เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไทยแดดเยอะแต่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์น้อยกว่าญี่ปุ่น 100 เท่า


บริษัท โอสถาสภา จำกัด แถลงข่าวโครงการ “M-150 Ideology ปฏิบัติการสร้างสรรค์นวัตกรรม โซลาร์เซลล์” พร้อมจัดวงเสวนา "โซลาร์เซลล์" ย่อมๆ ให้ความรู้แก่ผู้ร่วมงาน



ดร.พอพนธ์ สิชฌนุกฤษฏ์ (ภาพจากแฟ้มข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์)



กมล ตรรกบุตร กรรมการสภาวิศวกร



สุวัฒน์ เชาว์ปรีชา ประธานกรรมการบริหารบริษัท ฤทธา จำกัด



เอกชาติ หัตถา นักวิจัยโซลาร์เทค



รศ.ดร.สมชัย รัตนธรรมพันธ์ ภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



ผอ.โซลาร์เทคชี้ญี่ปุ่นมีแดดน้อยกว่าไทยแต่ ใช้โซลาร์เซลล์มากกว่าไทยร้อยเท่า แนะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับผู้ด้อยโอกาสในชนบท เผยคนไทยผลิตโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพสูง - ต้นทุนต่ำได้แล้ว ภาคเอกชนเสนอควรติดโซลาร์เซลล์ตามสถานที่ราชการสำรองไฟยามเกิดภัยพิบัติ

ด้วยเห็นว่าประเทศไทยเป็นเมืองร้อนและมีแสงแดดมากแบบไม่ต้องซื้อหา หากเปลี่ยนบางส่วนมาเป็นไฟฟ้าได้ คงประหยัดค่าพลังงานได้มาก ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ติดตามไปเก็บข้อมูลจากวงเสวนา “โซลาร์เซลล์ พลังงานทางเลือกในอนาคต” ซึ่งจัดขึ้นในงานแถลงข่าวเปิดโครงการ “M-150 Ideology ปฏิบัติการสร้างสรรค์นวัตกรรม โซลาร์เซลล์”

ดร.พอพนธ์ สิชฌนุกฤษฏ์ ผผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์แห่งชาติ (โซลาร์เทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวเปิดประเด็นผ่านเทปวิดีโอว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแสงแดดมากกว่าญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าแห่งพลังงานแสงอาทิตย์มาก

ทั้งนี้ ผอ.โซลาร์เทค ชี้ว่า ประเทศญี่ปุ่นมีปริมาณแสงแดดทั้งปีเพียง 70% ของบ้านเรา ทว่ากลับเป็นประเทศที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากกว่าไทยถึง 100 เท่า แสดงให้เห็นศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอยู่มาก ขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้นำออกมาใช้

“อีก ประมาณ 20 ปี ในปี พ.ศ.2573 ญี่ปุ่นตั้งเป้าที่จะผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ 10% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งประเทศ หรือคิดเป็นจำนวนไฟฟ้าที่ไทยเราใช้อยู่ทั้งหมดในปัจจุบัน” ดร.พอพนธ์ให้สัมภาษณ์ผู้จัดการวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม

แม้ปัจจุบันญี่ปุ่นยังมีพลังงานแสงอาทิตย์ใช้เพียง 1.7% หรือเพียง 10 กิกะวัตต์ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมดจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่ต่ำกว่า 100 กิกะวัตต์ใน 20 ปีข้างหน้า ทว่า ดร.พอพนธ์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้แน่นอน ซึ่งไฟฟ้า 1 กิกะวัตต์จะเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ถึง 1 โรงทีเดียว

นอกจากนี้ ดร.พอพนธ์ มองว่า สำหรับคนในตัวเมืองแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าอาจไม่มีความจำเป็นอะไรนัก ทว่า จะดียิ่งขึ้นหากเราจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไปผลิตกระแสไฟฟ้าแจกจ่ายให้กับชาว บ้านในชนบทห่างไกลที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จึงเป็นการขยายโอกาสการเข้าถึงไฟฟ้าสู่ผู้ด้อยโอกาส

อย่างไรก็ดี นายกมล ตรรกบุตร กรรมการสภาวิศวกร ให้ข้อมูลว่าจุดด้อยของพลังงานแสงอาทิตย์คือต้นทุนการผลิตที่สูงมาก โดยในยุคเริ่มต้นของพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยเมื่อราวปี 2520 ซึ่งเกิดวิกฤติพลังงานเหมือนปัจจุบัน ขณะ นั้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์มีต้นทุนวัตต์ละ 250 บาท การพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์รุ่นใหม่ให้มีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจึง เป็นสิ่งที่จำเป็น

ในจุดนี้ นายเอกชาติ หัตถา นักวิจัยโซลาร์เทค ให้ข้อมูลแก้ว่า ในปัจจุบันนักวิจัยไทยสามารถแก้ข้อจำกัดด้านต้นทุนการติดตั้งเซลล์แสง อาทิตย์ได้แล้ว โดย โซลาร์เทคสามารถผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิกอนได้ด้วยต้น ทุนต่ำกว่า 100 บาทต่อวัตต์ ขณะที่ประสิทธิภาพการแปลงแสงแดดเป็นไฟฟ้ายังเพิ่มขึ้นสูงสุด 15.7% ด้วย ดังนั้นการขยายผลสู่การเชิงพาณิชย์ด้วยนวัตกรรมแปลกใหม่จึงเป็นที่น่าสนใจติดตามมาก

ส่วนนายสุวัฒน์ เชาว์ปรีชา ประธานกรรมการบริหารบริษัท ฤทธา จำกัด แสดงความคิดเห็นว่า แม้ ปัจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์ยังมีราคาค่อนข้างแพงไปบ้าง แต่เราก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ในฐานะแหล่งจ่ายไฟสำรองในเวลาที่แหล่งเชื้อ เพลิงอื่นๆ ไม่สามารถใช้การได้ อาทิ เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างพายุนาร์กีส โดยสถานที่สำคัญทางราชการควรจะต้องมีไว้รับมือหากเกิดปัญหาโดยต้องไม่ชะล่า ใจ หรือประมาทว่าจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

ปิดท้ายที่ รศ.ดร.สมชัย รัตนธรรมพันธ์ ภาควิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปว่า การ พัฒนานวัตกรรมแสงอาทิตย์ที่เป็นที่ต้องการในอนาคตไม่จำเป็นต้องเป็นของที่มี ราคาแพงเท่านั้น แต่อยู่ที่การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งนั้นเองเป็นจุดที่เขาฝากโจทย์ให้คนรุ่นใหม่นำไปพัฒนานวัตกรรมเซลล์แสง อาทิตย์ของประเทศต่อไป

สำหรับโครงการ “M-150 Ideology ปฏิบัติการสร้างสรรค์นวัตกรรม โซลาร์เซลล์”จัด ขึ้นโดยบริษัท โอสถสภา จำกัด ภายใต้การสนับสนุนของโซลาร์เทค เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาจับกลุ่มกัน 10-12 คน เพื่อส่งแนวคิดนวัตกรรมเซลล์แสงอาทิตย์เข้าประกวด โดย 5 ทีมสุดท้ายจะได้รับการสนับสนุนทุนพัฒนานวัตกรรม 2 แสนบาท พร้อมนำผลงานไปติดตั้งใช้จริงในพื้นที่เป้าหมายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้สนใจดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.m-150.com .

data manager online

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น