เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"หุ่นยนต์ปลา" ของเด็กไทยว่ายน้ำได้แล้วนะ

การแข่งขันหุ่นยนต์ปลาในค่ายวิทยาศาสตร์ ซึ่งครั้งนี้หุ่นยนต์ของเด็กๆ ว่ายน้ำได้ทุกตัวแล้ว (ภาพ สวทช.)

เป็นครั้งที่ 2 แล้วที่เด็กไทยได้มารวมตัวกันเพื่อทำสิ่งที่ท้าทาย อย่างการประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย และต้องนำหุ่นยนต์เหล่านั้น "ลงน้ำ" ซึ่งหลังจากเปิดประตูให้เด็กๆ ได้รู้จักกับ "หุ่นยนต์ปลา" ไปในค่ายวิทยาศาสตร์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ความผิดพลาดและข้อบกพร่องในครั้งก่อนได้พยุงให้หุ่นยนต์ของเด็กๆ ในค่ายครั้งใหม่ว่ายน้ำได้แล้ว

ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ สังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัด "ค่ายหุ่นยนต์ปลา" ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ระหว่าง 17-19 มิ.ย.52 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี โดยมีนักเรียน ม.ปลายเข้าร่วม 45 คน ซึ่งก่อนหน้าได้จัดค่ายแรกไปเมื่อกลางเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา


ค่ายล่าสุดนี้มีการแข่งขันความสามารถของหุ่นยนต์ใน 5 ด้านคือ ว่ายเร็ว ว่ายตรง ความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และสุดยอดพลัง (Super power) ซึ่งหุ่นยนต์ปลาจะต้องแข่งชักเย่อกันในน้ำ โดยหุ่นยนต์ที่ดึงให้หุ่นยนต์ทีมอื่นเข้าหาตัวเองได้จะเป็นฝ่ายชนะ และสิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในค่ายนี้คือหุ่นยนต์ปลาว่ายน้ำได้ทุกตัว

การแข่งขันเกิดขึ้นในวันสุดท้ายของค่ายโดยใช้สระว่ายน้ำของบ้านวิทยา ศาสตร์ สิรินธรเป็นสนามแข่งขัน เยาวชนในค่ายซึ่งมาจากหลากหลายโรงเรียนทั่วประเทศได้แบ่งกลุ่มออกเป็นทีมละ 3 คน ซึ่งแต่ละกลุ่มต้องประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลาที่ต้องลงแข่งประชันความสามารถทั้ง 5 ด้านขึ้นมา 1 ตัว

ทีมอื่นอาจต้องการชนะการแข่งขันในน้ำ แต่สำหรับ "ทีมลูกชุบ" ที่มีนายวัชรินทร์ อินพยา นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน นายอภิรักษ์ เอนกบริบูรณ์ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จ.ชลบุรี และ น.ส.อัลญา ภูตานนท์ นักศึกษา ปวช.ปี 1 โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ จ.ชลบุรี แล้วขอเพียงรางวัลความคิดสร้างสรรค์ โดยออกแบบหุ่นยนต์ที่เลียนแบบแมงกะพรุน แต่กลับได้หุ่นยนต์ที่กลายเป็น "เม่นทะเล"

"ตอนแรกเราจะเอารางวัลความคิดสร้างสรรค์อย่างเดียวเลย ผลก็เป็นไปตามคาดครับ แพ้หมดทุกอย่าง คงต้องรอลุ้นผลรางวัลความคิดสร้างสรรค์" อภิรักษ์กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์อย่างยอมรับต่อการตัดสินใจของทีม และผลที่ได้ ซึ่งที่สุดเขาทั้งสามก็ได้รับรางวัลที่ตั้งใจไว้ พร้อมทั้งแอบไว้ลายเล็กๆ กับอันดับแข่งขันว่ายตรงซึ่งทีมลูกชุบคว้าที่ 4 มาครอง

ทั้งสามคนเผยกับทีมข่าวด้วยว่าเคยผ่านการประดิษฐ์หุ่นยนต์ประเภท อื่นๆ มาก่อน อภิรักษ์เคยทำหุ่นยนต์เดินได้ วัชรินทร์เคยทำหุ่นยนต์วิ่งแข่ง ส่วนอัลญาเคยทำหุ่นยนต์แมลงที่มีมอเตอร์ยกตัวหุ่นยนต์ แต่หุ่นยนต์ทุกตัวที่พวกเขาเคยผ่านมานั้นเป็นหุ่นยนต์ที่อยู่บนบกและไม่เคย มีตัวไหนได้ลงน้ำเหมือนครั้งนี้ ซึ่งความแตกต่างที่พวกเขาได้เรียนรู้คือบนบกจะมีแรงโน้มถ่วงมากกว่าในน้ำ ขณะที่ในน้ำจะมีแรงยกตัวด้วย อีกทั้งพวกเขายังต้องเรียนรู้การเคลื่อนที่ของปลาและศึกษาการเขียนภาษาซี เพื่อโปรแกรมหุ่นยนต์ซึ่งอัลญาบอกว่าไม่เคยเรียนในห้องเรียนมาก่อน

