร.ราฟ โฮล์ม (Dr Ralph Holme) ผู้อำนวยการการวิจัยชีวเวชศาสตร์ของมูลนิธิคนหูหนวกและการได้ยินบกพร่องแห่ง อังกฤษ (The Royal National Institute for Deaf People: RNID) ให้ความเห็นกับทางบีบีซีนิวส์ว่า เป็นที่ทราบกันดีถึงการอ่านท่าทางบนใบหน้า อย่างการอ่านริมปาก นั้นช่วยให้คนที่สูญเสียการได้ยินนั้นฟังเข้าใจได้

“อย่าง ไรก็ดีพยัญชนะภาษาอังกฤษอย่าง b กับ p และ t กับ d นั้น มีรูปแบบริมปากที่เหมือนกัน ซึ่งความเป็นไปได้ว่าลมปากที่สัมผัสผิวหนังจะช่วยให้คนฟังจำแนกความแตกต่าง ได้นั้นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอย่างมาก และหากมีงานวิจัยมากกว่าที่แสดงให้เห็นผลอย่างเดียวกัน เมื่อฟังการสนทนาประจำวันในชีวิตจริง ก็จะช่วยพัฒนาความช่วยเหลือในการได้ยินมากขึ้น”

ส่วน ดร.เดบอราห์ เจมส์ (Dr.Deborah James) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ ด้านการศึกษาเรื่องเด็กและครอบครัว จากหน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (National Biomedical Research Unit in Hearing) ด้านการได้ยินนั้น กล่าวว่า เสียงที่สัมพันธ์กับลมเบาที่พ่นออกมานั้น จะช่วยให้เด็กๆ แยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงเริ่มต้นและลงท้ายของคำได้

“เรากำลังสำรวจการพัฒนาแรกสุดในการรับรู้การพูดด้วยเสียงและภาพ สำหรับเด็กที่เป็นทารกซึ่งมีความยากลำบากในการฟัง หรือบางทีเราอาจจะลองหาคำตอบว่าเด็กทารกตอบสนองต่อลมปากตามธรรมชาติที่พ่อ -แม่ทำขึ้นมาเมื่ออยู่ใกล้ชิดลูกระหว่างการสนทนาแรกๆ ของช่วงวัย” ดร.เจมส์กล่าว

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 1 ธันวาคม ในอดีต

1 ธันวาคม: วันเอดส์โลก

1 ธันวาคม พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ จังหวัดปราจีนบุรี เทศาภิบาลเมืองฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรูปครุฑสัมฤทธิ์หุ้มทอง ซึ่งขุดได้ที่ ตำบลโคกพระ ต่อมาใช้เป็นยอดธงมหาไพชยนต์ธวัชประจำกองทัพบก

1 ธันวาคม พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) - กระทรวงกลาโหม เปลี่ยนนามหน่วย กรมอากาศยานทหารบก เป็น กรมอากาศยาน ปัจจุบันยกฐานะเป็นกองทัพอากาศ

1 ธันวาคม พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รับนักศึกษารุ่นแรก เปิดสอน 3 สาขาวิชา

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันนี้ 30 พฤศจิกายน ในอดีต

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) - มหาสงครามเหนือ: กองทัพสวีเดน 8,500 นาย ภายใต้การนำของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 12 สามารถเอาชนะกองทัพที่เหนือกว่าของรัสเซียภายใต้การนำของซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ในยุทธการนาร์วา

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) - การแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศครั้งแรกมีขึ้น ณ เมืองกลาสโกว์ ระหว่างทีมชาติสกอตแลนด์และทีมชาติอังกฤษ


วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - สงครามฤดูหนาว ปะทุ เมื่อกองทัพแดงของสหภาพโซเวียตรุกรานฟินแลนด์ และทำการรุกจนถึงแนวแมนเนอร์ไฮม์อย่างรวดเร็ว สันนิบาติชาติตัดสินว่าพฤติการณ์ดังกล่าวผิดกฎหมาย


วันที่ 30 พฤศจิกายนพ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - นักการทูตชาวพม่า อู ถั่น (ในภาพ) ได้รับเสียงสนับสนุนจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ


วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - การชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์ เกิดขึ้นที่เมืองซีแอตเติล สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้พิธีเปิดการประชุมจำเป็นต้องถูกยกเลิก

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

น้ำบนดวงจันทร์ กับการแสวงหาพิภพใหม่ของมนุษยชาติ


หลังจากโลกย่อยยับนับครั้งไม่ถ้วน ตามปริมาณรอบฉายของภาพยนตร์โลกแตก ‘2012’ เราไม่อาจรู้ได้ว่าความหวาดผวาของผู้คนพุ่งสู่ระดับไหนหรือว่ามองเป็นเรื่อง ขำๆ เพราะก่อนหน้านี้ ต้องบอกว่าวิธีการปั่นกระแสหนังของเขาแรงจริงๆ ขนาดว่า องค์การนาซา หรือ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ยังต้องออกมาประกาศว่ายังไงๆ ปี 2555 โลกก็ยังไม่แตก

ห้วงเวลาไล่เลี่ยกัน ข่าวการค้นพบน้ำบนดวงจันทร์ของนาซาถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ของมนุษยชาติ ฉุดดึงเอาจินตนาการของผู้คนที่ค้างคาจากนิยายวิทยาศาสตร์ว่า อีกไม่นาน (ซึ่งไม่รู้ว่าแค่ไหน) มนุษย์อาจจะได้เดินทางไปอยู่อาศัยในพิภพใหม่ที่เรียกกันว่า ดวงจันทร์

เพื่อลดความหวาดผวาจากคำทำนายของชาวมายัน จะชวนไปตรวจสอบดูว่า การแสวงหาพิภพใหม่ บ้านใหม่ของมนุษยชาติเขาพัฒนาไปถึงไหนแล้ว

โครงการ ‘แอลครอสส์’

เมื่อในวันที่ 9 ตุลาคม ปี 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งอีกไม่กี่วันก็จะถึงวันไหว้พระจันทร์ของชาวจีน องค์การนาซาและประชากรโลกส่วนหนึ่ง ก็กำลังตื่นเต้นกับภารกิจการค้นหาน้ำบนดวงจันทร์

โครงการนี้ เป็นโครงการยักษ์ใหญ่ของนาซา ซึ่งใช้ชื่อว่าโครงการแอลครอสส์ (LCROSS-Lunar CRater Observation and Sensing Satellite) โดยนาซาทุ่มทุนให้โครงการนี้มากถึง 79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,686 ล้านบาท) ในการนำจรวดพุ่งเข้าชนดวงจันทร์ เพื่อสำรวจหาน้ำหรือโมเลกุลของน้ำใต้พื้นผิวดวงจันทร์

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการนั้น แอนโทนี่ โคลาแพรต หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์โครงการแอลครอสส์ เปิดเผยว่า เมื่อเดือนตุลาคมนาซาได้ปล่อยจรวดเซนทอร์ น้ำหนัก 2,200 กิโลกรัม กับดาวเทียมแอลครอสส์ เข้าพุ่งชนหลุมคาเบียส บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ เพื่อค้นหาน้ำใต้พื้นผิว และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลของเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ ที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียมแอลครอสส์นั้น ได้ส่งข้อมูลกลับมายังฐานของนาซาบนพื้นโลก



ซึ่งเมื่อนำผลที่ได้มาประกอบกับการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากอุปกรณ์อื่นๆ ก็พบว่า แรงระเบิดจากการพุ่งชนทำให้มองเห็นน้ำแข็งและไอน้ำพวยพุ่งออกมาจากปากหลุม ที่มีขนาด 20-30 เมตร เบื้องต้นเชื่อว่า น้ำตรงจุดนี้มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม

"การ พบแหล่งน้ำ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะนำนักบินอวกาศลงไปตั้งฐานบนดวงจันทร์ และสร้างแรงจูงใจให้รัฐบาลสหรัฐฯ ในการหันมาสำรวจดวงจันทร์อย่างจริงจังในอนาคตอันใกล้" โคลาแพรตระบุ

ส่วน ปีเตอร์ ชูลซ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยบราวน์และผู้ร่วมงานในโครงการแอลครอสส์ กล่าวว่า

"เรา ตื่นเต้นมากกับการค้นพบน้ำบนดวงจันทร์ เพราะเราเพิ่งเริ่มต้นระเบิดจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งเท่านั้น ว่าไปแล้วก็เหมือนกับเวลาขุดค้นหาน้ำมันบนพื้นโลก เมื่อไหร่ก็ตามที่พบน้ำในจุดนั้น ก็มีโอกาสสูงจะพบน้ำมันมากขึ้นอีกในจุดข้างเคียง"

แน่นอนว่า การค้นพบเล็กๆ ครั้งนี้ ย่อมทำให้นาซาและรัฐบาลสหรัฐฯ ตื่นตัวกับการค้นหาน้ำบนดวงจันทร์มากขึ้น ซึ่งในการแถลงข่าวสั้นๆ ณ NASA Ames Research Center ของโครงการนี้ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า พวกเขากำลังมีเป้าหมายในการค้นหาน้ำในพื้นที่อื่นๆ อีก

