เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันนี้ 27 พฤศจิกายน ในอดีต

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) – อัลเฟรด โนเบล ได้เขียนพินัยกรรม ว่าหลังจากที่เขาตาย จะมีการให้รางวัลกับบุคคลที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น รางวัลนี้คือ รางวัลโนเบล
รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ 94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)


สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขาเศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ Royal Swedish Academy of Sciences. เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้รับเงินรางวัลจากมูลนิธิโนเบล แต่ได้รับเงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับรางวัลในสาขาอื่น ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกันกับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา ได้รับเหรียญตรา และจำนวนเงินเท่าเทียมกัน ซึ่งในตอนแรกนั้นกษัตริย์ออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศ นี้ให้กับคนต่างชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ารางวัลที่สำคัญ นี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มทำการออกอากาศโทรทัศน์สีเป็นครั้งแรกของเมืองไทย โดยทดลองถ่ายทอดสดรายการประกวดนางสาวไทย จากเวทีบริเวณงานวชิราวุธานุสรณ์ พระราชวังสราญรมย์


บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สองวันก่อนหน้าที่จะร่วมมือกับกองทัพบก เพื่อดำเนินการส่งโทรทัศน์สีตามมติและนโยบายของคณะกรรมการควบคุมวิทยุและ โทรทัศน์กองทัพบก ในสมัยที่ จอมพล ประภาส จารุเสถียรดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เริ่มทำการทดลองออกอากาศโทรทัศน์สี โดยใช้มาตรฐานการออกอากาศ CCIR 625 เส้น ในระบบ PAL เป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ด้วยการ ถ่ายทอดสด การประกวดนางสาวไทย ที่จัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานวชิราวุธานุสรณ์ จากพระราชวังสราญรมย์ โดยใช้ชื่อว่า “สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น