คนที่ปลื้มกับกิจกรรมในค่ายครั้งนี้ที่สุดเห็นจะไม่พ้น ผศ.ดร.สโรช ไทรเมฆ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผู้ศึกษาหุ่นยนต์ ปลามาหลายปีและเป็นวิทยากรในค่ายหุ่นยนต์ปลานี้ทั้งสองค่าย เขาบอกกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ครั้งนี้หุ่นยนต์ปลาแตกต่างจากครั้งก่อนตรงที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งได้เรียนรู้จากค่ายครั้งก่อนทำให้เกิดแรงต้านในการว่ายน้ำลดลงและว่าย น้ำได้อย่างไม่มีปัญหา อีกทั้งยังไม่มีปัญหา "หางหลุด" เหมือนค่ายที่ผ่านมา

ที่สำคัญเด็กๆ ในค่ายมีเวลามากขึ้นกว่าค่ายครั้งก่อน และยังได้ไปเรียนรู้การเคลื่อนที่ของปลาจริงๆ ที่ "วังปลา" ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ ผศ.ดร.สโรชบอกด้วยว่า ค่ายครั้งก่อนนั้นมีคนอยากเรียนอิเล็กทรอนิกส์แต่ไม่ ได้เรียน ครั้งนี้จึงได้สอนเรื่องไมโครคอนโทรลเลอร์และการเชื่อมต่อสัญญาณ วิทยุกับมอเตอร์ แต่การเชื่อมต่อดังกล่าวทำให้กำลังมอเตอร์ลดลง ดังนั้นเด็กๆ จึงได้เรียนรู้ แต่ในขั้นปฏิบัติจริงไม่ได้นำไปใช้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลาด้วย

นอกจากนี้เบื้องหลังความสำเร็จในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลายังมี "พี่เลี้ยง" จากคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มจธ. ที่คอยให้คำแนะนำการประดิษฐ์หุ่นยนต์ เตรียมอุปกรณ์ เตรียมความพร้อมของสนามแข่ง และบางคนก็รับหน้าที่เป็นกรรมการแข่งขัน ซึ่งจักรพันธ์ ชวนอาษา นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. และอนุสรณ์ เลิศศักดิ์ศรีสกุล นักศึกษาปริญญาโทจากภาควิชาเดียวกัน ผู้อยู่ในทีมพี่เลี้ยงบอกว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลานั้น ดัดแปลงมาจากอุปกรณ์รถบังคับวิทยุ และในทีมพี่เลี้ยงยังมีนักศึกษาปริญญาเอกที่ศึกษาเรื่องเรือดำน้ำมาให้คำ แนะนำเด็กๆ ในค่ายด้วย

จักรพันธ์และอนุสรณ์บอกว่า รูปร่างของหุ่นยนต์ ครีบและหางเป็นปัจจัยให้ปลาว่ายน้ำได้เร็วและเคลื่อนไหวได้ ซึ่งชุดครีบนั้นเป็นส่วนที่ติดไปด้านข้างของหุ่นยนต์ปลาช่วยปรับทิศทางให้ หุ่นยนต์ว่ายได้ตรงขึ้น แต่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ซึ่งทีมที่ใส่ครีบนั้นจะได้เปรียบในการแข่งขันว่ายตรงเป้า แต่สำหรับทีมที่ไม่ได้ใส่ครีบและมีปัญหาในการว่ายตรงจะแก้เกมโดยการเอียง หุ่นยนต์ตรงจุดเริ่มต้นก่อนการแข่งขัน

"ตอนนี้ฮ่องกงเขาประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลาออกมาขายเป็นของเล่น ดำน้ำได้ แต่สำหรับของไทยยังตามเขาอยู่" จักรพันธ์บอกถึงความก้าวหน้าของแวดวงหุ่นยนต์ปลา
ส่วนที่เหลือ

ขอบคุณastv

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เครื่องเร่งอนุภาคซิงโครตรอน

เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) ให้พลังงานแก่อนุภาคที่มีประจุ (charge) ด้วยแรงทางไฟฟ้า โดยมีทั้งเครื่องแบบตรง เรียกว่า linear accelerator (linac) และแบบโค้ง (circular accelerator) ในที่นี้เราจะมาพูดถึงเครื่องชนิดที่เรียกว่าซิงโครตรอน ซึ่งเป็นเครื่องแบบโค้งแบบหนึ่ง