สุดท้ายแล้ว ถึงแม้ ไมเคิล เวอร์โก หัวหน้าฝ่ายนักวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์ ของสำนักงานใหญ่นาซา จะออกมาบอกว่าการค้นพบครั้งนี้อาจเป็นกุญแจสำหรับการค้นพบวิวัฒนาการของระบบ สุริยจักรวาลและการสำรวจดวงจันทร์ แต่ก็เชื่อว่าเป้าหมายของนาซา คงไม่หยุดอยู่ที่การสำรวจเพียงเพื่อที่จะ 'รู้' แน่นอน



ดวงจันทร์ พิภพใหม่ของมนุษยชาติ

ใช่, การค้นพบน้ำบนดวงจันทร์ ย่อมไม่ได้แปลง่ายๆ ว่ามนุษย์ค้นพบน้ำบนดวงจันทร์ แต่มีความหมายแฝงที่ไกลกว่า มันหมายถึงอนาคตที่ดวงจันทร์จะเป็นพิภพแห่งใหม่ของมนุษยชาติ และไกลกว่าไกลยิ่งกว่านั้น ดวงจันทร์จะเป็นเสมือนหน้าด่านแห่งการสำรวจระบบสุริยจักรวาล การสำรวจดาวอังคาร การสำรวจดวงจันทร์ไตตัน บริวารของดาวเสาร์ และในอนาคตอันไกล สถานที่ที่เอ่ยชื่อเหล่านี้อาจหมายถึงพิภพแห่งใหม่ที่มนุษย์จะไปอาศัยอยู่

รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล นักวิทยาศาสตร์ นักเขียน และนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ดีเด่นปี 2538 บอกว่า ขั้นตอนต่อจากนี้ คือการตรวจสอบ วิเคราะห์ผลที่ได้ให้ชัดเจนกว่านี้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนนำมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์ ภายในปี 2563 ของสหรัฐฯ ซึ่งอาจหมายถึงการตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์

“การพบน้ำบอกอะไรเราหลายอย่าง เมื่อปี 2512 เราส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ครั้งแรก และต่อๆ มา แต่ทำไมเพิ่งมาเจอ คือทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องน้ำบนดวงจันทร์ที่ค่อนข้างเป็นทฤษฎีหลัก คือดวงจันทร์ไม่มีน้ำด้วยตัวเอง น้ำบนดวงจันทร์เกิดเองไม่ได้

“แล้ว น้ำบนดวงจันทร์มาจากไหน ตอนนี้ทฤษฎีที่ใช้กันมากคือน้ำมาจากการที่ดวงจันทร์ถูกชนโดยดาวหาง ข้อมูลที่เรามีตอนนี้ อย่างเช่น ทำไมโครงการอพอลโลที่ส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ตั้ง 12 คน จึงไม่พบน้ำ ก็เพราะว่าตำแหน่งที่โครงการอพอลโล่ไปลงนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่แถบขั้วเหนือหรือใต้ของดวงจันทร์ และที่น้ำยังคงอยู่ได้ที่ขั้วเหนือ-ใต้ของดวงจันทร์ก็เพราะมันอยู่ตรงก้น หลุมอุกกาบาตที่แสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง”

ความสำคัญของการค้นพบน้ำบนดวงจันทร์คืออะไร
รศ.ดร.ชัยวัฒน์ อธิบายว่า การที่มนุษย์จะวางแผนไปดวงจันทร์ จำเป็นต้องนำน้ำไปด้วย แต่ระยะยาว น้ำบนดวงจันทร์จะทำให้มนุษย์สามารถมีวัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำ เพราะนอกจากน้ำจะเอาไว้ใช้ดื่มกินแล้ว มันยังสามารถเป็นเชื้อเพลิงได้ เพราะเมื่อแยกน้ำออกมา เราจะได้ออกซิเจนกับไฮโดรเจน ซึ่ง รศ.ดร.ชัยวัฒน์เชื่อว่า มีแนวโน้มที่ดวงจันทร์จะเป็นที่ที่มนุษย์จะแย่งกันไป

ว่าแต่ว่า มนุษย์จะไปอยู่บนดวงจันทร์กันอีท่าไหน เพราะแม้ว่าสภาพบนดวงจันทร์จะเหมือนโลกมาก แต่ก็ไม่มีน้ำ ไม่มีบรรยากาศ แห้งแล้ง ส่วนที่ร้อนจะร้อนจัด ส่วนที่หนาวจะหนาวจัด มีเวลากลางวันและกลางคืนที่ยาวนาน 1 วันหรือ 1 คืนของดวงจันทร์เท่ากับเวลา 14 วันของโลก และยังมีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าโลกเรา 6 เท่า
แนวทางที่เป็นไปได้ตามศักยภาพเทคโนโลยีของมนุษย์ตอนนี้ การจะตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์คงต้องเป็นการสร้างเมืองหรือโดมปิด ที่มีการปรับสภาพอากาศ ความดัน และอุณหภูมิภายใน แต่เมื่อใดที่คิดจะออกมาเดินเล่นข้างนอกโดมก็จำเป็นต้องใส่ชุดอวกาศ

แต่ ถ้าจะถึงขั้นสร้างชั้นบรรยากาศขึ้นมา ไม่ต้องอยู่ในโดมปิด ไม่ต้องใส่ชุดอวกาศ เดินยงโย่ยงหยก รศ.ดร.ชัยวัฒน์ บอกว่าถือเป็นเรื่องยากมากๆ

ดวงจันทร์ จุดเริ่มต้นของการสำรวจระบบสุริยจักรวาล

แต่ความฝัน จินตนาการ และศักยภาพของมนุษย์ไม่ได้หยุดลงเพียงเท่านี้ ดังที่กล่าวตอนต้น ดวงจันทร์เป็นเพียงหน้าด่าน ดาวอังคารต่างหากคือสิ่งที่มนุษย์กำลังมุ่งไป

“ดาวอังคารคือเป้าหมายที่ใหญ่กว่า เนื่องจากบนดาวอังคารมีสภาพคล้ายโลก มีบรรยากาศ แต่การจะเดินทางจากโลกไปดาวอังคาร ตอนนี้มี 2 แนวทางคือ หนึ่ง-อาศัยสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งมันก็มีอายุไม่ถึงอยู่ดี ต้องส่งชุดใหม่ขึ้นไปอีก หรือสอง-ใช้ดวงจันทร์นี่แหละเป็นฐาน เป็นหน้าด่านที่จะเดินทางต่อไปยังดาวอังคาร เพราะว่าดวงจันทร์ขนาดเล็กและเวลาขึ้นจากดวงจันทร์จะง่ายกว่า” รศ.ดร.ชัยวัฒน์ อธิบาย

แต่การตั้งถิ่นฐานบนดาวอังคารจะง่ายกว่าบนดวงจันทร์ แม้จะยังต้องสร้างโดมปิดเหมือนกัน เพราะบรรยากาศของดาวอังคารถึงจะมีมากกว่าบนดวงจันทร์ แต่ก็เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ แต่ดาวอังคารมีขนาดเล็กกว่าโลกประมาณครึ่งหนึ่ง และแรงดึงดูดที่ใกล้เคียงกับโลก

เท่านั้นยังไม่พอ ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังสนใจดวงจันทร์ไตตัน บริวารของดาวเสาร์ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าโลกมาก แต่กลับมีบรรยากาศที่หนาแน่นกว่า ซึ่งดวงจันทร์จะเป็นก้าวแรกของการสำรวจระบบสุริยะที่ไกลออกไปจากดาวอังคาร วันข้างหน้ามนุษย์อาจจะไปเหยียบดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่ไกลออกไป



“นัก วิทยาศาสตร์คนสำคัญบางคน มองว่าเราต้องไปดวงจันทร์ให้ได้ ถ้าเราจะบุกเบิกระบบสุริยะ เพราะดวงจันทร์เป็นเสมือนเมืองหน้าด่านที่จะทำให้เราไปไหนต่อไหนได้ง่าย”

เราไม่ได้อยู่คนเดียว

อีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กัน หากข้อสันนิษฐานว่า น้ำบนดวงจันทร์มาจากดาวหางที่พุ่งเข้าชนจริง และน้ำคือองค์ประกอบพื้นฐานของชีวิต นั่นหมายความว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่จะมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในอวกาศ และไม่ได้อยู่เพียงดาวดวงเดียว

“ผม อยากจะบอกว่า ตอนนี้ ทฤษฎีโมเลกุลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตที่มากับดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยก็มี ความเป็นไปได้ และน่าจะเป็นส่วนช่วย แปลว่าจริงๆ แล้ว ชีวิตเกิดไม่ยาก เพียงแต่ว่าจะพัฒนาขึ้นมาได้หรือไม่ ผมเชื่อว่าดาวอังคารก็น่าจะเคยมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น แต่ไม่พัฒนา ถ้ามี แสดงว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว วันนี้ ถ้าเราไป เราน่าจะเจอ แต่เจอเป็นฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ระดับแบคทีเรีย”

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะรวมไปถึงสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาเฉกเช่นมนุษย์ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ บอกว่า ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุได้ แต่...

