เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อย่าลืมวันนี้!!!!!!!!กลับมาอีกครั้งหวังว่าจะยิ่งใหญ่ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" ค่ำคืน 17 พ.ย.นี้

ภาพ ปรากฎการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์เมื่อปี 2544 ซึ่งบันทึกภาพโดย นายสุเมธี เพ็ชร์อำไพ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ของ สดร.เมื่อปี 2551


กลับมาอีกครั้งหวังว่าจะยิ่งใหญ่ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" ตั้งแต่กลางดึกของวันที่ 17 ถึงเช้าตรู่ 18 พ.ย.นี้ คาดมีปริมาณมากถึงชั่วโมงละ 100-500 ดวง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเห็นได้ดีสุดในโลก แนะชมตั้งแต่ 5 ทุ่มจะเห็นภาพสวยกว่าช่วงเกิดฝนดาวตกสูงสุด

ระหว่างแถลงข่าวกิจกรรม "Winter Sky มหัศจรรย์ปรากฏการณ์และกิจกรรมดาราศาสตร์แห่งปี" เมื่อวันที่ 9 พ.ย.52 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กล่าวว่า ระหว่างเดือน พ.ย.52-ก.พ.53 มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าติดตามหลายปรากฏการณ์ และเป็นช่วงทีท้องฟ้าในประเทศไทยเหมาะแก่การดูดาว เนื่องจากมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดความเย็นและอากาศแห้งมายังภูมิภาค ต่างๆ ของไทย

สำหรับวันที่ 17-18 พ.ย.นี้มีปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่เคยได้รับความสนใจมากในช่วงปี 2541 และปี 2544 โดยฝนดาวตกดังกล่าวเกิดจากสายธารฝุ่นดาวหาง 55พี/เทมเพล-ทัทเทิล (55p/tempel-Tuttle) และจากการคำนวณของนักดาราศาสตร์หลายคน ซึ่งรวมถึงนักดาราศาสตร์จากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) พบว่า ฝนดาวตกลีโอนิดส์จะเกิดจากสายธารฝุ่นที่ดาวหางทิ้งไว้เมื่อปี พ.ศ.2009 และ 2076

ปีนี้นักดาราศาสตร์หลายสำนักคำนวณตรงกันว่าจะมีฝนดาวตกเป็นร้อยดวง แต่ก็มีความแตกต่างกันบ้างโดยอยู่ในช่วง 100-500 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งจะเกิดฝนดาวตกมากที่สุดประมาณ 04.00-05.30 น.ของวันที่ 18 พ.ย.

ภาพจำลองการเกิดฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่มีจุดเรเดียนท์ (Radiant) หรือจุดกระจายฝนดาวตกอยู่ที่กลุ่มดาวสิงโต


อย่างไรก็ตาม ดร.ศรันย์กล่าวว่า จากที่ได้สังเกตปรากฏการณ์ฝนดาวตกมากกว่า 20 ปี พบว่าช่วงเวลา 23.00 น.เป็นช่วงเวลาที่เห็นฝนดาวตกได้สวยที่สุด

เหตุผล ที่ฝนดาวตกในช่วงเวลาดังกล่าวสวยที่สุด เพราะฝุ่นดาวหางจะผ่านชั้นบรรยากาศโลกแบบเฉียดๆ ไม่วิ่งเข้าตรงๆ เหมือนช่วงที่เกิดฝนดาวตกสูงสุด โดยจะเห็นดาวตกเป็นสายเหมือนขบวนรถไฟ และวิ่งผ่านชั้นบรรยากาศช้ากว่า ขณะที่ช่วงเกิดดาวสูงสุดซึ่งมีความเร็วถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที

“ฝน ดาวตกลีโอนิดส์นี้น่าทึ่งตรงที่เมื่อเกิด "ฝนดาวตกลูกไฟ" (fireball) จะเกิดความร้อนสูงมาก และเกิดแสงสีเขียว ซึ่งเกิดจากความร้อนที่ถูกทิ้งไว้และทำให้ออกซิเจนในอากาศเกิดการเรืองแสง ส่วนบางครั้งที่เห็นแสงสีเขียวเป็นทางหยึกหยักนั้นเนื่องจากอากาศที่ถูกลม พัด" ดร.ศรันย์กล่าว

สำหรับฝนดาวตกลีโอนิดส์ครั้งนี้ ดร.ศรันย์บอกว่า ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายที่หลายคนจะได้เห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ปริมาณมาก อีกทั้งทางเอเชียตะวันออกจะเห็นได้ดีที่สุด

อีกทั้ง นักดาราศาสตร์ที่วิจัยฝนดาวตกจะเดินทางมาศึกษาในภูมิภาคนี้ โดยการศึกษาฝนดาวตกทำให้ทราบสภาพแวดล้อมรอบโลก และการกระจายของฝุ่นละอองรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งที่สุดจะนำไปสู่ความเข้าใจกำเนิดระบบสุริยะ แต่สำหรับเมืองไทยยังไม่มีใครวิจัยฝนดาวตกอย่างชัดเจนนัก