เครื่องเร่งที่สามารถให้พลังงานที่สูงที่สุดกับอนุภาคในปัจจุบันนั้น เป็นเครื่องแบบซิงโครตรอน (synchrotron) ภายในซิงโครตรอนนั้น จะมีอนุภาควิ่งเป็นวงโค้ง เนื่องด้วยการใช้แม่เหล็กจำนวนมากซึ่งวางอยู่เป็นระยะๆ ตลอดแนวเครื่องเร่ง มาสร้างแรงแม่เหล็ก (F = q v B) ให้แก่อนุภาค โดยหลักๆแล้วจะมีแม่เหล็กแบบสองขั้ว (dipole) ใช้ในการปรับทิศทาง และ แบบสี่ขั้ว (quadrupole) สำหรับบีบ (focus) ลำอนุภาค นอกจากนี้ยังมีแม่เหล็กย่อยๆ ซึ่งต้องมาช่วยให้อนุภาควิ่งไปตามทางที่เราต้องการ

รัศมีความโค้ง (radius of curvature) ของอนุภาคในซิงโครตรอนจะมีค่าคงที่ เพราะว่าสนามแม่เหล็กของซิงโครตรอน จะถูกปรับให้เพิ่มตามพลังงานของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น (ยิ่งแม่เหล็กมีความแรงสูง อนุภาคก็ยิ่งถูกบีบเป็นวงเล็กๆ) ซิงโครตรอนจึงมีรูปร่างคล้ายแหวนวงใหญ่ (หรือกำไลข้อมือ ตามแต่ใครจะมอง) โดยที่ตรงกลางเป็นที่ว่าง

ซิงโครตรอนมักจะไม่ทำงานโดยตัวเองเครื่องเดียว แต่มักจะรับอนุภาคพลังงานสูงที่ถูกป้อนมาจากเครื่องเร่งอนุภาคชนิดอื่นเช่น Cockcroft-Walton, Van de Graaff, หรือ เครื่องเร่งแบบตรง (Linac)

อนุภาคจะถูกเพิ่มพลังงานด้วยสนามไฟฟ้าในขณะที่วิ่งผ่านช่อง radio-frequency (RF) cavity ซึ่งจะวางอยู่ที่ในตำแหน่งหนึ่งของซิงโครตรอน เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้าวิ่งเป็นวงโค้งมันจะเสียพลังงานในรูปของคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้า พลังงานที่ได้รับจาก RF cavity นี้จะช่วยชดเชยพลังงานที่เสียไปนี้

เครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่สามารถทำให้อนุภาคที่มีมวลต่ำมีความเร็วเข้าใกล้ ความเร็วแสง (c = 300 ล้านเมตรต่อวินาที) ซึ่งจะทำให้มีพลังงานเท่ากับ
E = sqrt(p2 c2 + m2 c4)
โดยที่ p คือโมเมนตัม และ m คือมวลของอนุภาค

เครื่องซิงโครตรอนเครื่องแรกที่ใช้เร่งโปรตอน ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1952 มีชื่อว่า คอสโมตรอน (Cosmotron) โดยตั้งขึ้นที่ Brookhaven National Laboratory (BNL) ในรัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริการ รัศมีโดยเฉลี่ยของเครื่องมีค่า 10 เมตร และสามารถเร่งโปรตอนได้ถึง 3 GeV

สองปีถัดมา ซิงโครตรอนอีกเครื่องหนึ่ง ชื่อ Bevatron (สมัยก่อน GeV ใช้คำว่า BeV = billion eV) ก็ได้ถูกสร้างขึ้นที่เบิร์กลีย์ ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา โดย Bevatron มีรัศมีราว 18.2 เมตร ซึ่ง ณ ที่นี่เองที่ปฏิอนุภาคของโปรตอนและนิวตรอน คือ antiproton (1955) และ antineutron (1956) ได้ถูกค้นพบ ปัจจุบัน เครื่องซิงโครตรอนมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก โดยมีเส้นรอบวงเป็นหลายกิโลเมตร (ยาวกว่าสนามฟุตบอล) อย่างเครื่อง Relativistic Heavy Ion Collider ในนิวยอร์ค และ Fermilab ในชิคาโก

ไม่ใช่ว่าอเมริกาจะมีเครื่องซิงโครตรอนใหญ่ๆ อยู่ประเทศเดียว เครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) ซึ่งตั้งอยู่บนชายแดนฝรั่งเศส-สวิสเซอร์แลนด์ เป็นเครื่องซิงโครตรอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้ (2007) ด้วยเส้นรอบวงถึง 27 กม. LHC จะสามารถเร่งโปรตอนได้จนถึง 7 TeV ซึ่งจะสร้างพลังงานในการชนกันสูงถึง 14 TeV นอกจากนี้ยังสามารถเร่งไอออนชนิดอื่นๆได้อีก (โปรตอนจะถูกเร่งได้ง่ายที่สุด เพราะมีมวลน้อยที่สุด) โดยตัวที่สำคัญคือตะกั่ว (Pb) โดย LHC จะสร้างพลังงานได้ถึง 5.5 TeV ต่อคู่นิวคลีออนของตะกั่ว

