เรียนท่านผู้มีอุปการะคุณ ที่เข้ามาเยี่ยมชม สมองสองซีก ตอนนี้ทางทีมงานได้ย้ายไป link ใหม่ตาม นี้ขอรับ http://g-sciences.blogspot.com ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สร้าง "ศิลาจารึกดิจิทัล" เก็บข้อมูลให้ได้ 1,000 ปี

ศิลาจารึก แม้เก็บข้อมูลได้ไม่มาก แต่มีความมั่นคงยาวนานกว่าอุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัล (บีบีซีนิวส)


แม้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน จะเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก แต่หากคิดถึงในระยะยาวแล้ว เราจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้นานแค่ไหน เพราะมีข้อจำกัดทั้งเรื่องเทคโนโลยีและความคงทน

เมื่อย้อนดู "ฟลอปปี้ดิสก์" อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่เราเพิ่งใช้กันมาเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนี้คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ อ่านแผ่นบันทึกข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้แล้ว หรือเรื่องความคงทนเมื่อเปรียบเทียบกับศิลาจารึก แม้จุข้อมูลได้น้อยกว่าแต่กินขาดเรื่องความคงทน คงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการเก็บข้อมูลดิจิทัลให้ยาวนานได้ถึง 1,000 ปี

สำหรับความท้าทายที่ว่านี้บีบีซีนิวส์ระบุว่า กลุ่มนักวิจัยจากญี่ปุ่น อาจเป็นผู้เข้าถึงเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลดิจิทัลได้นานนับ 1,000 ปี ด้วยวิธีปิดผนึกอุปกรณ์ข้อมูลอย่างถาวร แต่มีวิธีอ่านง่ายๆ ที่จะทำได้ทั้งในปัจจุบัน และต่อเนื่องไปอีกเป็นศตวรรษ ซึ่งทีมวิจัยที่นำโดย ศ.ทาดาชิโร คุโรดะ (Tadahiro Kuroda) จากมหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตั้งใจจะบันทึกข้อมูลดิจิทัลลงชิปที่ผลิตจาก "ซิลิกอน" ซึ่งทีมวิจัยระบุว่าเป็นวัสดุเสถียรที่สุดในโลก
ส่วนหนึ่งของแผ่นศิลาจากรึกโรเซตตาดิจิทัล ซึ่งบันทึกข้อมูลลงแผ่นซิลิกอน (บีบีซีนิวส์)

อุปกรณ์เก็บข้อมูลของทีมวิจัยญี่ปุ่น ดูคล้ายแผ่นดิสก์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 นิ้ว ซึ่ง ศ.คุโรดะอ้างว่า การ ผนึกอย่างหนาแน่น แล้วอ่านข้อมูลและให้พลังงานอุปกรณ์ความจำด้วยสัญญาณไร้สายนั้น ทำให้เก็บข้อมูลต่อไปได้อีกนับพันปี และกู้ข้อมูลกลับได้ราวเก็บข้อมูลไว้บนศิลาจารึก ซึ่งอุปกรณ์นี้มีชื่อเลียนศิลาจารึกของอียิปต์ว่า "ศิลาจารึกโรเซตตาดิจิทัล" (Digital Rosetta Stone) โดยศิลาจารึกโรเชตตาของอียิปต์นั้นมีอายุกว่า 2,200 ปี และถูกขุดพบโดยกองทัพของนโปเลียน (Napoleon)

การพัฒนาวัสดุบันทึกข้อมูลดำเนินงานภายใต้โครงการห้องสมุดดิจิทัลโลก (The World Digital Library: WDLP) ซึ่งโครงการนี้ยังมุ่งหวังที่จะให้ทุกคนจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงวัสดุที่มี ความสำคัญต่อวัฒนธรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งตามข้อมูลจาก ศ.คุโรดะ บีบีซีนิวส์ระบุว่า โครงการนี้จำเป็นต้องใช้วัสดุที่อยู่ได้นานอย่างน้อย 1,000 ปี เก็บข้อมูลได้มากกว่าระดับเทราไบต์ และเข้าถึงข้อมูลได้ตามเวลาจริง ซึ่งเขาเชื่อว่าระบบผนึกข้อมูลแบบถาวรของทีมนั้นจะตอบสนองความต้องการดัง กล่าวได้ แต่ยังอยู่ในขั้นทดลองและคาดว่าจะเริ่มใช้ได้จริงในอีก 10 ปีข้างหน้า