"มี การศึกษาว่าทุกๆ กว่า 30 ปีจะมีฝนดาวตกลีโอนิดส์ปริมาณมหาศาลที่เป็น "พายุฝนดาวตก" และมีรายงานกว่าในปี 2376 ที่สหรัฐฯ ได้เห็นฝนดาวตกมากถึง 100,000 ดวงต่อชั่วโมง และเมื่อปี 2541 ก็คำนวณว่าจะเกิดพายุฝนดาวตก แต่ก็ผิดคาด จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มคำนวณเก่งขึ้นและพยากรณ์ว่าปี 2544 จะเกิดพายุฝนดาวตกอีกครั้ง 17-18 พ.ย.ตอนนั้นคาดว่าจะได้เห็นเยอะสุดในวันที่ 18 แต่ปรากฎว่ากลับเห็นเยอะในวันที่ 17” ดร.ศรันย์กล่าว

อย่างไรก็ดี ดร.ศรันย์บอกว่า การเกิดฝนดาวตกนั้นมีความไม่แน่นอน ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจไม่เกิดฝนดาวตกปริมาณ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสมากถึง 50%

นอกจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่สวยงามแล้ว ยังมีฝนดาวตกเจมินิดส์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 13-14 ธ.ค. โดยปีนี้เป็นโอกาสดีที่จะได้ติดตาม เพราะปีนี้ไม่มีแสงรบกวนจากดวงจันทร์ โดยฝนดาวตกชนิดนี้มีปริมาณมากถึง 100 ดวงต่อชั่วโมง แต่เป็นฝนดาวตกที่สว่างไม่มากนัก มีความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อนาที ซึ่งมีเวลาพอที่จะชี้ชวนกันดูได้ ไม่เหมือนฝนดาวตกลีโอนิดส์

สำหรับข้อแนะนำในการชมฝนดาวตกนั้น ดร.ศรันย์บอกว่า ให้นอนดูโดยช่วงเกิดฝนดาวตกสูงสุดจุดศูนย์กลางจะอยู่กลางศรีษะพอดี ส่วนการถ่ายภาพนั้นไม่อาจบอกได้ว่าจะถ่ายมุมไหน ต้องอาศัยการเดาหรือเปิดหน้ากล้องเพื่อรอให้ดาวตกวิ่งผ่านหน้ากล้อง เนื่องจากฝนดาวตกมีอัตราเร็วสูงมาก

ระหว่างเดือน พ.ย.จนถีง ก.พ.ปีหน้ายังมีปรากฎการณ์ดาราศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจและประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตได้ อาทิ ปรากฎการณ์จันทรุปราคารับปีใหม่ในวันที่ 1 ม.ค.53 ในเวลา 01.52-02.52 น. แต่เกิดคราสบังเพียงแค่ 10% เท่านั้น

จากนั้นเป็นปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วนวันที่ 15 ม.ค.53 ซึ่งทางจังหวัดในภาคเหนือ อย่าง จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่จะเห็นการบดบังของคราสได้มากที่สุดในพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ และเห็นส่วนหนึ่งของปรากฎการณ์สุริยุปราคาวงแหวนที่เกิดคราสเริ่มต้นที่ แอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย อินเดียตอนใต้ ศรีลังกาตอนบน พม่าและสิ้นสุดที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

ส่วนปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายฤดูหนาวคือการเข้าใกล้ของดาวอังคาร ในเดือน ม.ค.-ก.พ.53 ซึ่ง ดร.ศรันย์กล่าวว่า จะเห็นดาวสีแดงบนท้องฟ้าเด่นชัดมาก และในวันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดคือช่วงเช้าของวันที่ 28 ม.ค.เป็นระยะทาง 99,331,411 กิโลเมตร มีขนาดปรากฏ 14.11 ฟิลิปดา หรือประมาณหลุมเล็กๆ บนดวงจันทร์ โดยดวงจันทร์มีขนาดปรากฏ 30 ลิปตา ซึ่ง 1 ลิปคาเท่ากับ 60 ฟิลิปดา

ทั้งนี้ในวันที่ 30 ม.ค.53 เป็นที่ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาิทตย์ ซึ่ง ดร.ศรันย์กล่าวว่าเราจะได้เห็นดาวอังคารในช่วงพร้อมกับที่ดวงอาทิตย์ลับขอบ ฟ้า และจะเห็นชัดตลอดทั้งคืนจนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าในตอนเช้า และในช่วงนี้เราจะได้สังเกตพื้นผิวและปรากฏการณ์ฟ้าหลัว (Haze) บนดาวอังคารได้ชัดเจนขึ้น

ปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกนี้เกิดขึ้นทุกๆ 26 เดือน โดยครั้งที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดคือเมื่อ 28 ส.ค.46 ซึ่งเป็นการเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 5,000 ปี โดยดาวอังคารมีขนาดปรากฏ 25 ฟิลิปดา และเนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารเป็นวงรี โอกาสที่ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกโดยมีขนาดใกล้เคียงกับ 25 ฟิลิปดานี้ จะเกิดขึ้นทุกๆ 18 เดือน

ปรากฏการณ์นี้ ยังทำให้เกิดการส่งฟอร์เวิร์ดเมลที่มีข้อมูลคลาดเคลื่อนว่า เราจะได้เห็นดาวอังคารขนาดเท่าดวงจันทร์ เวียนมาถึงกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของเราทุกๆ 2 ปีด้วย
Data ASTV News

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น