พลังงานที่มหาศาลของเครื่องซิงโครตรอน สามารถที่จะสร้างให้เกิดอนุภาคชนิดต่างๆ ออกมาได้มากมาย อีกไม่นานหลังจากการเดินเครื่อง เราก็จะได้นำข้อมูลต่างๆจากการทดลองในเครื่องซิงโครตรอนพลังงานสูง เช่น LHC และ อื่นๆ เหล่านี้ มาศึกษาฟิสิกส์ของอนุภาคพื้นฐานเช่น ควาร์ก (quarks) เลปตอน (leptons) และอื่นๆที่น่าสนใจต่อไป

แบบของเครื่องซิงโครตรอนจากเอนไซโคลพิเดีย Britannica


วิศวกรของ Large Hadron Collider ข้างๆแม่เหล็ก


ขอบคุณวิชาการ.คอม

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

ทฤษฎีใหม่แปลกประหลาดที่สุด “มนุษย์ต่างดาว”สละชีวิต ป้องกันโลกมนุษย์

“ต่างดาว”สละชีวิต ป้องกันโลกมนุษย์

หนังสือพิมพ์เดอะซัน รายงานว่า ดร.ยูริ แลบวิน นักวิทยาศาสตร์รัสเซียและประธานมูลนิธิปรากฏการณ์อวกาศทังกัสกา (Tunguska Spatial Phenomenon) เสนอสมมติฐานสุดพิสดาร ว่า มนุษย์ต่างดาวยอมสละชีวิตขับยานสกัดกั้นอุกกาบาตขนาดยักษ์ เพื่อป้องกันไม่ให้พุ่งชนทำลายล้างโลกเมื่อร้อยปีก่อน

ดร.แลบวิน อ้างว่าพบแผ่นแร่ควอตซ์ประทับเครื่องหมายแปลกๆ ซึ่งคาดว่าเป็นชิ้นส่วนห้องบังคับการของยานอวกาศต่างดาว ตกอยู่ใกล้กับจุดที่เกิดการระเบิดลึกลับขนาดรุนแรง 15 เมกะตันในป่าทังกัสกา เขตไซบีเรีย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2451 และยังพบแร่เฟอร์รัม ซิลิเกต ที่ผลิตบนพื้นโลกไม่ได้ ยกเว้นแต่ในอวกาศ

“แผ่นแร่ควอตซ์ที่พบเป็นหลักฐานยานอวกาศจงใจพุ่งชนอุกกาบาตเพื่อสกัดการพุ่งชนโลก” ดร.แลบวิน ระบุ

ด้าน นายนิก โป๊ป ผู้เชี่ยวชาญจานบินจากนอกโลก ซึ่งสำรวจหลุมระเบิดในไซบีเรียในนามกระทรวงกลาโหมอังกฤษ กล่าวว่า ทฤษฎีใหม่ของดร.แลบวินถือว่าแปลกประหลาดที่สุด ทำให้คงต้องมีการวิเคราะห์แผ่นแร่ควอตซ์ดังกล่าวเพื่อพิสูจน์ความจริง

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

"หุ่นยนต์แมลงยักษ์" บินตรงจากญี่ปุ่นร่วมโชว์ตัวในงานมหกรรมวิทย์ 52

หุ่นยนต์ตั๊กแตนยักษ์ ใหญ่กว่าของจริง 70 เท่า กระโดดได้ไกล 30 เมตร (ภาพจาก อพวช.)

มหกรรมวิทย์ปีนี้จัดสุดยิ่งใหญ่ ยกหุ่นยนต์แมลงยักษ์จากญี่ปุ่นร่วมโชว์ในงาน หวังจุดประกายให้เด็กไทยเกิดจินตนาการด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และพาเยาวชนเข้าร่วมผจญภัยไปในอวกาศ เนื่องในปีดาราศาสตร์สากล ด้วยภาพยนตร์ 3 มิติสุดตระการตา และนิทรรศการน่ารู้อีกมากมาย พร้อมสร้างความมั่นใจให้ผู้เข้าร่วมงานด้วยมาตรการคุมเข้มเพื่อป้องกันไข้ หวัดใหญ่ 2009 แพร่ระบาดในงาน

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) แถลงข่าวการจัดงาน "มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552" ภายใต้แนวคิด "วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า" ที่ปีนี้จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และเพื่อฉลองครบรอบ 30 ปี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8-23 ส.ค. ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วท. กล่าวว่า งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย โดยในปีนี้ได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี กระทรวงวิทย์ และได้รับความร่วมมือจากอีก 6 กระทรวงที่เข้าร่วมจัดงานในครั้งนี้ด้วย ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอีกว่า 70 หน่วยงาน

"อยาก ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนไทย ได้เข้ามาสัมผัสและเรียนรู้ถึงความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ของไทยและทั่วโลก ว่าก้าวไกลไปถึงไหนแล้ว เพื่อจุดประกายความคิดด้านวิทยาศาสตร์ให้กับคนไทย" ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าว