“เรามีหลักฐานอื่นๆ ที่สนับสนุนมากขึ้น” รศ.ดร.ชัยวัฒน์ บอกเล่าข้อมูลที่น่าตื่นเต้น “คือมีการพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นครับ ถ้ามีมนุษย์ต่างดาวจริง เขาต้องอยู่บนดาวเคราะห์ ล่าสุด เพียงชั่วเวลาแค่ 20 ปีที่เราเริ่มค้นหา ตอนนี้ตัวเลขขึ้นไปถึงกว่า 400 ดวงแล้ว และยังจะเจออีกเยอะ เพราะเทคโนโลยีการค้นหากำลังเร่งกันมากทีเดียว สร้างขึ้นมาเพื่อค้นหาดาวเคราะห์โดยตรงเลย โดยเฉพาะดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกเรา”

ถามว่า ที่พูดๆ มานี้ มันก็เป็นเรื่องของประเทศมหาอำนาจที่มีเงินถุงเงินถังทั้งนั้น แล้วประเทศเล็กๆ แถมหนี้จมหูอย่างไทย จะไปเกี่ยวอะไรกับเขาได้ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ บอกว่าโดยปกติ สหรัฐฯ หรือประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป หรือล่าสุด อินเดีย ก็มักมีโครงการร่วมมือ ศึกษา วิจัย อยู่แล้ว ซึ่งถ้าไทยมีความมุ่งมั่นเพียงพอ เราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเหล่านี้ได้ไม่ยาก วันหนึ่งข้างหน้า เราอาจจะมีนักบินอวกาศคนแรกก็ได้ ใครจะรู้


..........

สิ่งที่เราอ่านในนวนิยายวิทยาศาสตร์ถึงการแสวงหาพิภพใหม่ การตั้งถิ่นฐานบนดาวดวงอื่น กำลังจะกลายเป็นจริง

อย่าหาว่าวิตกเกินเหตุ วันหนึ่งข้างหน้า เมื่อมนุษย์ยังมีความโลภมากมาย เช่นที่เผาผลาญโลกเราทุกวันนี้ ‘Star Wars’ สงครามดวงดาวก็คงหนีไม่พ้น การบุกรุกแย่งชิงทรัพยากรและฆ่าฟันสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่น อย่างในภาพยนตร์เรื่อง ‘Avatar’ ก็คงต้องเกิด แล้วเราจะมี 2012 อีกกี่ครั้งกัน

ไม่ว่าจะอยู่ไกลโพ้นกี่ล้านปีแสง มนุษย์ก็คือมนุษย์วันยังค่ำ
……….
เรื่อง : ทีมข่าว CLICK

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 27 พฤศจิกายน ในอดีต

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) – อัลเฟรด โนเบล ได้เขียนพินัยกรรม ว่าหลังจากที่เขาตาย จะมีการให้รางวัลกับบุคคลที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น รางวัลนี้คือ รางวัลโนเบล
รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ 94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)


สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขาเศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ Royal Swedish Academy of Sciences. เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้รับเงินรางวัลจากมูลนิธิโนเบล แต่ได้รับเงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับรางวัลในสาขาอื่น ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกันกับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา ได้รับเหรียญตรา และจำนวนเงินเท่าเทียมกัน ซึ่งในตอนแรกนั้นกษัตริย์ออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศ นี้ให้กับคนต่างชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ารางวัลที่สำคัญ นี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มทำการออกอากาศโทรทัศน์สีเป็นครั้งแรกของเมืองไทย โดยทดลองถ่ายทอดสดรายการประกวดนางสาวไทย จากเวทีบริเวณงานวชิราวุธานุสรณ์ พระราชวังสราญรมย์


บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สองวันก่อนหน้าที่จะร่วมมือกับกองทัพบก เพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์สีตามมติและนโยบายของคณะกรรมการควบคุมวิทยุและ โทรทัศน์กองทัพบก ในสมัยที่ จอมพล ประภาส จารุเสถียรดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เริ่มทำการทดลองออกอากาศโทรทัศน์สี โดยใช้มาตรฐานการออกอากาศ CCIR 625 เส้น ในระบบ PAL เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ด้วยการ ถ่ายทอดสด การประกวดนางสาวไทย ที่จัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานวชิราวุธานุสรณ์ จากพระราชวังสราญรมย์ โดยใช้ชื่อว่า “สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7”

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กูเกิลจับแผนที่จราจรไทยแสดงข้อมูลขนส่งมวลชนที่แรกในโลก


กูเกิลร่วมมือหน่วยงานคมนาคมขนส่งทางบกในกรุงเทพฯ เปิดบริการใหม่แสดงข้อมูลการเดินทางผ่านบริการขนส่งมวลชนแห่งแรกของโลก และสภาพการจราจรเป็นประเทศที่ 8 ของโลก เชื่อเป็นการผลักดันให้นักเดินทางสามารถเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศได้ สะดวกมากขึ้น

แอนดรู แมคกลินชีย์ หัวหน้าฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ กูเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า หลังจากทางกูเกิลเปิดให้บริการแผนที่พร้อมนำทางสำหรับประเทศไทยเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่ามียอดผู้เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก ทางกูเกิลมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรภายในประเทศเพื่อ อำนวยความสะดวกในการใช้งานในการใช้งานแผนที่ของกูเกิล

"จาก ยอดจำนวนผู้ใช้งานที่มากขึ้นแม้ว่าจะไม่สร้างรายได้ให้กับทางกูเกิลโดยตรง จากจำนวนผู้เข้าใช้งาน แต่อย่างที่รับรู้กันว่ารายได้ส่วนใหญ่ของกูเกิลมาจากโฆษณาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเว็บไซต์ ดังนั้นการให้บริการต่างๆ ที่ทางกูเกิลพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองผู้บริโภคอย่างแท้จริง"

พรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทย กุเกิล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ข้อมูลถึงบริการดังกล่าวว่า เป็นการร่วมมือกันของทางภาครัฐและเอกชนที่ช่วยให้ทางกูเกิลสามารถเข้าถึง ข้อมูลทางด้านการคมนาคม โดยในเบื้องต้นจะเปิดให้บริการภายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลก่อน

"การ เข้ามาร่วมมือกับหน่วยงานคมนาคมขนส่งภายในกรุงเทพฯ ช่วยให้แผนที่ของกูเกิลสามารถแสดงข้อมูลการเดินทางผ่านบริการขนส่งมวลชน รวมไปถึงการแสดงผลสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ ทำให้ผู้บริโภคสามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ในส่วนของการขยายพื้นที่ไปในต่างจังหวัดนั้น ทางเรามองว่าขึ้นอยู่กับพันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมมือในการให้ข้อมูล เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคในท้ายที่สุด"

การที่ทางกูเกิลเลือกประเทศไทยเพื่อเปิดบริการทั้งแผนที่การนำทาง ผ่านบริการขนส่งมวลชนและแสดงสภาพการจราจรภายในกรุงเทพฯมหานครเป็นที่แรกนั้น เกิดขึ้นจากการแข่งขันกันภายในแต่ละภูมิภาคในโลก ซึ่งเมื่อประเทศใดมีความพร้อมก่อนก็จะได้รับสิทธินั้น

ในการร่วมมือกับหน่วยบริการคมนาคมภายในประเทศได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) สำหรับการแสดงสภาพการจราจรแบบทันทีทันใด องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สำหรับข้อมูลป้ายรถเมล์และเส้นทางเดินรถ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงทพ จำกัด (BTS) และ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ (MRT) ในเรื่องข้อมูลสถานีของรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน
data news
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000143236

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 26 พฤศจิกายน ในอดีต

วันนี้ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) – โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ และ ลอร์ดคาร์นาร์วอน เป็นคนกลุ่มแรกในรอบกว่า 3,000 ปีที่เข้าสู่สุสานฝังพระศพของฟาโรห์ตุตันคามุน



ฟาโรห์ ตุตันคามุน (Tutankhamun) หรือ ตุตันคาเมน เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงค์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ ครองราชย์ระหว่าง 1325 - 1334 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า “ตุตันคาเตน” อันหมายถึงเทพอาเตน หรือสุริยเทพอวตารลงมา การบริหารบ้านเมืองจึงตกอยู่กับวิเซียร์ ไอย์ (Vizier Ay) ฟาโรห์ ตุตันคาเมนได้ครองราชย์ในรัชสมัยของพระองค์ช่วงสั้นๆ ราว 9 ปี ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เป็นเพราะฟาโรห์ตุตันคาเมน สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน วิเซียร์ อัยย์จึงได้สร้างสุสานถวายแบบง่าย ๆ

ราวสองร้อยปีต่อมา มีการสร้างสุสานของฟาโรห์รามเสสที่ 6 ทับสุสานของ ฟาโรห์ตุตันคาเมน ทั้ง ๆ ที่คนงานก็รู้แต่นึกว่าเป็นบุคคลธรรมดาจึงไม่ได้เสนอเบื้องบน จึงทำให้สุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมนนี้ ปลอดภัยและนับเป็นสุสานที่สมบูรณ์ที่สุด