กระบวนการบันทึกข้อมูล ทำได้โดยสลักข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์บนแผ่นซิลิกอน ซึ่งเป็นวิธีบันทึกข้อมูลที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล และเป็นวิธีที่ ศ.คุโรดะเชื่อว่าจะทำให้การเก็บข้อมูลนานนับศตวรรษนั้นเป็นได้จริง จากนั้นแผ่นเลเซอร์จะถูกนับซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทำให้ได้แผ่นดิสก์ที่สูง 14 นิ้ว จากนั้นปิดผนึกอย่างแน่นหน้าเพื่อป้องกันออกซิเจนและความชื้น ซึ่งทั้งสองปัจจัยยังเป็นปัญหาที่จะทำให้ไม่สามารถแผ่นซีดีและดีวีดีที่เก็บ ไว้ในอีก 30-100 ปี

ตามข้อมูลของสมาคมเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลแสง (Optical Storage Technology Association: OSTA) ซึ่งใช้เวลาทดสอบแผ่นซีดีและดีวีดี พบว่าแผ่นซีดีเก็บข้อมูลได้ประมาณ 15 ปี ขณะที่แผ่นดีวีดีมีอายุสั้นกว่า คือเก็บข้อมูลได้เพียง 10 ปี ซึ่ง ศ.คุโรดะกล่าวว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก เมื่อถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเราสามารถเก็บหนังสือได้หลายร้อยปี
ต้นแบบของชิปทดสอบในศิลาจารึกโรเซตตาดิจิตอล (Nikkei Business Publications)

ส่วนอุปกรณ์ที่บันทึกข้อมูลด้วยแม่เหล็กซึ่งพบมากในเครื่อง คอมพิวเตอร์พีซีนั้น จะสูญเสียข้อมูลภายใน 4-40 ปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสนามแม่เหล็ก แต่สำหรับอุปกรณ์กึ่งตัวนำหรือเซมิคอนดัคเตอร์อย่างซิลิกอนนั้น เก็บข้อมูลได้เป็นพันปี หากรักษาความชื้นรอบๆ ชิปซิลิกอนไว้ที่ 2% หรือต่ำกว่า

ทั้งนี้ มีหลายฝ่ายที่พยายามหาวิธีเก็บข้อมูลดิจิตอลให้นานขึ้น เพื่อว่าลูกหลานในอนาคตจะไม่มองกลับมาเห็นแต่ความมืดมิดของ "ยุคดิจิทัล" โดยสมาคมเครือข่ายอุตสาหกรรมบันทึกข้อมูล (Storage Networking Industry Association: SNIA) ของสหรัฐฯ ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่พยายามสร้างอุปกรณ์บันทึกข้อมูลดิจิทัลให้อยู่ได้ นาน 100 ปี แต่ก็ยังไม่มีใครเป็นแนวหน้าของความพยายามดังกล่าว และนักเทคโนโลยีชั้นนำของสมาคมนี้ก็รู้สึกประทับใจอย่างยิ่งต่อ "ศิลาจารึกโรเซตตาดิจิตอล"
แบบ จำลองของศิลาจารึกโรเซตตาดิจิทัล ซึ่งแผ่นอ่านข้อมูลจะวางไว้ด้านบน อาศัยการเหนียวนำเพื่ออ่านข้อมูลโดยไม่ต้องสัมผัสกัน ส่วนภายในอุปกรณ์บันทึกข้อมูลเรียงเป็นชั้นๆ และถูกปิดผนึกป้องกันออกซิเจนและความชื้นด้วย ซิลิกอนไดออกไซด์และซิลิกอนไนไตรด์ (Nikkei Business Publications)


อย่างไรก็ดี เรายังอยู่บนเส้นทางที่แสนยาวไกล ในการเอาชนะอำนาจความคงทนในการบันทึกข้อมูลของแผ่นศิลา หรือแม้แต่แผ่นกระดาษ แต่การวิจัยเพื่ออายุที่ยาวนานของศิลาจารึกดิจิทัลและยังสามารถอ่านข้อมูล เหล่านั้นได้ เป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น