ด้าน ดร.พิชัย สนแจ้ง ผู้อำนวยการ อพวช. ในฐานะผู้จัดงานกล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์เพิ่มเติมว่า ไฮไลต์ของงานในปีนี้คือ นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระปรีชาสามารถในด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วน ไฮไลต์ของนิทรรศการที่นำมาจัดแสดงคือ หุ่นยนต์แมลงขนาดยักษ์จากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ หุ่นยนต์ตั๊กแตน หุ่นยนต์แมงป่อง และหุ่นยนต์แมงมุม ซึ่งเคยจัดแสดงมาแล้วทั่วโลก

หุ่นยนต์แมงมุมทาแรนทูร่ามีระบบเซ็นติดอยู่ด้วย เมื่อเข้าใกล้มันจะแสดงท่าทางกำลังชักใย พร้อมกับเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนหุ่นยนต์แมงป่องสามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ส่วนหางและก้ามได้เหมือนแมงป่องจริง ขณะที่หุ่นยนต์ตั๊กแตนที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดจริงถึง 70 เท่า สามารถเคลื่อนไหวลำตัวและปีกได้ และกระโดดได้สูงถึง 3 เมตร

"หุ่นยนต์แมลงยักษ์จากญี่ปุ่นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ที่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติได้ และที่เลือกนำหุ่นยนต์แมลงมาจัดแสดงก็เพื่อให้สอดคล้องกับนิทรรศการความหลาก หลายทางชีวภาพ ที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 200 ปี ชาร์ลส ดาร์วิน และอยากให้เด็กๆ ที่ได้มาชมหุ่นยนต์แมลงเกิดจินตนาการและแนวคิด หากเราจะพัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาจะต้องมีมุมมองและความรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง" ดร.พิชัย กล่าวถึงไฮไลต์ของงาน
หุ่นยนต์แมงป่องยักษ์ (ภาพจาก อพวช.)


อีกทั้งจะมีการจัดแสดงหุ่นยนต์ต่างๆ ทั้งหุ่นยนต์ยักษ์ที่สูงที่สุดในโรง ออปตรา บอต (OPTRA BOT) จากภาพยนตร์ดัง ทรานส์ฟอร์เมอร์ส 2 (Transformers 2) และหุ่นยนต์จากภาพยนต์และการ์ตูนขวัญใจเด็กๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการเฉลิมฉลองปีดาราศาสตร์สากล พร้อมด้วยความตื่นเต้นตระการตากับการแสดงภาพยนตร์ 3 มิติ การเคลื่อนที่ของดวงดาวในเอกภพ และสัมผัสประสบการณ์ผจญภัยไปในอวกาศ รวมทั้งการผจญภัยบนยานสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบเสมือนจริง 4 มิติ (4D Simulator) เพื่อเรียนรู้วิกฤตการโลกร้อนและการแก้ไขปัญหาได้ครบทุกรส และยังมีนิทรรศการอีกมากมายที่เยาวชนสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้จากชิ้น งานที่จับต้องได้จริง และ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในช่วงนี้มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคดังกล่าว ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในครั้งนี้ ดร.คุณหญิงกัลยา เผยว่าทางกระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขวางมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ทั้งมาตรการด้านสถานที่และผู้เข้าร่วมงาน ที่จะมีการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยเครื่องเทอร์โมแสกนร่วมกับซอฟต์แวร์เทอม สกรีนของเนคเทคที่ติดตั้งไว้รวม 9 จุด

หากพบผู้ที่สงสัยว่าป่วยเป็นเป็นไข้หวัดใหญ่ ก็จะแยกตัวไว้ในห้องพิเศษเพื่อรอดูอาการ ส่วนภายในงานก็จะมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือไว้บริการทั่วบริเวณงาน พร้อมทั้งให้บริการสอนทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือด้วย
หุ่นยนต์แมงมุมทาแรนทูรายักษ์ (ภาพจาก อพวช.)

ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตั้งแต่วันที่ 8-23 ส.ค. 2552 (ยกเว้นวันที่ 9 ส.ค.) เวลา 9.00-20.00 น. ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อพวช. โทร 0-2577-9999 หรือ www.nsm.or.th

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันภาษาไทย แห่งชาติ


ภูมิใจหรือเปล่า ที่เกิดมาเป็รฅนไทย มีภาษาใช้ และเขียนเป็นของตัวเอง แต่ฅนไทยบางส่วนกลับไม่ภูมิใจในความเป็นฅนไทยของตัว หลงลืมไปว่าฉันมีดีกว่าชาติอื่นเป็นไหนๆ แตากลับไปนิยมชมชอบกัยภาษาวัฒนธรรมชาติอื่น ว่าของเขาเจริญแล้วดีแล้ว เคยคิดบ้างไหมว่าถ้าเราไม่มีภาษาเป็นของเราเอง เราจะใช้ภาษาอะไร และภาษาไทยของเราถือว่าเป็นภาษาที่เขียน สะกดภาษาอื่นๆได้ครบถ้วนที่เดียว ถ้าอย่างนั้นเรามาช่วยอนุรักษ์ภาษาไทยกัน....เถอะด้วยการเขียนพูดภาษาไทย ให้ถูกต้องตัวอักษรภาษาไทยบ้างตัวไม่ได้นำมาใช้แล้วรู้หรือไม่ เช่นที่เราชาว Gangof4wd ใช้กันเสมอคือ "ฅ.ฅน" ยังจำได้ไหม ว่าปัจจุบันไม่ใช้แล้ว แล้วเราไม่ช่วยกันอนุรักษ์ กันอีกหรือ.......ขอรับ

ความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ
สืบ เนื่องจากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย รวมถึงเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและ ความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์,วันสื่อสารแห่งชาติ เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
สำหรับ เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาตินั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง


สำหรับ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."


นับ เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"


นอก จากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น
วัตถุประสงค์ในการจัดวันภาษาไทยแห่งชาติ มีดังต่อไปนี้


1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย


2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542


3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป


4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ ให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น


5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชนทั่วประเทศ มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชน ทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ


ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากการมีวันภาษาไทยแห่งชาติ
1. วันภาษาไทยแห่งชาติ จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ "ภาษาประจำชาติ" ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ


2. บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ


3. ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทย ตลอดไป


กิจกรรมในวันภาษาไทยแห่งชาติ


กิจกรรม ในวันนี้ ก็จะมีทั้งของสถาบันการศึกษา,หน่วยงานภาครัฐฯ และเอกชน ที่จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการ,การอภิปรายทางวิชาการ,การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน เป็นต้น


ภาษา ไทยถือเป็นภาษาแห่งชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่เราคนไทยควรภาคภูมิใจ เพราะบางประเทศไม่มีแม้กระทั่งภาษาที่เป็นของตัวเอง ดังนั้นเราควรอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่ และสืบทอดต่อไปให้ลูกหลานได้ศึกษา หากเราคนไทยไม่ช่วยกันรักษาไว้ สักวันหนึ่งอาจจะไม่มีภาษาไทยให้ลูกหลานใช้ก็เป็นได้

อ่านต่อกด..จ๊ะ.

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเกิดสุริยุปราคา







การเกิดสุริยุปราคา

ปี 2552 เป็นปีที่สำคัญอย่างยิ่งที่องค์การยูเนสโก และสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลยกย่อให้เป็นปีดาราศาสตร์สากล เป็นปีการเฉลิมฉลองครบรอบ 400 ปีการค้นพบครั้งสำคัญทางดาราศาสตร์ คือการใช้กล้องโทรทรรศน์สำรวจดวงดาวเป็นครั้งแรกโดย กาลิเลโอ และการตีพิมพ์ผลงานเรื่อง Astronomia nova ของโยฮันเนส เคปเลอร์ กอปรกับในปี 2552 นี้ยังนับเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะได้ชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาถึงสองครั้ง ด้วยกัน

ครั้งแรกคือวันที่ 26 มกราคม 2552

ซึ่งตรงกับวันตรุษจีนจะเกิดสุริยุปราคาวงแหวนพาดผ่านบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกของอินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยจะเห็นสุริยุปราคาบางส่วน สามารถดูทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่เวลา 16.08 น. ที่ จ.เชียงราย แล้วไปสิ้นสุดที่ จ. นราธิวาส เวลา 18.00 น. ส่วนในกรุงเทพฯ ดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่หนึ่ง เวลา 15.53 น. สิ้นสุดเวลา 17.58 น. ทั้งนี้ทางภาคใต้จะได้รับชมนานที่สุดประมาณ 2 ชั่วโมง 22 นาที ในพื้นที่ จ. นราธิวาส ดวงอาทิตย์จะถูกบดบังถึงร้อยละ 54.9 ทางท้องฟ้าทิศตะวันตก

ครั้งที่สองคือวันที่ 22 กรกฎาคม 2552

เป็นวันที่สุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21โดยเส้นทางเงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และหมาสมุทรแปซิฟิกใต้ ส่วนสุริยุปราคาบางส่วนเห็นได้เป็นบริเวณกว้างตามเส้นทางที่เงามัวของดวง จันทร์พาดผ่าน ได้แก่ เอเชียตะวันออกทั้งหมด อินโดนีเซียและมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้กินเวลานานที่สุดในศตวรรษที่ 21 คือ 6 นาที 39 วินาที ที่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ สำหรับประเทศไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน และสามารถเห็นได้ทุกภูมิภาค โดยแต่ละภูมิภาคจะเห็นปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน ที่กรุงเทพฯ นั้นดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่หนึ่งในเวลาประมาณ 07.06 น. และสิ้นสุดเหตุการณ์ในเวลา 09.08 น. ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในครั้งนี้จะเกิดนานที่สุดในภาคเหนือ คือประมาณ 2 ชั่วโมง 12 นาที ที่จังหวัดเชียงราย โดยดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 69 ของพื้นที่ดวงอาทิตย์