ฟาโรห์ตุตันคามุนทรงได้อภิเษกสมรสกับพระนางอันเคเซนามุน พระธิดาพระองค์ที่ 3 จากทั้งหมด 6 พระองค์ในพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งเป็นมเหสีองค์แรกของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 เจ้าหญิงจากมิตันนี (Mitanni) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณทางเหนือของดินแดนเมโสโปเตเมีย

ฟาโรห์ตุตันคาเมน สวรรคตอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆ ที่ยังมีพระชนมายุยังไม่ครบ 19 ชันษา อีกทั้งไม่มีองค์รัชทายาท วิซิเออร์ อัยย์ จึงรีบฉวยโอกาสแต่งกับราชินีม่ายเพื่อจะได้ครอบครองดินแดนอียิปต์ต่อไป
คำสาปของฟาโรห์ตุตันคาเมน

ลอร์ด คาเนวอน ได้ว่าจ้างคณะสำรวจของนายโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เพราะต้องการให้มีการสำรวจสุสานฟาโรห์ เป็นคณะแรกที่ได้เข้าสู่สุสานของตุตันคาเมนในหุบผากษัตริย์ เมืองลักซอร์ ในวันที่ 4 พ.ย. 1922 โดยคาร์เตอร์ใช้เวลาถึง 10 ปี ในการขุดค้นสุสานและค้นพบห้องเก็บพระศพ โลงพระศพที่ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์

สำหรับสุสานฟาโรห์หนุ่มองค์นี้คือ คำสาป ที่นักบวชไอยคุปต์บรรจงสลักไว้ในสุสานของตุตันคาเมน “มรณะจักโบยบินมาสังหารสู่ผู้บังอาจรังควานสันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์” ข้อความที่ขลังและเปี่ยมด้วยอาถรรพณ์นี้ ทำให้มีการตายอย่างน่าพิศวงซึ่งเชื่อกันว่าเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป

ลอร์ด คาเนวอนก็เสียชีวิตขณะพักอยู่ที่โรงแรมในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในเวลาเดียวกันที่บ้านของลอร์ด คาเนวอนที่ประเทศอังกฤษมี สุนัขอยู่หนึ่งตัวซึ่งลอร์ด คาเนวอนได้เลี้ยงไว้ สุนัขตัวนี้ได้ส่งเสียงเห่าหอนในตอนดึกเหมือนกับว่าได้รู้ว่าลอร์ด คาเนวอนเสียชีวิตลงแล้ว หนึ่งปีผ่านไป คนงานในคณะสำรวจของคาร์เตอร์เสียชีวิตลง หลังจากนั้น 6 ปีได้มีการเปิดหลุมศพอีกครั้งแต่ในครั้งนี้ได้มีคนตายอีกถึง 12 คน




วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) – กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนในเกาหลีเหนือตอบโต้การโจมตีของทหารเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา ทำให้สงครามเกาหลียืดเยื้อยาวนานกว่าที่คาดกันไว้

ประเทศเกาหลีโดนยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ประเทศเกาหลีได้รับอิสระ สหรัฐอเมริกาได้ช่วยญี่ปุ่นในการฟื้นฟูดินแดน เนื่องด้วยเกาหลีอยู่ติดกับประเทศอื่นๆรอบด้าน โดยด้านเหนือของเกาหลีติดกับประเทศจีน และทางใต้ติดกับญี่ปุ่นซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของอเมริกานั้น การปกครองที่แตกต่างของประเทศรอบด้านจึงเข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศเล็กๆที่ อยู่ตรงกลางระหว่างมหาอำนาจ จีนและสหภาพโซเวียดที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ญี่ปุ่นและอเมริกาที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย เกาหลีที่ซึ่งได้รับอิสรภาพ จำเป็นต้องมีผู้นำ แต่หากว่าประชากรที่มีในขณะนั้นมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป ส่วนที่ติดกับจีนก็เห็นว่าการปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นสิ่งที่ดี แต่อีกด้านที่อยู่ติดกับญี่ปุ่นและอเมริกาก็เห็นว่าการปกครองแบบประชาธิปไตย ดี จึงเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกการปกครองออกเป็นสองแบบ คือแบบคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตย เมื่อเกาหลีทั้งสองชาติมีความเห็นที่ต่างกันแล้ว เกาหลีที่รับการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มานั้น มีความต้องการอยากที่จะให้เกาหลีที่มีการปกครองที่ต่างกันมีการรวมชาติให้ เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงส่งกำลังทหารเข้ายึดเกาหลีส่วนที่รับการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยวิธีการรวมชาติแบบที่ผิดไป จึงทำให้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกาหลีแบ่งออกเป็นสองส่วน คือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยมีเส้นแบ่งอยู่ที่เส้นขนานที่ 38
[แก้] สงครามเริ่มต้น

วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ทหารฝ่ายเกาหลีเหนืออาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา วันที่ 28 มิถุนายน ก็สามารถยึดกรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส แมกอาร์เทอร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้

วันที่ 5 กรกฎาคม ปีเดียวกัน กองทัพสหรัฐได้บุกเข้าสู่เกาหลีเหนือ

สหประชาชาติได้ลงมติให้ยกกองกำลังเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้ กองกำลังสหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วยกองกำลังของอีก 15 ชาติ (รวมประเทศไทย) ในตอนแรกนั้นดูเหมือนว่าฝ่ายสหประชาชาตินั้นจะเป็นฝ่ายที่ถอยร่นมาโดยตลอด เป็นเพราะทางสหรัฐมีการดำเนินนโยบายยุโรปก่อนจึงให้กำลังพลกับแมคอาเทอร์ไม่ เต็มที่ ซึ่งทำให้แมคอาเทอร์โกรธมากจึงออกคำสั่งให้นำกำลังพลอเมริกันในแปซิฟิกมาใช้ ก่อน หลังจากที่สหรัฐเริ่มให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่เกาหลีเหนือก็ได้แต่ถอย ร่นจนไปถึงเส้นขนานที่ 38

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เฟสแรกผ่าน "เซิร์น" จับโปรตอนชนกันสำเร็จ


เหล่า นักวิทยาศาสตร์และผู้บริหารของเซิร์น ขณะร่วมกันรับชมสัญญาณภาพจากเครื่องเร่งอนุภาคใหญ่ ในช่วงเวลาที่ยิงลำแสงชนกัน เพียง 3 วันหลังจากทดสอบยิงลำแสงเดียวได้ครบรอบ (AFP/Fabrice Coffrini)


เครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เดินหน้ายิงลำแสงชนกันแล้ว เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา อนุภาคแรกแห่งการชนกันของโปรตอนได้เกิดขึ้น หลังปิดซ่อมแซมและล่าช้ากว่ากำหนดเดิมนับปี แต่ครั้งนี้เป็นการทดลองใช้พลังงานระดับต่ำ ก่อนจะเดินเครื่องเต็มกำลังในปีหน้า

ภาพจำลองเครื่องเร่งอนุภาคใหญ่ในการทำงานยิงลำแสง (AFPTV)

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อการวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ หรือเซิร์น (The European Organization for Nuclear Research: CERN) ได้ใช้งานเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (LHC) ยิงอนุภาคให้ชนกันตามที่รอคอยมานานหลายสิบปี เมื่อคืนวันที่ 23 พ.ย.52 (ตามเวลาประเทศไทย)

ผู้อำนวยการทั่วไปเซิร์น กับฉากหลังวงแม่เหล็กขนาดใหญ่ที่จะนำพาลำแสงไปตามท่อ เพื่อชนกัน (AFP/File/Fabrice Coffrini)

เดิมทีกำหนดการยิงอนุภาคชนกันของเครื่อง LHC ตามที่ตั้งใจไว้นั้นคือช่วง 2 เดือนแรกของปี พ.ศ.2553 เพื่อจะหาร่องรอยของการกำเนิดจักรวาล ผ่านอนุภาคที่เล็กที่สุด แต่เซิร์นก็ได้ทดลองชนกันอนุภาคโปรตอนในระดับพลังงานต่ำไปก่อนเมื่อคืนวันที่ 23 พ.ย.52 ที่ผ่านมา (ช่วงประมาณ 21.00 น.ของวันเดียวกันตามเวลาประเทศไทย)

จอแสดงสถานะของลำแสงโปรตอนที่ถูกยิงแบบตามและทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้ตัดผ่านกันจนเกิดการระเบิด (CERN)

ลำแสงโปรตอน 2 ลำ จาก 2 ทิศทางได้พุ่งเข้าชนกันภายในอุโมงค์ขนาดใหญ่ซึ่งขดเป็นวงกลมยาว 27 กิโลเมตรลึก 100 เมตรใต้ชายแดนฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ โดยการระเบิดดังกล่าว บันทึกไว้โดยเครื่องตรวจวัดอนุภาคจำนวน 4 เครื่อง ที่ติดตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ แยกเป็น 4 สถานี 4 ห้องปฏิบัติการ นับเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นการระเบิดของโปรตอน

