เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ลายพาดกลอนบนดวงจันทร์เอนเซลาดัส

ดวงจันทร์เอนเซลาดัส

ยานแคสซีนีของนาซาได้เฉียดเข้าใกล้ดวงจันทร์เอนเซลาดัสด้วยระยะห่าง 175 กิโลเมตรจากพื้นผิว และได้ถ่ายภาพจำนวนหนึ่งไว้ นักดาราศาสตร์พบสิ่งน่าสนใจเป็นพิเศษในภาพจากแคสซีนีในครั้งนี้ เพราะพบรอยแตกหลายรอย ยาวประมาณ 130 กิโลเมตร ห่างกันราว 40 กิโลเมตร และเป็นแนวเกือบขนานกัน ต่อมานักดาราศาสตร์เรียกรอยเหล่านี้ว่า "ลายพาดกลอน"

การค้นพบครั้งนี้สนับสนุนผลการสำรวจก่อนหน้านี้ที่พบว่าขั้วใต้ของดวง จันทร์ดวงนี้ยังคงคึกคักไปด้วยกัมมันตภาพหลายอย่าง จากการสำรวจโดยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินก่อนหน้านี้พบว่าดวงจันทร์เอนเซลา ดัสสว่างวาบขึ้นมากว่าปรกติในช่วงที่หันขั้วใต้มาทางโลก
ดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์ ถ่ายภาพโดยยานแคสซีนีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ภาพขาวดำทางซ้ายมองเห็นพวยขนาดใหญ่ใกล้ขั้วใต้ของเอนเซลาดัส ส่วนภาพแปลงสีทางขวาแสดงพวยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก (ภาพจาก NASA/JPL/Space Science Institute)

รอยแตกนี้ทำหน้าที่เหมือนรูระบายสิ่งต่าง ๆ จากภายในดาวออกมา ซึ่งได้แก่ไอน้ำและละอองของผลึกน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งพุ่งออกจากรอยแตกนั้น ละอองน้ำแข็งนั้นจะตกผลึกเป็นน้ำแข็งใหม่ เมื่อผลึกถูกรังสีเป็นระยะเวลาหนึ่ง โครงสร้างผลึกก็จะค่อยสึกกร่อนไป การศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกจะทำให้ทราบระยะเวลาของกระบวนการกัด กร่อนและทำให้ทราบอายุของลายพาดกลอนนี้ได้ด้วย นักดาราศาสตร์พบว่ากระบวนการกัดกร่อนนี้เกิดขึ้นภายในเวลาเพียงไม่กี่สิบปี และการที่ปัจจุบันยังพบน้ำแข็งทั้งที่เป็นผลึกใหม่และผลึกเก่าดวงจันทร์ดวง นี้ แสดงว่ารอยแตกนี้ยังมีอายุน้อยอยู่มาก
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าใต้พื้นผิวน้ำแข็งของเอนเซลาดัสมีเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ ในรูปของเหลวอยู่ โดยได้รับความร้อนจากหินร้อนด้านล่าง เมื่อความดันน้ำมากขึ้น น้ำจะแทรกผ่านช่องระบายขึ้นสู่พื้นผิวพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นไอน้ำและละออง น้ำแข็ง (ภาพจาก NASA/JPL/Space Science Institute)

นั่นหมายความว่าดวงจันทร์เอนเซลาดัสยังเป็นดวงจันทร์ที่คุกรุ่นไปด้วย กัมมันตภาพ (activity) และมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาอย่างคึกคัก แต่สิ่งนี้เป็นปริศนาชวนคิดอยู่ไม่น้อย เพราะการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยามีความร้อนเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ แต่ดวงจันทร์เอนเซลาดัสมีขนาดเล็กมากเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น วัตถุที่เล็กขนาดนี้น่าจะเย็นและพ้นช่วงกัมมันต์ไปนานแล้ว แล้วเหตุใดดวงจันทร์ดวงนี้ยังคงรักษาความร้อนอยู่ได้ นั่นเป็นคำถามที่รอให้ขบคิดกันต่อไป

เอนเซลาดัสเป็นหนึ่งในดวงจันทร์เพียงไม่กี่ดวงในระบบสุริยะที่เป็นดวง จันทร์ที่มีกัมมันตภาพมาก ตัวอย่างดวงอี่นได้แก่ ดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ไทรทันของดาวเนปจูน

ข้อมูล สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น