ปรากฏการณ์ “สุริยุปราคา”

สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ซึ่งหาดูได้ยากเนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เอียงทำมุม 5 องศา กับวงของโคจรของโลก โอกาสที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกจะโคจรมาอยู่ในระนาบเป็นเส้นตรงเดียวกันจึงไม่เกิดขึ้นทุกเดือน ประกอบกับดวงจันทร์มีขนาดเล็กและโลกหมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลา ทำให้เงาของดวงจันทร์ทาบไปยังพื้นโลกไม่ซ้ำที่กัน โอกาสที่จะเห็นสุริยุปราคาในประเทศไทยจึงมีไม่มากนัก

“สุริยุปราคา” หรือ “สุริยคราส” เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกิดจากดวงจันทร์ โลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกับดวงอาทิตย์ โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง ดังนั้นหากมองจากพื้นโลกจะทำให้เห็น ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ ซึ่งขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่บังแสงอาทิตย์จะทำให้เกิดเงาพาดลงมาที่พื้น ผิวโลก 2 ชนิดคือ เงามืด และ เงามัว

เงามืด (Umbra) คือ บริเวณที่มิดที่สุด เนื่องจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์อย่างสมบรูณ์

เงามัว (Penumbra) คือ บริเวณที่ไม่มืดมากนักเนื่องจากได้รับแสดงบางส่วนจากดวงอาทิตย์

การเกิดสุริยุปราคา

ปกติแล้วระยะเวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการโคจรรอบโลกครบ 1 รอบพอดี คือ 1 เดือน ถ้าเช่นนั้นทุกๆ เดือน ดวงจันทร์จะมีโอกาสโคจรมาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์เสมอ แล้วทำไมจึงไม่เกิดสุริยุปราคาทุกเดือน ?


แล้วทำไมจึงไม่เกิดสุริยุปราคาทุกเดือน ?

ทั้งนี้เพราะระนาบการโคจรของดวงจันทรจะเอียงประมาณ 5 องศากับระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จึงมักเคลื่อนไปอยู่ทางเนือหรือทางใต้ของเส้นตรงระหว่างโลกกับดวง อาทิตย์เสมอ เงาของดวงจันทร์จึงไม่ตกทอดลงบนโลก แต่ทอดลงไปในอวกาศแทน ช่วงที่จะเกิดสุริยุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่ที่จุดตัดหรือใกล้จุดตัดของระนาบเท่านั้น ซึ่งปกติวงโคจรของดวงจันทร์จะตัดกับวงโคจรของโลกเพียง 2 จุดเท่านั้นตลอดระนาบโคจร จุดตัดระนาบ 2 จุดก็ไม่ใช่จุดตัวเดิมทุกครั้ง แต่จะเคลื่อนจากทิศตะวันออกไปยังตะวันตก หรือเรียกว่าการเดินถอยหลัง (regression) การเคลื่อนไปทางตะวันตกเกิดเนื่องจากความแตกต่างของเวลาที่เรารู้จัก คือเดือน นั่นเอง

นอกจากนี้การเกิดสุริยุปราคาในแต่ละครั้ง บริเวณที่มองเห็นจะเปลี่ยนสถานที่ไปเรื่อยๆ เพราะโลกหมุนรอบตัวเอง อีกทั้งในแต่ละบริเวณที่มองเห็นก็จะเห็นการเกิดสุริยุปราคาในลักษณะที่แตก ต่างกัน เนื่องจากระยะห่างของ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก รวมทั้งลักษณะของเงาที่ทอดลงมาบนพื้นโลกนั่นเอง โดยเราสามารถแบ่งประเภทการเกิดสุริยุปราคาหลักๆ ได้ 3 ประเภทด้วยกัน


- สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งเงามืดบนพื้นโลก (A) จะเห็นดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์

- สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งเงามัว (B) จึงมองเห็นดวงอาทิตย์สว่างเป็นเสี้ยว

- สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตการณ์อยู่ในตำแหน่งเงามืดบนพื้นผิวโลก (C) แต่เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์เป็นรูปวงรี ส่งผลให้บางครั้งดวงจันทร์ห่างจากโลกมากเสียจนเงามืดของดวงจันทร์จะทอดยาว ไม่ถึงผิวโลก (C) เราจึงเห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ทำให้ผู้สังเกตการณ์มองเห็นดวงอาทิตย์เป็นรูปวงแหวน


วิธีดูสุริยุปราคาอย่างปลอดภัย

แสงอาทิตย์มีพลังงานสูง การมองดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าสามารถทำให้ตาบอดได้ การมองดูดวงอาทิตย์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ หรือกล้องส่องทางไกล โดยปราศจากแผ่นกรองแสดงจะทำให้ตาบอดในทันที การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ให้ปลอดภัยมี 3 วิธีดังนี้