ในช่วงแรกลำแสงได้ตัดกันที่จุด 1 และ 5 ในอุโมงค์ โดยมีเครื่องตรวจวัดอนุภาคแอลตลาส (ATLAS) และ ซีเอ็มเอส (CMS) จับสัญญาณการระเบิด ซึ่งแอตลาสได้บันทึกการระเบิดครั้งแรกไว้ที่เวลา 14.22 น. (21.22 น. ตามเวลาประเทศไทย) จากนั้นซีเอ็มเอสก็ได้บันทึกเส้นทางแสงตัดกันในอีกหลายชั่วโมงต่อมา

กระทั่งตอนค่ำของเซิร์น (ประมาณ 03.00 น.ของวันที่ 24 พ.ย.ตามเวลาประเทศไทย) เครื่องตรวจวัดอนุภาคอลิซ (ALICE) ก็ได้รับสัญญาณการชนกัน และตามด้วยเครื่องแอลเอชซีบี (LHCb) ที่ได้บันทึกการระเบิดในเวลาต่อมา

ลำแสดงกำลังเดินทางปะทะกันที่เครื่องจับอนุภาค CMS ตรวจได้ (CERN)

"นับเป็นข่าวดีที่สุด ที่เราได้เริ่มยุคสมัยแห่งความมหัศจรรย์ของฟิสิกส์ และหวังว่าการค้นพบหลังจากทำงานมายาวนานกว่า 20 ปีของนานาชาติ ที่ได้สร้างเครื่องทดลองขนาดใหญ่ จะได้ทดลองสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" ตัวแทนนักฟิสิกส์จาก 2,000 กว่าคนในสถานีแอตลาสเผยความรู้สึก

ขณะที่ทีมงานทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั้ง 4 ต่างลุ้นให้เกิดการชนกันครั้งแรก ซึ่งท้ายที่สุดแถลงการณ์ของเซิร์นก็แจ้งว่าระบบควบคุมลำแสงที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และการชนกันนั้นเป็นไปได้อย่างดี

ลำแสงโปรตอนตัดกันที่สถานี ALICE ตรวจจับได้ (CERN)


ที่จริงแล้วการระเบิดที่ต้องการก่อให้เกิดร่องรอยแห่งกำเนิดจักรวาล นั้น จะต้องให้ลำแสงชนกันที่ความเร็ว เพื่อจำลองสถานการณ์หลังเกิดบิกแบงในช่วง 1-2 แสนล้านส่วนวินาทีเท่านั้น ซึ่งการทดลองชนกันครั้งนี้ถือเป็นการทดสอบศักยภาพของเครื่อง และจะค่อยๆ เร่งระดับเดินเครื่องเต็มที่ภายในปีหน้า เพื่อการทดลองเต็มรูปแบบ
Thank data news ASTV manager online

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันนี้ 25 พฤศจิกายน ในอดีต



วันนี้ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์กำหนดให้วันนี้เป็นวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงแม้ว่าพระองค์จะเสด็จสวรรคตเมื่อเวลา 1.45 น. ของวันที่ 26 พฤศจิกายนก็ตาม

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 46 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 16 ปี

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดง สินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย อีกด้วย

ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก

สวรรคต

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษ ในพระอุทรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวมพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันนี้ 24 พฤศจิกายน ในอดีต

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) - เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ สังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งแรก จากบ้านของเขาใกล้เมืองเพรสตัน แคว้นอังกฤษ ซึ่งเขาได้พยากรณ์ไว้แล้ว


เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์กำลังสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวศุกร์ เมื่อปี พ.ศ. 2182


เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ได้โฟกัสภาพ ดวงอาทิตย์ผ่าน กล้องโทรทัศน์แบบ ง่ายๆ ลงบนแผ่นกระดาษแข็งธรรมดาเพื่อให้มีความปลอดภัยแก่ดวงตาที่จะต้องจ้องนานๆ จากตำแหน่งสังเกตการณ์ที่ตำบลมัชฮูล เขาได้คำนวณทางเดินของดาวศุกร์ได้ว่าจะเริ่มผ่านดวงอาทิตย์ ณ เวลาประมาณ 15.00 น.ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2182 ปฏิทินจูเลียน หรือ ในวันที่ 4 ธันวาคม ปฏิทินเกรกอเรียน ท้องฟ้าค่อนข้างมีเมฆมากในวันนั้น แต่เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ก็สังเกตเห็นเงาดำเล็กๆ ของดาวพระศุกรเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์บนแผ่นกระดาษแข็งของเขาเมื่อเวลา 15.15 น. และมองเห็นต่อเนื่องไปอีกครึ่งชั่วโมงจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า การเคลื่อนตัวผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์ในปี พ.ศ. 2182 ก็ได้สังเกตเห็นโดยเพื่อนของเขาด้วย คือ วิลเลียม แคบทรี ซึ่งเป็นผู้ที่เขาติดต่อโต้ตอบกันในเรื่องนี้อยู่ โดยสังเกตการณ์ที่บ้านในซาลฟอร์ด

การสังเกตการณ์ของเจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ในครั้งนี้ช่วยให้เขาทำการคาดเดาขนาดของดาวศุกร์ได้แม่นยำขึ้น รวมทั้งระยะห่างระหว่างโลกและและดวงอาทิตย์ ตัวเลขของเจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์คือ 95 ล้านกิโลเมตร (0.63 AU) แม้จะผิดที่ไกลไป 150 ล้านกิโลเมตรจาก 93 ล้านกิโลเมตรในปัจจุบัน แต่ก็นับว่าแม่นยำมากกว่าระยะที่คาดเดาไว้ในสมัยนั้นมาก หนังสือเรื่อง "การเคลื่อนตัวของดาวศุกรผ่านดวงอาทิตย์"(Venus in sub sole visa) ของเจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ได้รับการตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2205 โดยนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮันเนส เอเวลิอุส (Johannes Hevelius) ด้วยทุนส่วนตัวของเขาเอง


วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - ขณะมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ แจ็ก รูบี ยิง ลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์ ผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมจอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะตำรวจกำลังนำตัวไปยังเรือนจำ




อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันนี้ 23 พฤศจิกายน ในอดีต

วันนี้ในอดีตคือ
วันสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทที่เป็นชาย ทำให้พระราชธิดาวัย 10 พรรษา วิลเฮลมินา เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งเนเธอร์แลนด์

สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์

สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ (อังกฤษ: William III of Netherlands พระนามเต็ม วิลเล็ม อเล็กซานเดอร์ ปอล เฟรเดริค โลเดวิก ฟาน ออรันเย-นาสเซา ประสูติ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2360 สวรรคต 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433) พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์ และ แอนนา ปาลอฟนาแห่งรัสเซีย
วันประสูติ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2360
วันสวรรคต 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 (อายุ 73 ปี)
พระอิสริยยศ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์
พระราชบิดา สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์
พระราชมารดา แอนนา ปาลอฟนาแห่งรัสเซีย
พระชายา สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งเวอร์เท็มเบิร์ก
สมเด็จพระราชินีเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์
ราชวงศ์ ราชวงศ์เนเธอร์แลนด์

และอีกวันก็คือ
วันขอบคุณแรงงาน (ญี่ปุ่น: Labor Thanksgiving Day 勤労感謝の日 Kinrō kansha no hi ?) เป็นวันหยุดราชการในประเทศญี่ปุ่น ถูกจัดขึ้นเป็นประจำในวันที่ 23 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยกฎหมายได้กำหนดให้วันดังกล่าวเป็นการรำลึกถึงแรงงานที่ทำงานด้วยมือ การผลิต และการให้ความขอบคุณแก่ผู้อื่น

ในวันนี้ มีการจัดเทศกาลขึ้นทั่วประเทศญี่ปุ่น อย่างเช่นในเทศกาลแรงงานนะงะโนะ เพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกทางด้านสิ่งแวดล้อม สันติภาพและสิทธิมนุษยชน
ประวัติ

วันขอบคุณแรงงานเป็นชื่อเรียกใหม่สำหรับเทศกาลเก็บเกี่ยวข้าวเดิม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า (ญี่ปุ่น: Niiname-sai 新嘗祭 ?) ซึ่งเชื่อกันว่าจัดขึ้นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 678 ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิม เทศกาลดังกล่าวถูกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการทำงานหนักระหว่างปี และจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นจะทรงอุทิศผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ให้กับวิญญาณ และลิ้มรสข้าวเป็นครั้งแรก

วันหยุดราชการสมัยใหม่ถูกจัดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1948 เพื่อเป็นการรำลึกถึงรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการแก้ไขหลังจากสงคราม รวมทั้งสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน Niiname-sai เป็นเทศกาลที่ถูกจัดขึ้นโดยราชวงศ์ญี่ปุ่น ในขณะที่วันขอบคุณแรงงานเป็นวันหยุดราชการ

นอกจากนี้ วันที่ 1 พฤษภาคม ยังมีการเฉลิมฉลองวันแรงงานด้วยเช่นกัน โดยสหภาพแรงงานหลายแห่งในประเทศ ซึ่งมีการรวมตัวและเดินขบวนเรียกร้องในโตเกียว โอซากา และนาโกยา

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อย่าลืมวันนี้!!!!!!!!กลับมาอีกครั้งหวังว่าจะยิ่งใหญ่ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" ค่ำคืน 17 พ.ย.นี้

ภาพ ปรากฎการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์เมื่อปี 2544 ซึ่งบันทึกภาพโดย นายสุเมธี เพ็ชร์อำไพ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ของ สดร.เมื่อปี 2551


กลับมาอีกครั้งหวังว่าจะยิ่งใหญ่ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" ตั้งแต่กลางดึกของวันที่ 17 ถึงเช้าตรู่ 18 พ.ย.นี้ คาดมีปริมาณมากถึงชั่วโมงละ 100-500 ดวง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเห็นได้ดีสุดในโลก แนะชมตั้งแต่ 5 ทุ่มจะเห็นภาพสวยกว่าช่วงเกิดฝนดาวตกสูงสุด

ระหว่างแถลงข่าวกิจกรรม "Winter Sky มหัศจรรย์ปรากฏการณ์และกิจกรรมดาราศาสตร์แห่งปี" เมื่อวันที่ 9 พ.ย.52 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กล่าวว่า ระหว่างเดือน พ.ย.52-ก.พ.53 มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าติดตามหลายปรากฏการณ์ และเป็นช่วงทีท้องฟ้าในประเทศไทยเหมาะแก่การดูดาว เนื่องจากมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดความเย็นและอากาศแห้งมายังภูมิภาค ต่างๆ ของไทย

สำหรับวันที่ 17-18 พ.ย.นี้มีปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่เคยได้รับความสนใจมากในช่วงปี 2541 และปี 2544 โดยฝนดาวตกดังกล่าวเกิดจากสายธารฝุ่นดาวหาง 55พี/เทมเพล-ทัทเทิล (55p/tempel-Tuttle) และจากการคำนวณของนักดาราศาสตร์หลายคน ซึ่งรวมถึงนักดาราศาสตร์จากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) พบว่า ฝนดาวตกลีโอนิดส์จะเกิดจากสายธารฝุ่นที่ดาวหางทิ้งไว้เมื่อปี พ.ศ.2009 และ 2076

ปีนี้นักดาราศาสตร์หลายสำนักคำนวณตรงกันว่าจะมีฝนดาวตกเป็นร้อยดวง แต่ก็มีความแตกต่างกันบ้างโดยอยู่ในช่วง 100-500 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งจะเกิดฝนดาวตกมากที่สุดประมาณ 04.00-05.30 น.ของวันที่ 18 พ.ย.

ภาพจำลองการเกิดฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่มีจุดเรเดียนท์ (Radiant) หรือจุดกระจายฝนดาวตกอยู่ที่กลุ่มดาวสิงโต


อย่างไรก็ตาม ดร.ศรันย์กล่าวว่า จากที่ได้สังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกมากกว่า 20 ปี พบว่าช่วงเวลา 23.00 น.เป็นช่วงเวลาที่เห็นฝนดาวตกได้สวยที่สุด

เหตุผล ที่ฝนดาวตกในช่วงเวลาดังกล่าวสวยที่สุด เพราะฝุ่นดาวหางจะผ่านชั้นบรรยากาศโลกแบบเฉียดๆ ไม่วิ่งเข้าตรงๆ เหมือนช่วงที่เกิดฝนดาวตกสูงสุด โดยจะเห็นดาวตกเป็นสายเหมือนขบวนรถไฟ และวิ่งผ่านชั้นบรรยากาศช้ากว่า ขณะที่ช่วงเกิดดาวสูงสุดซึ่งมีความเร็วถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที

“ฝน ดาวตกลีโอนิดส์นี้น่าทึ่งตรงที่เมื่อเกิด "ฝนดาวตกลูกไฟ" (fireball) จะเกิดความร้อนสูงมาก และเกิดแสงสีเขียว ซึ่งเกิดจากความร้อนที่ถูกทิ้งไว้และทำให้ออกซิเจนในอากาศเกิดการเรืองแสง ส่วนบางครั้งที่เห็นแสงสีเขียวเป็นทางหยึกหยักนั้นเนื่องจากอากาศที่ถูกลม พัด" ดร.ศรันย์กล่าว

สำหรับฝนดาวตกลีโอนิดส์ครั้งนี้ ดร.ศรันย์บอกว่า ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่หลายคนจะได้เห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ปริมาณมาก อีกทั้งทางเอเชียตะวันออกจะเห็นได้ดีที่สุด

อีกทั้ง นักดาราศาสตร์ที่วิจัยฝนดาวตกจะเดินทางมาศึกษาในภูมิภาคนี้ โดยการศึกษาฝนดาวตกทำให้ทราบสภาพแวดล้อมรอบโลก และการกระจายของฝุ่นละอองรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งที่สุดจะนำไปสู่ความเข้าใจกำเนิดระบบสุริยะ แต่สำหรับเมืองไทยยังไม่มีใครวิจัยฝนดาวตกอย่างชัดเจนนัก

"มี การศึกษาว่าทุกๆ กว่า 30 ปีจะมีฝนดาวตกลีโอนิดส์ปริมาณมหาศาลที่เป็น "พายุฝนดาวตก" และมีรายงานกว่าในปี 2376 ที่สหรัฐฯ ได้เห็นฝนดาวตกมากถึง 100,000 ดวงต่อชั่วโมง และเมื่อปี 2541 ก็คำนวณว่าจะเกิดพายุฝนดาวตก แต่ก็ผิดคาด จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มคำนวณเก่งขึ้นและพยากรณ์ว่าปี 2544 จะเกิดพายุฝนดาวตกอีกครั้ง 17-18 พ.ย.ตอนนั้นคาดว่าจะได้เห็นเยอะสุดในวันที่ 18 แต่ปรากฎว่ากลับเห็นเยอะในวันที่ 17” ดร.ศรันย์กล่าว

อย่างไรก็ดี ดร.ศรันย์บอกว่า การเกิดฝนดาวตกนั้นมีความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจไม่เกิดฝนดาวตกปริมาณ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสมากถึง 50%

นอกจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่สวยงามแล้ว ยังมีฝนดาวตกเจมินิดส์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 13-14 ธ.ค. โดยปีนี้เป็นโอกาสดีที่จะได้ติดตาม เพราะปีนี้ไม่มีแสงรบกวนจากดวงจันทร์ โดยฝนดาวตกชนิดนี้มีปริมาณมากถึง 100 ดวงต่อชั่วโมง แต่เป็นฝนดาวตกที่สว่างไม่มากนัก มีความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อนาที ซึ่งมีเวลาพอที่จะชี้ชวนกันดูได้ ไม่เหมือนฝนดาวตกลีโอนิดส์

สำหรับข้อแนะนำในการชมฝนดาวตกนั้น ดร.ศรันย์บอกว่า ให้นอนดูโดยช่วงเกิดฝนดาวตกสูงสุดจุดศูนย์กลางจะอยู่กลางศรีษะพอดี ส่วนการถ่ายภาพนั้นไม่อาจบอกได้ว่าจะถ่ายมุมไหน ต้องอาศัยการเดาหรือเปิดหน้ากล้องเพื่อรอให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง เนื่องจากฝนดาวตกมีอัตราเร็วสูงมาก

ระหว่างเดือน พ.ย.จนถีง ก.พ.ปีหน้ายังมีปรากฎการณ์ดาราศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจและประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตได้ อาทิ ปรากฎการณ์จันทรุปราคารับปีใหม่ในวันที่ 1 ม.ค.53 ในเวลา 01.52-02.52 น. แต่เกิดคราสบังเพียงแค่ 10% เท่านั้น

จากนั้นเป็นปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วนวันที่ 15 ม.ค.53 ซึ่งทางจังหวัดในภาคเหนือ อย่าง จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่จะเห็นการบดบังของคราสได้มากที่สุดในพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ และเห็นส่วนหนึ่งของปรากฎการณ์สุริยุปราคาวงแหวนที่เกิดคราสเริ่มต้นที่ แอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย อินเดียตอนใต้ ศรีลังกาตอนบน พม่าและสิ้นสุดที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

ส่วนปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายฤดูหนาวคือการเข้าใกล้ของดาวอังคาร ในเดือน ม.ค.-ก.พ.53 ซึ่ง ดร.ศรันย์กล่าวว่า จะเห็นดาวสีแดงบนท้องฟ้าเด่นชัดมาก และในวันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดคือช่วงเช้าของวันที่ 28 ม.ค.เป็นระยะทาง 99,331,411 กิโลเมตร มีขนาดปรากฏ 14.11 ฟิลิปดา หรือประมาณหลุมเล็กๆ บนดวงจันทร์ โดยดวงจันทร์มีขนาดปรากฏ 30 ลิปตา ซึ่ง 1 ลิปคาเท่ากับ 60 ฟิลิปดา