1. มองดูด้วยตาเปล่าโดยใช้แผ่นกรองแสงอาทิตย์ (Solar Filter) แผ่นกรองแสงจะกรองพลังงานของแสงอาทิตย์ออกไปมากว่า 99% แสงที่เหลือจึงไม่สามารถทำอันตรายแก่ดวงตาได้ แผ่นกรองแสงอาทิตย์ที่นำมาใช้ ควรเป็นแผ่นกรองแสงที่มีคุณภาพและถูกสร้างขึ้นเพื่อกรองแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ ได้แก่ แผ่นไมลาร์ กระจกเคลือบโลหะ เป็นต้น กรณีที่หาซื้อแผ่นกรองแสงอาทิตย์ไม่ได้จริงๆ อาจใช้วัสดุอื่นแทนได้ เช่น นำแผ่นฟิลม์เอกซเรย์มาซ้อนกันอย่างน้อย 2 ชั้น ทั้งนี้การมองดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยไม่ใช่แผ่นกรองแสง จะทำได้ตอนที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้าเวลารุ่งเช้า หรือยามเย็นเท่านั้น

2. มองผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งแผ่นกรองแสงอาทิตย์ (Solar Filter) การดูดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์จะช่วยให้เห็นรายละเอียดของพื้นผิวบนดวง อาทิตย์ ได้แก่ Sunspots อย่างไรก็ตามฟิลเตอร์ที่ใช้จะต้องมีคุณภาพสูง ฟิลเตอร์ที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์มีหลายชนิด เช่น ฟิลเตอร์ไฮโดรเจน -อัลฟา จะช่วยให้เห็นพวกก๊าซบนดวงอาทิตย์ ทว่าฟิลเตอร์ชนิดนี้มีราคาแพง, ฟิลเตอร์ชนิดไมล่าเป็นแผ่นโลหะบางๆ มีราคาถูกกว่า ทำให้เห็นดวงอาทิตย์เป็นสีขาว หรือสีฟ้าอื่น, ฟิลเตอร์ชนิดกระจกเคลือบโลหะ ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์เป็นสีส้นหรือสีเหลือง ฟิลเตอร์ที่มีคุณภาพจะถูกนำมาติดตั้งไว้ที่หน้ากล้อง เพื่อกรองแสงอาทิตย์ไม่ใช้เข้าสู่กล้องโทรทรรศน์มากเกินไป


อย่างไรก็ตามกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กมักจะแถมฟิลเตอร์ขนาดเล็กติดตั้งไว้ที่ เลนส์ตา ซึ่งไม่ควรใช้ในการดูสุริยุปราคาโดยเด็ดขาด เพาะว่าเมื่อเลนส์วัตถุรวมแสงอาทิตย์เช้าสู่ลำกล้อง อุณหภูมิภายในลำกล้องจะสูงมาก ฟิลเตอร์อาจจะถูกทำลายด้วยความร้อนและแสงอาทิตย์จะพุ่งเข้าสู่เลนส์ตา ทำให้ผู้ชมตาบอดทันที ข้อพึงระวังอีกประการหนึ่งคือ จะต้องปิดฝากล้องเล็งดาวตลอดเวลา กล้องเล็งดาวเป็นกล้องรวมแสงเช่นเดียวกับกล้องดูดาว หากเปิดไว้มีคนมาส่องดูก็จะตาบอดทันทีเช่นกัน

3. วิธีโปรเจคชั่น ทำได้โดยใช้กล้องโทรทรรศน์รับแสงอาทิตย์ แล้วตั้งฉากรับภาพที่ออกมาจากเลนส์ตา วิธีนี้ช่วยให้สามารถดูดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ได้ทีละหลายๆ คน ไม่เสียเวลา อย่างไรก็ตามก่อนใช้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า กล้องและเลนส์ที่นำมาใช้ต้องไม่มีชิ้นส่วนที่ทำด้วยพลาสติก เพราะเลนส์จะรวมแสงจนเกิดความร้อน จนทำให้ชิ้นส่วนละลายได้



ข้อพึงระวังในการดูดวงอาทิตย์
1. การจ้องดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า จะทำให้ตาบอดในระยะยาว
2. การดูดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์โดยปราศจากแผ่นกรองแสงอาทิตย์ จะทำให้ตาบอดในทันที
3. การจัดกิจกรรมดูดวงอาทิตย์ จะต้องมีผู้มีความรู้คอยดูแลให้คำแนะนำอยู่ตลอดเวลา


เกร็ดความรู้ !!
เราเห็นดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ ทั้งที่มีขนาดเล็กกว่าได้อย่างไร ?

ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวมากกว่าดวงจันทร์ประมาณถึง 400 เท่า แต่ในขณะเดียวกันโลกก็อยู่ห่างจากดวงจันทร์ราว 400 เท่าด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเราแหงนหน้าขึ้นบนท้องฟ้า เราจึงมักจะมองเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีขนาดพอๆ กัน

อ่านต่อกด..จ๊ะ.