ทั้งนี้ในวันที่ 30 ม.ค.53 เป็นที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาิทตย์ ซึ่ง ดร.ศรันย์กล่าวว่าเราจะได้เห็นดาวอังคารในช่วงพร้อมกับที่ดวงอาทิตย์ลับขอบ ฟ้า และจะเห็นชัดตลอดทั้งคืนจนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าในตอนเช้า และในช่วงนี้เราจะได้สังเกตพื้นผิวและปรากฏการณ์ฟ้าหลัว (Haze) บนดาวอังคารได้ชัดเจนขึ้น

ปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกนี้เกิดขึ้นทุกๆ 26 เดือน โดยครั้งที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดคือเมื่อ 28 ส.ค.46 ซึ่งเป็นการเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 5,000 ปี โดยดาวอังคารมีขนาดปรากฏ 25 ฟิลิปดา และเนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารเป็นวงรี โอกาสที่ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกโดยมีขนาดใกล้เคียงกับ 25 ฟิลิปดานี้ จะเกิดขึ้นทุกๆ 18 เดือน

ปรากฏการณ์นี้ ยังทำให้เกิดการส่งฟอร์เวิร์ดเมลที่มีข้อมูลคลาดเคลื่อนว่า เราจะได้เห็นดาวอังคารขนาดเท่าดวงจันทร์ เวียนมาถึงกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของเราทุกๆ 2 ปีด้วย
Data ASTV News

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พบน้ำจริงๆ หลังนาซาส่งยาน “แอลครอส” ยิงดวงจันทร์

ภาพจากแสดงเศษซากฝุ่นที่กระจายฟุ้งขึ้นมาหลังถูกยานพุ่งชน 20 วินาที (ภาพประกอบจากนาซา)


หลังปฏิบัติการยิงดวงจันทร์ ที่ทั่วโลกต่างจับตาด้วยใจระทึกผ่านพ้นไปอย่างเงียบสงัดเป็นเวลาร่วมเดือน ล่าสุดนาซาได้ออกมาเปิดเผยผลวิเคราะห์ข้อมูล ปฏิบัติการดังกล่าวว่า ดวงจันทร์เต็มไปด้วยน้ำมากมาย

นับเป็นบทเรียนใหม่ ที่จะเสริมความเข้าใจเรื่องดวงจันทร์แก่มนุษยชาติ เมื่อองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้เปิดเผยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากปฏิบัติส่งยาน “แอลครอส” (Lunar CRater Observation and Sensing Satellite: LCROSS) ยิงสำรวจน้ำบนดวงจันทร์เมื่อ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่าพบน้ำจริงๆ ในถ้ำ “คาเบียส” (Cabeus) ซึ่งเป็นพื้นที่ในเงามืดถาวรบริเวณใกล้ๆ กับขั้วใต้ของดวงจันทร์

โดย ยานเซนทอร์ (Centaur) ซึ่งเป็นจรวดท่อนบนของยานแอลครอสได้พุ่งตกกระทบถ้ำดังกล่าว แล้วทำให้เกิดฝุ่นละอองของสิ่งอยู่เบื้องล่างถ้ำพวยพุ่งออกมาเป็นรูปดอกเห็ด ที่มีอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกในมุมสูงกว่าเป็นไอน้ำและฝุ่นละเอียดที่พวยพุ่งขึ้นมา ส่วนที่สองในมุมต่ำำกว่าเป็นม่านหมอกของสิ่งที่มีหนักกว่า และสิ่งที่พวยพุ่งขึ้นมานี้ไม่เคยเห็นแสงตะวันมาหลายพันล้านปีแล้ว

“เรา ได้ปลดล็อคปริศนาของเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ที่สุด ก่อนที่ขยายไปสู่ระบบสุริยะ ครั้งนี้ได้เผยความลับหลายๆ อย่างของดวงจันทร์ และแอลครอสก็ได้เพิ่มระดับชั้นความเข้าใจใหม่ๆ ให้เราด้วย” ไมเคิล วอร์โก (Michael Wargo) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์ในศูนย์ปฏิบัติการใหญ่ของนาซา ณ วอชิงตัน สหรัฐฯ กล่าว

นักวิทยาศาสตร์ได้คาดเดามายาวนาน เกี่ยวกับแหล่งไฮโดรเจนปริมาณมหาศาลที่ได้ทำการสำรวจบริเวณขั้วของดวงจันทร์ และการค้นพบของยานแอลครอสครั้งนี้ได้ฉายแสงครั้งใหม่ให้กับคำถามเกี่ยวกับ น้ำ ซึ่งน่าจะกระจายอยู่ทั่วและมีปริมาณมากกว่าที่เคยคาดเดาก่อนหน้านี้

สำหรับพื้นที่ซึ่งเป็นจุดเงามืดถาวรนั้น จะเป็นกุญแจในการไขประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของระบบสุริยะได้มากพอๆ กับที่แกนน้ำแข็งบนโลกเผยข้อมูลในยุคโบราณ มากกว่านั้น น้ำและองค์ประกอบเพิ่มเติมอื่นๆ ยังแสดงถึงแหล่งทรัพยากรที่ศักยภาพอันยั่งยืนเพื่อการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต

นับแต่ที่ส่งยานยิงกระทบหลุมบนดวงจันทร์ นาซาระบุว่าทีมวิทยาศาสตร์ในปฏิบัติการแอลครอสก็ทำงานแบบแทบไม่มีวันหยุด เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ยานแอลครอสได้รวบรวมไว้ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ได้พุ่งเป้าไปที่ข้อมูลจากเครื่องสเปคโทมิเตอร์ (spectrometer) ของยานอวกาศ ที่จะให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดเกี่ยวกับการมีอยู่ของน้ำ ซึ่งเครื่องจะทดสอบแสงที่ปลดปล่อยออกมาจากวัตถุ แล้วจำแนกองค์ประกอบได้

“เรา ยินดีเหลือล้น เส้นกราฟหลักฐานแสดงให้เห็นว่า มีน้ำปรากฎอยู่ทั้งในมุมสูงของพวยที่พุ่งออกมาและม่านฝุ่นขนาดใหญ่จากการ พุ่งชนของยานเซนทอร์ ความเข้มข้นและการกระจายตัวของน้ำและสสารอื่นๆ นั้นยังต้องได้รับการวิเคราะห์อีก แต่ก็โอเคที่จะพูดว่าคาเบียสมีน้ำอยู่” แอนโธนี คอลาพรีท (Anthony Colaprete) นักวิทยาศาสตร์ในโครงการแอลครอสกล่าว

ทีมวิเคราะห์ได้ใช้สัญญาณของน้ำกับวัตถุอื่นๆ ในย่านรังสีอินฟราเรดใกล้ แล้วเปรียบเทียบกับสัญญาณที่ได้จากยานแอลครอสในย่านอินฟราเรดใกล้เช่นกัน แล้วพบว่าสัญญาณของน้ำกับสัญญาณของยานแอลครอสนั้นตรงกัน ส่วนโอกาสที่ยานเซนทอร์จะเกิดการปนเปื้อนนั้นถูกตัดออกไป

ข้อมูล จากเครื่องเสปคโตมิเตอร์ ซึ่งเส้นกราฟสีแดงคือสเปกตรัมของเมฆฝุ่นที่น่าจะเป็น ส่วนแถบสีเหลืองคือแถบดูดกลืนคลื่นของน้ำ (ภาพประกอบจากนาซา)



ข้อมูล จากเครื่องสเปคโตมิเตอร์ในย่านแสงที่ตามองเห็นและอัลตราไวโอเลต ซึ่งแสดงเส้นปลดปล่อยพลังงานของไอน้ำและเศษซากจากการพุ่งชน (ภาพประกอบจากนาซา)



นอกจากนี้การยืนยันเพิ่มเติมยังมาจากการปลดปล่อยสเปกตรัมของรังสี อัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นลักษณะของ “ไฮดรอกซีล” (hydroxyl) อันเป็นหนึ่งในผลผลิตที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำเมื่อได้รับแสงอาทิตย์ เมื่ออะตอมและโมเลกุลถูกกระตุ้นก็จะปลดปล่อยพลังงานในย่านของความยาวคลื่น เฉพาะ แล้วถูกตรวจจับได้ด้วยเครื่องสเปคโตมิเตอร์ ซึ่งเครื่องตรวจจับสัญญาณได้หลังจากไอน้ำกระทบกับแสงอาทิตย์

ขณะที่ข้อมูลอื่น จากเครื่องมือของแอลครอสยังได้รับการวิเคราะห์เพื่อหานัยยะเพิ่มเติมเกี่ยว กับลักษณะและการกระจายตัวของวัตถุต่างๆ ในบริเวณที่ยานพุ่งชน ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์ของยานแอลครอสและคณะได้เพ่งพิจารณาข้อมูลเพื่อทำความ เข้าใจการพุ่งชนครั้งนี้ทั้งหมด ตั้งแต่แสงที่วาบสว่างขึ้นไปจนถึงตัวถ้ำเอง ด้วยเป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการเข้าใจการกระจายตัวของวัตถุและสารระเหยภายใน ดินบริเวณที่เกิดการพุ่งชน

“การทำความเข้าใจข้อมูลของยานแอลครอสทั้งหมดอาจต้องใช้เวลา มีข้อมูลอยู่มากมายจริงๆ นอกจากน้ำในถ้ำคาเบียสแล้ว ยังมีสัญญาณของวัตถุอื่นๆ ที่มีอยู่เต็ม ในบริเวณเงามืดถาวรของดวงจันทร์นั้นเป็นกับดักที่หนาวเย็นของจริง ซึ่งเก็บรวบรวมและรักษาวัตถุต่างๆ ไว้นานหลายพันล้านปี” โคลาพรีทกล่าว

ยานแอลครอสถูกส่งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.52 จากฐานปล่อยจรวดในศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ในฟลอริดา ของนาซา โดยเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการยานสำรวจดวงจันทร์ลูนาร์รีคอนเนซองส์ออบิ เตอร์ (Lunar Reconnaissance Orbiter) หรือแอลอาร์โอ (LRO) เมื่อแยกจากแอลอาร์โอแล้ว แอลครอสและเซนทอร์ก็ใช้เวลาเดินทางเป็นระยะทาง 9 ล้านกิโลเมตรในเวลา 113 ก่อนที่ยานทั้งสองจจะแยกจากกัน แล้วเซนทอร์ก็มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์

พร้อมกันนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ของยานแอลครอสยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับ ทีมนักวิทยาศาสตร์ของยานแอลอาร์โอ ซึ่งยานแอลอาร์โอก็ยังคงบินผ่านบริเวณที่เกิดการพุ่งชน เพื่อให้ทีมแอลครอสได้เห็นสัญญาณของกลไกการพุ่งชนและหลุมที่เกิดจากการพุ่ง ชนด้วย
Thank DATA ASTV manager.co.th

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า นวัตกรรมไทยประสิทธิภาพอันดับ 1 ของโลก


ส่วน หนึ่งของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกในประเทศไทย ขนาด 1.644 MWp บนเนื้อที่ 35 ไร่ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ดำเนินการโดย บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด


การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดทดแทนเชื้อเพลิง ฟอสซิลและถ่านหิน เป็นยุทธวิธีสำคัญทางหนึ่งที่จะช่วยให้มนุษย์ฝ่าวิกฤตภาวะโลกร้อนไปได้ และพลังงานแสงอาทิตย์ก็เป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน ที่หลายคนเทใจให้มากที่สุด เพราะมีแหล่งพลังงานให้มนุษย์ได้ใช้ฟรีไม่มีวันหมด ทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สะอาด และปลอดภัยอย่างแท้จริง

บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด เป็นเอกชนไทยรายแรกและรายเดียวในประเทศ ที่ดำเนินการด้านโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในขณะนี้ จากการวิจัยและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพ ภูมิอากาศของประเทศไทย และมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลกอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันสามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศแล้วถึง 7 แห่ง และผลิตแผงโซลาร์เซลล์ส่งออกไปยังหลายประเทศในยุโรป และสหรัฐฯ


นายทิศพล นครศรี


นายทิศพล นครศรี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด ให้ข้อมูลว่า บางกอกโซลาร์เป็นบริษัทที่แตกออกมาจาก บริษัท บางกอกเคเบิล จำกัด เพื่อดำเนินการวิจัย พัฒนา และผลิตแผงโซลาร์เซลล์โดยในช่วงเริ่มต้น ได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จนสามารถผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอนแบบฟิล์มบาง (Amorphous Silicon Thin-Film Photovoltaic Module) ที่เหมาะสำหรับสภาพอากาศร้อนชื้นในประเทศไทยได้เอง และมีการพัฒนาแผงโซลาร์เซลล์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้ง นี้ แผงโซลาร์เซลล์รุ่นล่าสุดที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพแปลงพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 7% นับว่าเป็นแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอนแบบฟิล์มบาง ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในโลกด้วย

“แผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอนแบบฟิล์มบาง มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าแผงโซลาร์เซลล์ชนิดผลึกซิลิกอน ทั้งยังผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่ขนาดกำลังการผลิตเท่ากัน ทำงานได้ดีแม้ในสภาพอากาศที่มีแสงน้อย ท้องฟ้ามีเมฆมาก หรือแม้แต่ช่วงฝนตก ซึ่งสามารถทำงานได้ตลอดช่วงเวลากลางวัน”


นายพดด้วง คงคามี


“ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลาประมาณ 10.00-15.00 น. ขณะที่หากเป็นแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอื่นจะทำงานได้ในช่วงเวลาดังกล่าว และจะหยุดทันทีที่แสงน้อยเกินไป" นายทิศพลอธิบายขณะเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ จ.ฉะเชิงเทรา


แผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอนแบบฟิล์มบางที่พัฒนาโดยคนไทย เหมาะสำหรับสภาพอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย


ทั้งนี้ บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ เริ่มก่อตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของประเทศไทยในปี 2549 ด้วยกำลังการผลิต 1.644 MWp (เมกกะวัตต์) จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากกว่า 40,000 แผง บนพื้นที่ 35 ไร่ใน อ.บางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา ด้วยเงินลงทุนราว 180 ล้านบาท และเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปี 2550 โดยใช้เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าชนิดต่อเชื่อมสายส่ง ที่วิจัยและพัฒนาโดย บริษัท ลีโอนิคส์ จำกัด ของคนไทย


กระแส ไฟฟ้าที่โซลาร์เซลล์ผลิตได้จะถูกส่งมายังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งต่อ เข้ากับสายส่งของการไฟฟ้า (ภาพจาก บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด)


ต่อมาได้ขยายการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ไปในจังหวัดอื่นๆ อีก 4 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี อ่างทอง เพชรบุรี และนครสวรรค์ ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวมทั้งสิ้น 7 โรง และมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมด 7.318 MWp

ไฟฟ้าที่ผลิตได้ ทางโรงงานได้ขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้งหมดในราคา 12 บาทต่อหน่วย จากต้นทุนการผลิตประมาณ 12 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะคุ้มทุนในระยะเวลา 10 ปี ส่วนแผงโซลาร์เซลล์ที่พัฒนาขึ้นนั้น มีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี


ภาพ ถ่ายมุมสูงของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของประเทศไทยใน จ.ฉะเชิงเทรา กำลังการผลิต 1.644 MWp (ภาพจาก บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด)


นอกจากนี้ บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ กำลังอยู่ระหว่างการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีกใน จ.ลพบุรี ที่กำลังการผลิต 2.208 MWp และจะสร้างเพิ่มขึ้นอีกแห่งในจังหวัดเดียวกัน ให้มีกำลังการผลิตราว 11 MWp

ด้านนายพดด้วง คงคามี ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากแผนพัฒนาพลังงาน 15 ปี ที่กำหนดไว้ว่า ประเทศไทยจะต้องพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ 500 MWp ภายในปี 2565 ทำให้บางกอกโซลาร์จึงมีแผนการที่จะขยายโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภายใน ประเทศให้เป็น 60 MWp ภายในปี 2555 โดยการบริหารงานของบางกอกโซลาร์ และอีก 100 MWp โดยการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ รวมถึงการรับจ้างผลิตแผงโซลาร์เซลล์ให้กับบริษัทอื่น ที่สนใจลงทุนด้านโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภายในประเทศอีก 150 MWp


โรง ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จ.เพชรบุรี กำลังการผลิต 2.193 MWp ซึ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนี้ (ภาพจาก บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด)


ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 MWp จะมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 110 ล้านบาท ใช้แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 50 วัตต์ จำนวน 20,000 แผง บนพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ และสำหรับพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อการตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ควรเป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงอาทิตย์ประมาณ 1,800-1,900 ชั่วโมงต่อปี เช่น พื้นที่ในจังหวัดอุดรธานี, สระบุรี, ลพบุรี และ อ่างทอง เป็นต้น


โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จ.อุดรธานี กำลังการผลิต 1.591 MWp (ภาพจาก บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด)


"ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เชื่อแน่ว่าในระยะเวลาอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีราคาถูกลงอย่างแน่นอน และอาจถูกลงจนเท่ากับโรงไฟฟ้าถ่านหินในปัจจุบันก็ได้ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้ อย่างมีประสิทธิภาพ" นายทิศพลกล่าว


โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จ.อ่างทอง กำลังการผลิต 1.136 MWp (ภาพจาก บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด)


แม้ขณะนี้ ต้นทุนการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ยังมีราคาสูงอยู่มาก อีกทั้งต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ยังสูงกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ทั่วโลกก็กำลังให้ความสนใจ และผลักดันให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น เพราะเป็นพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูง เป็นพลังงานสะอาดที่คนทั่วไปยอมรับกันมากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับพลังงานนิวเคลียร์ที่ยังมีปัญหาเรื่องการกำจัดกากนิวเคลียร์.
Thak data ASTV manager online

อ่านต่อกด..จ๊ะ.